๓.การประเมินเสริมพลัง : ทางเลือกหนึ่งของการประเมินเพื่อพัฒนา


การประเมินเสริมพลัง แนวคิดการประเมินที่มากกว่าการตัดสินคุณค่า

ศาสตร์การประเมินได้รับการพัฒนาอย่างกว้างขวาง แต่ในทางปฏิบัติดูเหมือนว่า CIPP Model ของ Stufflebeam และคณะ มักจะเป็นคำตอบสุดท้ายของในการเลือกใช้รูปแบบการประเมินของนักประเมิน โดยเฉพาะวงการศึกษา ดิฉันไม่ปฏิเสธคุณค่าของรูปแบบประเมินดังกล่าว หากแต่อยากเสนอแนวคิดการประเมินที่เอื้อต่อการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งที่รู้จักกันดีในหมู่นักวิชาการ "การประเมินเสริมพลัง" Empowerment Evaluation ซึ่งเป็นแนวคิดการประเมินที่อิงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แนวคิดการประเมินที่ให้ผลผลิตการประเมินมากกว่าการรายงานคุณค่า

ดิฉันอยากเห็นศาสตร์การประเมินโลดแล่นอยู่ในสังคมแห่งการเรียนรู้ เพราะหากมนุษย์รู้จักคุณค่าของการประเมิน โดยเฉพาะการประเมินที่ใกล้ตัวที่สุดหากแต่ก็ยากที่สุด คือ การประเมินตนเอง โศกนาฏกรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นยามเมื่อหนุ่มสาวพลาดหวังจากการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ผิดหวังจากความรัก ความหวัง คงไม่ถูกผลิตซ้ำแล้วซ้ำเล่าในสังคมไทย...

การประเมินเพื่อพัฒนา ทางเลือกใหม่สำหรับนักวิจัยและพัฒนา....

หมายเลขบันทึก: 286574เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2009 20:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 เมษายน 2012 13:20 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผมผ่านการประเมินเสริมพลังมา ด้วยการให้คะแนนแบบไม่เข้าข้างตัวเองคือให้ตามความเป็นจริงตามความรู้สึกในสิ่งที่เห็น ตอนหลังมารู้ว่านั่นเป็นกลยุทธที่องค์กรประเมินตัวเรา ไม่สบายใจอยู่หลายวันว่านี่เราสัตย์ซื่อ หรือว่าไม่ฉลาดกันแน่เพราะเห็นเพื่อนคนอื่นเทคะแนนให้ตัวเองเกินครึ่งและเกือบเต็มเกือบทุกประเด็น สุดท้ายมานั่งนึกไปนึกมา อะไรจะเกิดก็ให้มันเกิดเพราะนั่นคือความจริงที่เราประเมินด้วยความสัตย์จริง

ดิฉันคิดว่า องค์กรคงตัดสินผลงานด้วยการประเมินจากหลากหลายแหล่งค่ะ

โดยเฉพาะ ผลงานเชิงประจักษ์..สบายใจเถิดนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท