ลงมือวิเคราะห์ข้อมูลแบบหมออนามัยไกลปืนเที่ยง : ใช้ Microsoft Excel แทน SPSS !!!!


การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
เรื่องการทำวิจัย วิเคราะห์ข้อมูล พี่หมออนามัยแห่งคำสร้างเที่ยง ไม่มีโอกาสได้ทำวิจัยมากนัก เมื่อมีโอกสได้มาเรียนจึงได้ใช้งานโปรแกรม SPSS  แต่พี่หมอก็ยังใช้ SPSS ไม่คล่องอยู่ดี

ข้อมูลวิจัยของพี่หมอ จะมีตัวแปรอยู่ถึง 9 ตัวแปร นำมาทำนายปัจจัยเสี่ยงที่มีอิทธิพลต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกของ จ.กาฬสินธุ์  นำข้อมูลช่วง 5 ปี คือ 2544-2548 มีข้อมูลผู้ป่วยแต่ละคน ข้อมูลอายุ เพศ วันเวลาที่ป่วย ข้อมูลแหล่งน้ำนพื้นที่ ปริมาณน้ำฝน ค่า HI ความหนาแน่นประชากรในเขตนั้น และรหัสตำบล

รวมรวมจำนวนผู้ป่วยได้ถึง 4607 ราย ดังนั้นข้อมูลทุกตัวแปร ต้องจัดข้อมูลและแจกแจงในแต่ละคอลัมภ์ ให้ได้ลงไปถึง 4607 บรรทัด จัดกลุ่มแล้ววิเคราะห์สถิติ Logistic regression

ในการเตรียมข้อมูลเบื้องต้น กับข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ ที่เก็บข้อมูลในตารางที่หลากหลาย ต้องนำมาจัดกระทำข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ ข้อมูลหลายชุด มีไม่ครบ ต้องไปตามหาข้อมูลกันหลายรอบ ทั้งค่า HI ข้อมูลผู้ป่วย ประชากรในแต่ละตำบลที่ข้อมูลหลายแหล่งไม่ตรงกัน

เมื่อนำข้อมูลทุกตัวแปรมาเปิดดู เพื่อจะนำมาจัดกลุ่ม เตรียมวิเคราะห์ข้อมูล พี่หมออนามัยถึงกับหน้ามืด กับความหลากหลายของข้อมูล

ต้องทดลองจัดกลุ่มข้อมูลหลายๆรูปแบบ ต้องการข้อมูลของแต่ละตำบล ก็พยายามรวมข้อมูลผู้ป่วย ไล่เช็คจากรหัสตำบล ไล่ดูตัวแปรต่างๆ คิดดูละกัน ข้อมูลกว่า 4637 บรรทัด มี 9 คอลัมภ์ แล้วแยกออกมาวิเคราะห์ เพิ่มคอลัมภ์ใหม่เรื่อยๆ เดี๋ยวก็เปิดไฟล์ใหม่ เพื่อจัดข้อมูลให้ดูได้ง่ายขึ้น  ทำไปทำมา จาก 9 ตัวแปร 9 คอลัมภ์ 1 ไฟล์ จึงมีข้อมูลกว่า 10 ไฟล์ ต้องไล่เปิดดูเพื่อหาข้อมูลที่ต้องการอยู่หลาบรอบทีเดียว

เมื่อพี่หมอไม่เข้าใจคำสั่ง และฟังก์ชั่น SPSS  ทั้งหมด จึงแก้ปัญหาโดยใช้ Microsoft Excel นี่แหละ อย่างน้อย ใน WinXP ก็มีเมนูช่วยเหลือ มีคำอธิบายเรื่องการใช้สูตรต่างๆใน Excel อยู่แล้ว ก็เลยเรียนรู้จากตรงนั้นนั่นเอง

การวิเคราะห์ข้อมูล ไม่ว่าจะ เป็น ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาเปอร์เซ็นไทล์ หาผลรวม ก็ทำใน Excel ทั้งนั้น ช่วงแรกๆ ทำการวิเคราะห์ไปแล้วกลับมาตรวจสอบใหม่ วิเคราะห์ผิดหลายครั้งครับ เพราะจำนวนข้อมูลที่มีมากมาย และการระบุช่วงเซล์ที่ต้องการวิเคราะห์ผิดไป เพราะมีเซลล์หลายเซลล์ ขนาดนายบอนไปช่วยพี่เขาวิเคราะห์ด้วยคน ก็ยังหน้ามืดไปด้วย เพราะหลายครั้ง ลองวิเคราะห์ข้อมูลไปแล้ว ดูผลที่ออกมา มันไม่ใช่ ก็ต้องวิเคราะห์กันใหม่ หรือเจอที่ผิดพลาด ก็ต้องมานั่งดูตรวจสอบกันใหม่อีกที

ใน excel  จะมีปุ่มที่ให้เติมสี ลงไปบนเซลล์ บนแถว หรือ คอลัมภ์ได้ คราวนี้จึงเกิดการเรียนรู้ ทำการเติมสี เพื่อแยกแถว คอลัมภ์ที่สนใจ คราวนี้ ข้อมูลใน Excel ของพี่หมออนามัยจะมีสีสันหลากหลาย แหม สวยงามไม่เบา และคราวนี้สามารถแยกดูข้อมูลได้สะดวกขึ้น

ในการวิเคราะห์ข้อมูลจาก 4637 บรรทัด คราวนี้ ต้องการรวมข้อมูลให้เป็นข้อมูลของตำบล  จาก ผู้ป่วย 4637 ราย จัดทุกตัวแปร ให้อยู่ใน 135 ตำบล คราวนี้ได้ใช้ Excel เต็มที่

ทำการจัดเรียงข้อมูลจากน้อยไปมาก จากคอลัมภ์รหัสตำบล ทำการแทรกแถวระหว่างรหัสตำบล เติมสี แล้วระบุช่วงเซลล์ ทำการคำนวณหาค่าสถิติของแต่ละตัวแปร วิเคราะห์ 1 ช่องเสร็จ ก็ Copy สูตรในเซลล์นั้น แล้วลากมาวางในช่องถัดไป ได้ผลสถิติออกมาทันทีตามต้องการครบทุกช่อง

ทำเสร็จ ก็ Copy แล้ว Paste  มาวางในแผ่นงานใหม่ แล้วตัดแถวที่ไม่ต้องการออก เหลือเฉพาะแถวที่เติมสีไว้  เอ้า... ตัวเลข Error ไปหมด จึงต้อง Copy แล้ว Paste spacial (วางแบบพิเศษ เลือก วาง ค่า) แล้วมาตัดเฉพาะแถวที่ต้องการ

ลองมาเช็คข้อมูลอีกครั้ง อ้าว ไม่ครบ 135 ตำบล ต้องกลับมาตรวจสอบใหม่ ว่า แยกตำบลผิดตรงไหน ทำเอาปวดตากันทั้งนายบอนและพี่หมออนามัย

เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ยุ่งพอสมควรครับ ต้องขยับเมาส์กันหลายพันครั้ง พี่หมออนามัยนั่งหน้าจอวิเคราะห์จนลืมเวลาทานข้าวอยู่บ่อยๆ เพราะกำลังมีสมาธิในการทำงาน และเกิดการเรียนรู้จากปัญหาที่เกิดขึ้นในการใช้ Excel ไปด้วย

เมื่อลองวิเคราะห์จัดกลุ่ม ข้อมูล ซึ่งหลายอย่าง ใช้เวลาดูนานมากๆ จนนายบอนต้องไปยืมหนังสือ SPSS มาเปิดให้พี่หมอทดลองวิเคราะห์ตามขั้นตอนในหนังสือ เช่น การเปลี่ยนค่าคะแนนดิบ ให้อยู่ในช่วงที่กำหนดเป็นค่าใหม่ พี่หมอจะแยกข้อมูลแล้วทำการตีตารางแจกแจงความถี่ แล้วนั่งดูข้อมูลใน Excel แล้วดูว่า ค่าคะแนนดิบ อยู่ในช่วงไหน

ก็ต้องนั่งดูทั้ง 4637 แถว และอีก 9 คอลัมภ์ จนนายบอนเปิดเจอคำสั่ง Transform / Recode / Into Different Variable  เท่านั้นแหละ ข้อมูลที่พี่หมอต้องการก็เสร็จภายในพริบตาเดียว หรือการวิเคราะห์ เปอร์เซ็นต์ไทล์ พี่หมอจะต้อง Copy สูตรลงในเซลล์ มีบางตัวแปร วิเคราะห์ออกมาผิดเพี้ยน เมื่อตรวจสอบใน SPSS จึงได้ค่าที่ถูกต้อง

เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลวิจัย ในแบบพึ่งพาตัวเองที่หนักเอาการเหมือนกันนะครับ

คำสำคัญ (Tags): #ส.ม.1#มมส#learning
หมายเลขบันทึก: 28739เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2006 11:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  •  ขอบคุณนายบอนมากครับที่ช่วยพี่หมอ
  • ที่ผมมี version 13 ครับ
  • ขอบคุณมากที่เล่าให้ฟัง

  • Doctor




ตอนสมัยก่อนนิวก็วิเคราะห์ค่าสถิติทางวิจัยโดยใช้ Excel เหมือนกันค่ะ   สำหรับ  Excel นิวเขียนสูตรเองเลยค่ะ  สนุกมาก ๆ  แล้วที่สำคัญเราจะรู้ว่าวิธีการคำนวณตรงนี้มันคำนวณอย่างไร  แล้วก็จะทำให้เราจำได้ขึ้นใจเลยหล่ะที่นี้...อิอิ...///  อีกอย่างขอแนะนำด้วยว่า Excel ยังสามารถกำหนดตัวเลขที่เราพิมพ์เข้าไปได้ด้วย เช่น ช่วง Rating scale ของเรามีตั้งแต่ 1-5 เราจะพิมพ์ตัวเลขนอกเหนือจากนี้ไม่ได้ด้วย..Excel มันจะฟ้อง Error ทันที ค่ะ ประมาณนี้แหล่ะ !! Excel  ถ้าเข้าใจฟังก์ชั่นการทำงานจะเห็นได้ว่ามันมีประโยชน์หลายอย่างที่เราจะนำมาประยุกต์ใช้ได้ค่ะ

http://gotoknow.org/panarat

 

  • SPSS ก็ใช้ได้ดีนะค่ะ  ที่สำคัญสะดวกมากๆ ด้วย
  • หรืออาจจะเป็นเพราะว่าใช้ประจำมั้ง แต่ไม่เคยลองใช้ Excell เลย นอกเสียจากการคำนวณง่ายๆ ประเภททำบัญชีรายรับรายจ่ายส่วนตัว

การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม Spss  for  window ไม่ว่าเวอร์ชั่นไหน มีความง่ายกว่า โปรแกรมสำเร็จรูป อื่น ๆ มีความผิดพลาดน้อยกว่า ซึ่งคำสั่งการวิเคราะห์ส่วนมากแล้วจะอยู่ในเมนู Transform และ Analyze  ถ้าเราศึกษาดี ๆ จะมีความสะดวก รวดเร็ว และความถูกต้อง แม่นยำมากกว่า และขั้นตอนไม่ยุ่งยาก

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท