บทที่ 2 -- การถ่ายทอดองค์ความรู้จากแม่อายสู่อันดามัน (1)


1.      ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของกิจกรรม

 

จากความพยายามในการแก้ไขปัญหาคนไร้รัฐไร้สัญชาติ ซึ่งเกิดขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือ ที่อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้ กิจกรรมห้องเรียนในการจัดการปัญหาสิทธิในสถานะบุคคลของคนไร้รัฐไร้สัญชาติ ซึ่งเป็นการสร้างห้องเรียนสำหรับเจ้าของปัญหา โดยใช้ หลักสูตรในการจัดการปัญหาสิทธิในสถานะบุคคลของคนไร้รัฐไร้สัญชาติ ที่มีนำการจัดการปัญหาตามกฎหมายนโยบายที่เกี่ยวข้องในปัจจุบัน เพื่อกำหนดวิธีการแก้ไขปัญหาของนักเรียนแต่ละกลุ่ม มาเป็นเครื่องมือในการอบรมเจ้าของปัญหาดังกล่าว คณะทำงานฯ ได้เห็นว่าเป็นความพยายามที่มีประสิทธิภาพและน่าจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในพื้นที่อันดามัน

ดังนั้น คณะทำงานซึ่งเป็นหนึ่งในทีมงานในการจัดห้องเรียนแม่อายฯ นั้น จึงเสนอให้มีการทดลองนำวิธีการในการจัดการปัญหาดังกล่าวมาใช้ในพื้นที่อันดามัน เพื่อเป็นการถ่ายทอดและปรับใช้องค์ความรู้ในการจัดการปัญหาสิทธิในสถานะบุคคลของคนไร้รัฐไร้สัญชาติ ซึ่งมีการสร้างองค์ความรู้ (หลักสูตร) ที่เป็นต้นแบบซึ่งใช้ในพื้นที่ภาคเหนือ (แม่อาย) มาปรับใช้ในพื้นที่ภาคใต้ (อันดามัน) คณะทำงานจึงได้ดำเนินกิจกรรม 2 ประการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว คือ

1)     การอบรมเชิงปฏิบัติการ: การจำแนกบุคคลที่มีปัญหาสิทธิในสถานะบุคคล[1] ให้แก่คนทำงานในพื้นที่ปัญหา เพื่อให้เป็นความรู้เบื้องต้นในการจัดประเภทบุคคลที่มีปัญหาเหล่านี้ได้ ก่อนนำไปสู่การแก้ไขปัญหาตามหลักสูตรฯ ต่อไป และ

2)      การติดตามความคืบหน้ากรณีศึกษาตัวอย่างจากโครงการวิจัยเพื่อสำรวจสถานการณ์และศึกษาความเป็นไปได้ในการขจัดปัญหาการจดทะเบียนการเกิดและปัญหาสถานะบุคคลตามกฎหมายของประชาชนในพื้นที่ประสบภัยสึนามิ[2] เพื่อเป็นการนำองค์ความรู้ในการจัดการปัญหาสิทธิในสถานะบุคคลของคนไร้รัฐไร้สัญชาติ ซึ่งใช้ในพื้นที่ภาคเหนือ (แม่อาย) มาปรับใช้กับกรณีศึกษาตัวอย่างดังกล่าวต่อไป



[1] การอบรมเชิงปฏิบัติการ: การจำแนกบุคคลที่มีปัญหาสิทธิในสถานะบุคคล เป็นกิจกรรมหนึ่งในวัตถุประสงค์ของโครงการใหญ่ แต่จะถูกจัดขึ้นก่อนในวันที่ 13 14 ตุลาคม พ.ศ.2551 โดยมีงบประมาณในการดำเนินงานแยกต่างหากจากโครงการใหญ่

[2] โดยการดำเนินงานของนักวิจัย 2 ท่าน คือ 1) นางสาวสรินยา กิจประยูร 2) นายชุติ งามอุรุเลิศ และ ผู้ช่วยนักวิจัย 2 ท่าน คือ 1) นางสาวรุจิราพร โชคพิพัฒน์พร และ 2) นางสาวบงกช นภาอัมพร ภายใต้การกำกับดูแลโดย มูลนิธิพัฒนาการคุ้มครองเด็ก (FACE) และสนับสนุนการวิจัยโดย องค์การแพลน ประเทศไทย (PLAN)

คำสำคัญ (Tags): #อันดามัน#แม่อาย
หมายเลขบันทึก: 287007เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2009 00:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท