บทที่ 2 -- การถ่ายทอดองค์ความรู้จากแม่อายสู่อันดามัน (3)


3.   การอบรมเชิงปฏิบัติการ: การจำแนกบุคคลที่มีปัญหาสิทธิในสถานะบุคคล และ การได้สัญชาติไทยตามมาตรา 23 พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551

 

3.1  บทสรุปของการดำเนินกิจกรรม

 

กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมแรกที่ทางโครงการฯ ได้ดำเนินการ เพื่อทดลองขยายและปรับใช้องค์ความรู้ในการจัดการปัญหาสิทธิในสถานะบุคคลของคนไร้รัฐไร้สัญชาติ ซึ่งมีการสร้างองค์ความรู้ (หลักสูตร) ที่เป็นต้นแบบซึ่งใช้ในพื้นที่ภาคเหนือมาปรับใช้ในพื้นที่ภาคใต้ (อันดามัน) เพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านองค์ความรู้และการขยายเครือข่ายการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคล โดยเฉพาะในประเด็นการให้ความช่วยเหลือบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2515 กล่าวคือ บุคคลที่ถูกถอนสัญชาติและไม่ได้รับสัญชาติไทย รวมถึงบุตรของบุคคลทั้งสองกลุ่ม ตามมาตรา 23 ของ พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 4 พ.ศ.2551 ซึ่งทางเครือข่ายเห็นว่าน่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีอยู่ในพื้นที่อันดามันและสามารถให้ความช่วยเหลือได้โดยทันที

โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจำแนกบุคคลที่มีปัญหาสถานะบุคคล ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกที่จะทำให้การให้ความช่วยเหลือทางด้สนกฎหมายแก่บุคคลที่มีปัญหาสถานะบุคคลเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ 2) เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ในการจำแนกบุคคลที่มีปัญหาสถานะบุคคลที่ได้จากการอบรมไปใช้ได้จริง

ผลที่ได้รับ พบว่า 1) ในระหว่างการอบรมผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการจำแนกบุคคลที่มีปัญหาสถานะบุคคลได้เป็นอย่างดี ซึ่งมีการทดสอบ โดย การให้ผู้เข้าร่วมทำแบบฝึกหัดในการจำแนกประเภทบุคคลที่มีปัญหาสถานะบุคคล และ 2) ภายหลังจากการอบรมระยะหนึ่ง ซึ่งเป็นช่วงที่คณะทำงานลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าของกรณีศึกษาตัวอย่าง คณะทำงานได้มีโอกาสประเมินผู้เข้ารับการอบรมกลุ่มหนึ่งว่าสามารถนำความรู้ในการจำแนกบุคคลที่มีปัญหาสถานะบุคคลที่ได้จากการอบรมไปใช้ได้จริงหรือไม่ พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมได้นำความรู้ที่ได้รับไปให้ความช่วยเหลือนักเรียนที่ประสบปัญหาบางส่วนที่อยู่ในความดูแลของตน

อย่างไรก็ตาม ยังพบข้อจำกัดในการดำเนินกิจกรรม กล่าวคือ การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมมิได้ถูกกำหนดขึ้นจากคณะทำงานฯ เอง ทำให้คณะทำงานฯ ไม่อาจทราบได้ว่า กลุ่มเป้าหมายที่เข้าการอบรมในครั้งนี้ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่เป็นผู้ใกล้ชิดกับเจ้าของปัญหาคนไร้รัฐไร้สัญชาติ ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้การนำองค์ความรู้จากการอบรมไปใช้ได้จริงในพื้นที่นั้นไม่เกิดประสิทธิภาพเท่าที่ควร

 

 

3.2  กำหนดการในการดำเนินกิจกรรม

 

วันจันทร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2551

เวลา

รายละเอียด

9.00 9.30

·       ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมการอบรม

9.30 9.45

·       กล่าวเปิดงาน และ วัตถุประสงค์ของการอบรม

    โดย คุณอัมพิกา สายใยบัว

9.45 10.10

(25 นาที)

·       ความเป็นมาของหลักสูตรการจัดการปัญหาสิทธิในสถานะบุคคลของคนไร้รัฐไร้สัญชาติ

    โดย คุณบงกช นภาอัมพร

10.10 10.30

(20 นาที)

·       ความสำคัญของการจำแนกบุคคลที่มีปัญหาสิทธิในสถานะบุคคล

โดย คุณอัจฉรา สุทธิสุนทรินทร์

10.30 10.45

พักรับประทานอาหารว่าง

10.45 12.00

(1 ชั่วโมง 15 นาที)

·       การจำแนกบุคคลที่มีปัญหาสิทธิในสถานะบุคคล 5 กลุ่ม

-          ความเป็นมาของการจำแนกบุคคลที่มีปัญหาสิทธิในสถานะบุคคลออกเป็น 5 กลุ่ม

-          คุณสมบัติของบุคคลที่มีปัญหาสิทธิในสถานะบุคคลแต่ละกลุ่ม

-          เอกสารประจำตัวบุคคลที่สามารถพบได้ในบุคคลแต่ละกลุ่ม

โดย คุณบงกช นภาอัมพร, คุณอัจฉรา สุทธิสุนทรินทร์ และ คุณกิติวรญา รัตนมณี

12.00 13.00

พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.0013.15

(15 นาที)

·       เปิดเวทีให้ผู้เข้าอบรมซักถามเรื่องการจำแนกบุคคลที่มีปัญหาสิทธิในสถานะบุคคล

13.1514.15

(60 นาที)

·       การแบ่งกลุ่มเพื่อทำแบบฝึกหัดการจำแนกบุคคลที่มีปัญหาสิทธิในสถานะบุคคล (แบ่ง 5 กลุ่ม)

14.15 15.30

พักรับประทานอาหารว่าง

15.30 16.20

(50 นาที)

·       นำเสนอผลของการจำแนกบุคคลที่มีปัญหาสิทธิในสถานะบุคคล

โดย ตัวแทนของแต่ละกลุ่ม

16.2016.30

·       กล่าวสรุปการอบรม

โดย คุณบงกช นภาอัมพร

วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2551

เวลา

รายละเอียด

9.00 9.30

·       ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมการอบรม

9.30 9.40

·       กล่าวถึงขั้นตอนของการอบรม

    โดย คุณบงกช นภาอัมพร

9.40 10.25

(45 นาที)

·       การอบรมในลักษณะ talk show ถึงขั้นตอนกระบวนการในการได้สัญชาติไทยตาม มาตรา 23

o      กฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตาม ม.23

o      ใคร คือ กลุ่มเป้าหมายของ ม.23 พ.ร.บ.สัญชาติ ฉ.4 พ.ศ.2551

o      การยื่นและการรับคำร้อง : ข้อพึงต้องปฏิบัติของผู้ยื่นและผู้รับคำร้อง

o      พยานหลักฐาน: หลักฐานการเกิดที่สามารถยืนยันว่าเกิดในประเทศไทย หากไม่มี ต้องทำอย่างไร

o      พยานบุคคล: ใครบ้างที่สามารถเป็นพยานบุคคลได้

o      การอนุมัติและระยะเวลาในการออกคำสั่งทางปกครอง

o      ความหมายและการได้มาซึ่งเลข 13 หลัก

o      สถานะบุคคลของกลุ่มเป้าหมายของ ม.23

เสนอประสบการณ์ในการดำเนินงาน โดย คุณกิติวรญา รัตนมณี และคุณอัจฉรา สุทธิสุนทรินทร์

ดำเนินรายการ โดย คุณบงกช นภาอัมพร

10.25 10.40

พักรับประทานอาหารว่าง

10.40 11.25

(45 นาที)

·       การอบรมในลักษณะ talk show ถึงขั้นตอนกระบวนการในการได้สัญชาติไทยตาม มาตรา 23 (ต่อ)

เสนอประสบการณ์ในการดำเนินงาน โดย คุณกิติวรญา รัตนมณี และคุณอัจฉรา สุทธิสุนทรินทร์

ดำเนินรายการ โดย คุณบงกช นภาอัมพร

11.25 12.00

(35 นาที)

·       คนที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ ม.23 ต้องไปใช้ช่องทางไหน

โดย คุณอัจฉรา สุทธิสุนทรินทร์

12.00 13.00

พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.0013.30

(30 นาที)

·       เปิดเวทีให้ผู้เข้าอบรมซักถามเรื่องการได้สัญชาติไทยตาม มาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551

คำสำคัญ (Tags): #อันดามัน#แม่อาย
หมายเลขบันทึก: 287013เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2009 00:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท