วิจารณ์วิทยานิพนธ์


เรียนรุ้ด้วยกัน

งานวิจัยเรื่องที่  1 

ส่วนที่  1  สรุปงานวิจัย

1.  ชื่อเรื่อง            ผลการเรียนรู้ด้วยบทเรียนมัลติมิเดียปฏิสัมพันธ์  ตามกระบวนการซิปปา

                                กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  เรื่อง  เทคโนโลยีสารสนเทศ

                                ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้วิจัย                      นายธีระพร    ภาคมฤกษ์

มหาวิทยาลัย         มหาวิทยาลัยมหาสารคาม          

ปีที่พิมพ์                2548

 

2.  ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

                   1. ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  ประกอบกับศักยภาพของระบบข้อมูล  จนเป็นเหตุให้แนวทางการพัฒนาด้านการศึกษาก้าวตามไปเป็นลำดับ  ด้วยการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ให้สามารถนำเสนอข้อมูลที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ได้ทุกรูปแบบ  ทุกระดับ  ในลักษณะของตัวอักษร  ภาพนิ่ง  ภาพเคลื่อนไหว  เสียง  ภาพจำลอง  รวมถึงวีดิทัศน์  เพื่อช่วยให้กระบวนการเรียนรู้มีชีวิตชีวาน่าสนใจ  ชวนให้ติดตามหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า  มัลติมีเดีย  (Multimedia)  (กิดานันท์  มลิทอง.    2539  :  255) 

                   2. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้นักเรียนศึกษาค้นคว้า  รวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง  การมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้  การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและการแลกเปลี่ยนความรู้  การได้เคลื่อนไหวร่างกาย  การเรียนรู้กระบวนการต่าง ๆ และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้  กิจกรรมการเรียนรู้ที่แปลกใหม่จะทำให้บรรยากาศในการเรียนรู้เต็มไปด้วยความรู้สึกกระตือรือร้น  ตื่นเต้น  ไม่เบื่อหน่าย  มีโอกาสแสดงความคิดเห็น  และการสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง  (ปราณี  กรุณวงษ์.    2546  :  37  ;  อ้างอิงมาจาก  ทิศนา  แขมณี.    2542    :  10) 

              3.  จากปัญหาที่พบในการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ  นักเรียนที่เรียนช้าไม่สามารถเรียนรู้ได้ทันเพื่อนมีเวลาเรียนจำกัด  ขาดแคลนสื่อที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ  นักเรียนไม่ได้ลงมือปฏิบัติจริงในทุกขั้นตอนนั้น  มีงานวิจัยที่สามารถยืนยันได้ว่าการเรียนด้วย  บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย  ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น  เสรี  สามาอาพัฒน์  (2545  :  77)ได้ทำการวิจัยการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย  เรื่องการคำนวณงานไฟฟ้าในบ้าน  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นวิจัยกับนักเรียน  30  คน  ผลการวิจัยปรากฏว่า  นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย  ที่พัฒนาขึ้นมีความรู้เพิ่มขึ้นกว่าเดิม  ร้อยละ  70  และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนรู้เพิ่มขึ้น

                   4.จากทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้และบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย  ซึ่งเป็นสื่อการเรียนการสอนที่ครอบคลุมเนื้อหาและกิจกรรม  หรือวิธีการเรียนที่จัดเตรียมไว้ล่วงหน้า  มีทั้งภาพ  เสียง  ตัวอักษร  สามารถมีปฏิสัมพันธ์  หรือโต้ตอบกับผู้เรียนได้ทันที  สะดวกในการแก้ไขข้อผิดพลาดของการเรียนแต่ละครั้งแต่ละปัญหา  มารวมกันเพื่อแก้ปัญหา

                   ผู้วิจัยมีแนวคิดและสนใจที่จะศึกษาค้นคว้า  และพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  เรื่อง  เทคโนโลยีสารสนเทศ  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  ด้วยกระบวนการเรียนแบบซิปปา  เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนและแก้ปัญหานักเรียนที่เรียนช้าไม่สามารถเรียนรู้ได้ทันเพื่อน  และมีเวลาเรียนจำกัดให้นักเรียนสามารถได้เรียนรู้ด้วยตนเองและเป็นการค้นหาวิธีการที่เหมาะสมในการจัดการเรียนการสอน  ทั้งยังเป็นแนวทางในการพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ในรายวิชาอื่น ๆ ให้มีประสิทธิภาพในวงการศึกษาต่อไป

 

3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย

                         การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัย  ดังต่อไปนี้

1.               เพื่อพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและ

เทคโนโลยี  เรื่อง  เทคโนโลยีสารสนเทศ  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 

2.       เพื่อศึกษาประสิทธิภาพบทเรียนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงาน

อาชีพและเทคโนโลยี  เรื่อง  เทคโนโลยีสารสนเทศ  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  ที่พัฒนาขึ้น

3.       เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ที่พัฒนาขึ้น

4.       เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน  ก่อนการเรียน  และหลังการเรียน

ด้วยบทเรียนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  เรื่อง  เทคโนโลยีสารสนเทศ  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1

            5. เพื่อศึกษาความคงทนในการเรียนของนักเรียน  ที่เรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานาอาชีพและเทคโนโลยี  เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1

                    6.เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  เรื่อง  เทคโนโลยีสารสนเทศ  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1

 

4.  สมมติฐานการวิจัย

                         การวิจัยครั้งนี้มีสมมติฐานในการวิจัย  ดังนี้ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์  ตามกระบวนการซิปปา  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  หลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียน

 

5.  ขอบเขตของการวิจัย

                         ผู้วิจัยได้กำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง  สำหรับการทดลอง  ตลอดจนวิธีการในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง  ดังนี้

1.     ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

            ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ได้แก่  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  โรงเรียน

ชุมชนยอดแก่งสงเคราะห์  อำเภอนามน  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์  เขต  3  ภาคเรียนที่  1  จำนวน  2  ห้องเรียน  67  คน

            กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ได้แก่  นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่  1/1  จำนวน 

32  คน  โรงเรียนชุมชนยอดแก่งสงเคราะห์  อำเภอนามน  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์  เขต  3  ได้มาด้วยการใช้วิธีการแบบสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีการจับฉลากมา  1  ห้อง

                         2.  ตัวแปรที่ศึกษา

                                2.1  ตัวแปรอิสระ  ได้แก่  บทเรียนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์  เรื่อง  เทคโนโลยีสารสนเทศ  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1

                                2.2  ตัวแปรตาม  ได้แก่  ผลการเรียนรู้  แยกเป็น

                                      2.2.1  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์  เรื่อง  เทคโนโลยีสารสนเทศ  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1

                                      2.2.2  ความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์  เรื่อง  เทคโนโลยีสารสนเทศ  ชั้นประถมศึกษาปีที่  1

                                      2.2.3  ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์  เรื่อง  เทคโนโลยีสารสนเทศ  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1

                         3.  ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง  คือ  ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2548  จำนวน  16  ชั่วโมง

                         4.  เนื้อหาบทเรียนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์  เรื่อง  เทคโนโลยีสารสนเทศ  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  สาระที่  4  เทคโนโลยีสารสนเทศ  จำนวน  4  หน่วยการเรียน  ประกอบด้วย

                                4.1  หน่วยการเรียนรู้ที่  1  มารู้จัก  IT  กันเถอะ                                     จำนวน  4  ชั่วโมง

                               4.2  หน่วยการเรียนรู้ที่  2  มีอะไรเอ่ย.......อยู่ในคอมพิวเตอร์       จำนวน  4  ชั่วโมง                               4.3  หน่วยการเรียนรู้ที่  3  เครือข่ายใยแมงมุม                                      จำนวน  4  ชั่วโมง

                               4.4  หน่วยการเรียนรู้ที่  4  ท่องโลกอินเทอร์เน็ต                            จำนวน  4  ชั่วโมง

 

 

6.  วิธีดำเนินการวิจัย

                   ในการดำเนินการวิจัยครั้งนี้  เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง  (Quasi – experimental  Research) การพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี  เรื่อง  เทคโนโลยีสารสนเทศ  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอน  ดังนี้

                         1.  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

                         2.  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

                         3.  วิธีดำเนินการสร้างเครื่องมือในการวิจัย

                         4.  วิธีการหาประสิทธิภาพเครื่องมือในการวิจัย

                         5.  วิธีการดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล

                         6.  การจัดกระทำข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล

                         7.  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

คำสำคัญ (Tags): #วิทยานิพนธ์
หมายเลขบันทึก: 286944เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2009 21:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
นุรักษ์ สิงห์ศิลป์

เรียน อาจารย์ sayamon

ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจงานวิจัย อยากแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขอความอนุเคราะห์อาจารย์ช่วยลง "การวิจารณ์วิทยานิพนธ์หรืองานวิจัย" ให้มีตัวอย่างงานวิจัยที่ หลากหลายนะครับ เพราะผมคิดว่า คนในแวดวงวิชาการอีกหลายคนยังไม่รู้ บางคนรู้แบบงูๆปลาๆ อายไม่กล้าถามกลัวหน้าแตก ทั้งที่อยากรู้ และอีกหลายๆ คน อาจมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา ทรัพย์สินเงินทอง ฯลฯ

หวังว่า คงได้เห็นผลงานของอาจารย์ตลอดไปนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท