บทที่ 3 -- การสร้างและการพัฒนาเครือข่ายการทำงานที่ยั่งยืน (2)


2.   ตารางแสดงผลสรุปของการแลกเปลี่ยนประเด็นการทำงานเพื่อคนไร้รัฐไร้สัญชาติระหว่างเครือข่ายคนทำงานในพื้นที่อันดามัน

 

ลำดับที่

วันที่ /สถานที่

องค์กร

ประเด็นแลกเปลี่ยน

ข้อเสนอแนะ

1.

17 ม.ค. 2552

โรงแรมทินิดี ระนอง

ภาคองค์กรพัฒนาเอกชน[1]

 

1.      ด้านสาธารณสุข

-    ในจังหวัดระนองมีการทำบัตรหลักประกันสุขภาพให้กับคนต่างด้าวโดยขายให้ราคา 1,300 บาทต่อปี ซึ่งแพงเกินไปสำหรับคนไทยพลัดถิ่น

-    การประชาสัมพันธ์ในเรื่องบัตรหลักประกันสุขภาพยังไม่ทั่วถึง

2.      ด้านการศึกษา

-    ทัศนคติที่ไม่ดีของผู้บริหาร และครูที่มีต่อเด็กต่างด้าว ทำให้มีการเลือกปฏิบัติสำหรับเด็กไทย และ เด็กต่างด้าว

3.      ด้านสิทธิและสถานะบุคคล

-    ความมั่นคงทางครอบครัวในกรณีที่พี่ได้สัญชาติไทยตาม ม.23 แต่น้องได้สัญชาติไทยตาม ม.7 ทวิ

-    การเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของคนไร้รัฐไร้สัญชาติระหว่างรอการพิสูจน์สถานะ

-          การทุจริตของเจ้าหน้าที่

-    ความเป็นไปได้ของพรบ.คืนชาติ ให้กับคนไทยพลัดถิ่น

-          การแก้ไขเอกสารให้ถูกต้องไม่สามารถทำได้

-    กฎหมายและนโยบายครอบคลุมการแก้ปัญหาแต่แนวทางกฎิบัติของเจ้าหน้าที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายและนโยบาย

 

-    ควรมีกองทุนช่วยเหลือ หรือ ให้มีการผ่อนส่งกับทางโรงพยาบาล

 

 

-    ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง ตามเกาะ ต่าง ๆ

 

-    ควรมีการปรับทัศนคติของผู้บริหารหรือครูผู้สอน

 

 

-    จัดอบรมและประเมินผลเจ้าหน้าที่และมีมาตรการกำหนดบทลงโทษที่เข้มงวด

-    ควรมีการประชาสัมพันธ์ถึงความคืบหน้าต่าง ๆ ให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง

 

 

 

 

 

 

 

 

2.

18 ม.ค. 2552

ห้องอาหารถุงทอง

ภาคการเมือง พรรคประชาธิปัตย์

1.      ด้านสาธารณสุข

-    การมีโครงการหลักประกันสุขภาพให้กับต่างด้าวในโรงพยาบาลระนองเป็นเรื่องที่ดี แต่ราคาแพงเกินไปทำให้คนไทยพลัดถิ่นส่วนมากเข้าไม่ถึง

 

2.      ด้านสิทธิและสถานะบุคคล

-    คนไทยพลัดถิ่นซึ่งจริงแล้วก็เป็นคนไทยควรมีการคืนสัญชาติไทยให้กับกลุ่มดังกล่าว จึงควรที่จะมีการยกร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการคืนชาติ และเห็นด้วยกับการจัดเวทีวิชาการเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดพ.ร.บ.ดังกล่าว

 

-    ให้มีการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเป็นการออกให้ หรือ ผ่อนส่ง

-    มีการตั้งมูลนิธิที่ดูแลเรื่องหลักประกันสุขภาพโดยตรง

 

-    อาจพิจารณาให้กับคนต่างด้าวที่กำลังดำเนินการให้ตัวเองมีสัญชาติไทย โดยมีหลกฐานที่ชัดเจนก็ควรให้หลักประกันเช่นคนไทยด้วย

-    เสนอให้เชิญนักกฎหมายของรัฐบาลเข้าร่วมด้วย

3.

18 ม.ค. 2552

สำนักงานคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อผู้อพยพย้ายถิ่น

ภาคประชาชน

ด้านจดทะเบียนการเกิด

-    กรณีการออกสูติบัตรสำหรับกลุ่มเด็กที่เกิดก่อน พ.ศ.2547 ซึ่งเป็นการเกิดก่อนที่บิดา มารดาของเด็กมีชื่อในทะเบียนราษฎร (ท.ร.38/1) เมื่อเด็กแจ้งการเกิดเพื่อขอรับสูติบัตร (ท.ร.03) เจ้าหน้าที่แจ้งว่าไม่สามารถดำเนินการได้ ประเด็นการหารือมาตรา 20 ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ.2551 )มีผลบังคับใช้ย้อนหลังหรือไม่ (กรณีบุตรนางมะติฮู)

-    กรณีการออกสูติบัตรของเด็กที่เกิดหลังวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ.2551 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา) แต่เด็กเกิดก่อนวันที่ 23 สิงหาคม 2551 ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัติฯฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ ประเด็นการหารือมาตรา 20 ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ.2551 )มีผลบังคับใช้ย้อนหลังหรือไม่ (กรณีเด็กหญิงมะเดฮี)

-    กรณีสูติบัตร(ท.ร.03)ของเด็กที่ระบุชื่อมารดาตามท.ร.38/1 ซึ่งแตกต่างจากชื่อในทะเบียนราษฎรพม่า ในอนาคตอาจจะประสบปัญหาหากมารดาเด็กนำสูติบัตร(ท.ร.03)กลับไปแจ้งการเกิดเด็กให้เพิ่มชื่อในทะเบียนราษฎรพม่า ประเด็นการหารือ ความเป็นไปได้ที่จะมีการแก้ไขข้อมูลในสูติบัตร (ท.ร.03)ในส่วนชื่อมารดาให้ตรงกับข้อมูลเท็จจริงทางทะเบียนราษฎรพม่า (กรณีบุตรนางมะติฮู)

 

4.

19 ม.ค. 2552

โรงเรียนบ้านสำนัก อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง

ภาคราชการ

-    โรงเรียนบางแห่งมีการปฏิเสธรับนักเรียนต่างด้าวเข้าศึกษา

-    โรงเรียนบางแห่งมีการเลือกปฏิบัติระหว่างนักเรียนสัญชาติไทยและนักเรียนต่างด้าว

-    การสำรวจการจัดทำทะเบียนประวัติผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนเด็กนักเรียนไม่มีประสิทธิภาพ ครูผู้สำรวจไม่มีความรู้

-    นักเรียนที่ไม่มีสัญชาติไทยไม่สามารถขอทุนการศึกษาได้ นอกจากจะได้รับทุนจากบุคคล

-    ผู้อำนวยการ ครูในโรงเรียนควรมีการประชุมปรับทัศนคติระหว่างกันด้วย

 

 

-    ครูที่มีหน้าที่สำรวจเด็กนักเรียนควรจะเข้ารับการอบรมด้วยตัวเอง

 

-    กระทรวงศึกษาธิการควรมีระเบียบในการให้ทุนไม่จำเป็นต้องให้แต่นักเรียนสัญชาติไทยเท่านั้น

5.

19 ม.ค. 2552

เกาะคนที อำเภอเมือง จังหวัดระนอง

ภาคประชาชน

1.      ด้านสาธารณสุข

-    การจัดการขยะมูลฝอยไม่เป็นระเบียบ และด้านสาธารณูปโภคยังไม่ถูกสุขลัษณะ

2.      ด้านการศึกษา

-    โรงเรียนมีการปฏิเสธรับนักเรียนพม่าเข้าศึกษาเพราะไม่มีหลักฐานทางทะเบียน

3.      ด้านสิทธิและสถานะบุคคล

-    การจัดทำหลักฐานทางทะเบียนยังไม่ถูกต้อง (สำรวจไม่ถูกกลุ่ม)

-    การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านในฐานะผู้รับแจ้งการเกิดยังไม่เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบ (ไม่มีการออกท.ร.1ตอนหน้า)

 

-    ให้องค์กรพัฒนาเอกชน หรือรัฐจัดอบรมให้กับชาวบ้าน และเข้ามาดำเนินการจัดการให้ในช่วงแรก

-    เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องให้ความรู้กับผู้อำนวยการหรือครูผู้รับผิดชอบ

 

คำสำคัญ (Tags): #อันดามัน#แม่อาย
หมายเลขบันทึก: 287015เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2009 00:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท