นักส่งเสริมการเกษตรติดดิน( 5 ):ผลงานศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง


ผลการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียงที่ชุมชนคุยป่ารัง

นักส่งเสริมการเกษตรติดดิน  ในตอนที่ 5นี้จะขอกล่าวถึงผลการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียงที่ชุมชนคุยป่ารัง ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 บ้านคุยป่ารัง  ตำบลวังควง อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร คุณรัตติยา ขวัญคำ (นวส.ชำนาญการ) ซึ่งรับผิดชอบงานส่งเสริมการเกษตรตำบลวังควง  ได้เล่าให้ฟังว่า ความจริงแล้วศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง ได้เริ่มเปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นการดำเนินงานระหว่างภาครัฐ  อปท.และชุมชน ทั้งนี้ทางเลขาศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล(ศบกต. ) ได้เป็นผู้ประสานงานเพื่อกระตุ้นให้เกิดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เป้าหมายสำคัญก็คือเปิดโอกาสให้คนในชุมชน ได้มีโอกาสปรึกษาหารือกันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อพัฒนาอาชีพของคนในชุมชน ในขณะเดียวกันก็ค้นหาปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้อาวุโสในชุมชน ที่มีองค์ความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้มาถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่สมาชิกของศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียงชุมชนคุยป่ารัง ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกที่เข้าร่วมด้วยความสมัครใจถึง 60 คน ในขณะเดียวกันหน่วยงานทั้งภาครัฐและอปท.ต่างก็ให้การสนับสนุนแผนการผลิตของสมาชิกศูนย์เรียนรู้แห่งนี้เพื่อดำเนินงานตามกิจกรรมที่เป็นแปลงรวมและรายบุคคล

 

              คุณรัตติยา ขวัญคำ ยังได้เล่าให้ฟังต่อไปว่า สำหรับกิจกรรมในแปลงรวมที่จัดทำในบริเวณที่ดินของศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง ซึ่งเป็นที่สาธารณะของหมู่บ้านคุยป่ารัง มีเนื้อที่ทำกิจกรรมไม่น้อยว่า 10 ไร่กิจกรรมหลัก จะเป็นแปลงปลูกพืชไร่(ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์) แปลงปลูกผักสวนครัว ได้แก่ บวบ ชะอม  พริก ข่า ตะไคร้ และฟักทอง เป็นต้น สำหรับการดูแลกิจกรรมของกลุ่มทางชุมชนจะหมุนเวียนเปลี่ยนกันมาดูแลรักษาโดยสมาชิกของศูนย์เรียนรู้ฯเอง

 

 

 

 

           ต้องยอมรับว่าชุมชนคุยป่ารังจะมีครัวเรือนทั้งหมดไม่น้อยกว่า 145 ครัวเรือนส่วนใหญ่เป็นครัวเรือนเกษตรทั้งหมด ประกอบอาชีพทางการเกษตรมีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติหรือที่เรียกว่าทุนทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนยังมีอยู่ค่อนข้างสมบูรณ์ (สภาพป่ายังสมบูรณ์ ) แหล่งอาหารประจำชุมชน เช่นเห็ดโคน  อึ่งอ่าง ผักพื้นบ้าน  หน่อไม้ ฯลฯ  สำหรับอาชีพหลักของคนที่อยู่ในชุมชน ก็ทำนา และพืชไร่ ส่วนอาชีพรองก็จะเป็นการเลี้ยงโ ไก่พื้นบ้าน การจักตอกจากไม้ไผ่ เพื่อขายเป็นรายได้เสริม  เป็นต้น  เท่าที่ได้สัมผัสชุมชนคุยป่ารังในครั้งนี้ทำให้รู้ว่าวิถีชีวิตของคุณในชุมชนคุยป่ารังยึดหลักตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ท่านมานานแล้วครับ

 

 

           จากการที่ทางทีมงานของเราได้เข้าไปสำรวจเก็บข้อมูล โดยวิธีการสังเกตและ สัมภาษณ์แกนนำชุมชน ซึ่งใช้ในระยะเวลาสั้น ก็ทำให้ทีมงานกลับมาเพื่อออกแบบเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ในเวทีสนทนากลุ่มในครั้งต่อไป พร้อมได้นัดหมาย พบกันในวันที่ 17 สิงหาคม 2552 ณ.อาคารศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียงชุมชนคุยป่ารัง ต่อไปครับ..

 

 

แหล่งข้อมูล:คุณรัตติยา ขวัญคำ

                     ศบกต.วังควง

ผู้บันทึก : เขียวมรกต

                 13 สค.52

หมายเลขบันทึก: 286909เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2009 19:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ขอบคุณท่านเกษตรอยู่จังหวัด
  • ที่ได้มาแวะทักทายกัน

ตามพี่ชายคนโตมาค่ะคุณพี่เขียวฯ สบายดีนะคะ

ห่างหายไปนานเลย ... 

ชื่นชมศูนย์ฯ หอมกลิ่นตะไคร้ มาไกลๆ ได้บรรยากาศ ...

เป็นกำลังใจในการงานเพื่อชุมชนค่ะ มีความสุขนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท