๑.จุดกำเนิดแนวคิดการประเมินเสริมพลัง


Empowerment Evaluation แนวคิดการประเมินเสริมพลังที่เป็นมากกว่ารูปแบบการประเมิน

         ศาสตร์ของการประเมินได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  แนวคิดการประเมินที่เน้นให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินเป็นแนวคิดการประเมินที่แพร่หลายในปัจจุบัน  การประเมินแบบเสริม (empowerment evaluation) เป็นแนวคิดหนึ่งที่ได้รับการพัฒนาและกำลังได้รับความสนใจจากวงการประเมินในปัจจุบัน  มีลักษณะที่เอื้อต่อการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เน้นให้ผู้เกี่ยวข้องในองค์กรเข้ามามีส่วนร่วมเรียนรู้การประเมิน ประเมินตนเอง  สะท้อนผลแก่ตนเอง  จนในที่สุดสามารถตัดสินใจหรือกำหนดตนเองได้  

         การประเมินแบบเสริมพลัง มีจุดกำเนิดจากการที่  David  Fetterman  (1993)  ได้เขียนหนังสือชื่อ  Speaking  the Language of Power: Communication,  Collaboration,  and  Advocacy   แล้วนำเสนอแนวคิดนี้ในที่ประชุม  American  Evaluation  Association  (AEA)  ในปี  1993  ซึ่งก่อให้เกิดความสนใจในกลุ่มผู้เข้าร่วมประชุมอย่างมาก  การประเมินตามแนวคิดนี้มีรากฐานของแนวคิดมาจากการวิจัยปฏิบัติการ  (action  research)  ซึ่งเป็นกระบวนการที่ให้บุคคลต่าง   ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาเข้ามามีส่วนร่วมในการหาแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยใช้กระบวนการวิจัย  แล้วสะท้อนผลการแก้ปัญหาให้ทราบทั่วกัน  เพื่อปรับปรุงแนวทางการแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป  (Fetterman, 1996)

         นวคิดของการประเมินแบบเสริมพลังนั้น  ได้มีการประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางทั้งสถาบันอุดมศึกษา องค์กรภาครัฐ องค์อิสระ ทั้งด้านอาชญากรรม การแพทย์ การสาธารณสุข คุณภาพชีวิต เกษตรกรรม การศึกษา ชาติพันธ์วรรณา เป็นต้น  ถึงแม้ว่าจะมีการประยุกต์ใช้อย่างหลากหลายทั้งองค์กรที่ต่างกันทั้งระดับขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ชุมชนที่ต่างกันด้านวัฒนธรรม แต่โครงการที่ประยุกต์ใช้ก็มีจุดเน้นที่สำคัญ  คือ การมุ่งมั่นการเสริมพลัง Zimmerman (1990   อ้างถึงใน  Fetterman, 1996)  เกี่ยวกับทฤษฎีการเสริมพลัง (empoerment theory) ได้ช่วยให้เกิดกรอบความคิดในการประเมินแบบเสริมพลังได้เช่นกัน  โดยทฤษฎีดังกล่าวได้กล่าวถึงกระบวนการและผลผลิตการเสริมพลัง ไว้ดังนี้

         กระบวนการเสริมพลัง เป็นกระบวนการที่ช่วยให้บุคคลเกิดความเข้าใจสังคมและสภาพแวดล้อม สามารถแก้ปัญหาและตัดสินใจด้วยตนเอง กระบวนการเสริมพลังอำนาจจะแตกต่างกันตามหน่วยการวิเคราะห์ เช่น  การเสริมพลังอำนาจระหว่างบุคคลอาจรวมถึงการมีส่วนร่วมในองค์กรชุมชน  การเสริมพลังอำนาจระดับองค์กร  อาจรวมถึงการร่วมในการตัดสินใจ การเสริมพลังอำนาจในระดับชุมชน อาจรวมถึงการเข้าถึงรัฐ สื่อ และแหล่งทรัพยากรชุมชนอื่นๆ

          ผลผลิตของารเสริมพลังอำนาจในระดับบุคคลนั้น หมายรวมถึง ความสามารถในการควบคุมสถานการณ์ ความรู้สึกมั่นคง มั่นใจ เป็นตัวของตัวเอง  มีความเป็นอิสระรู้คุณค่าชีวิต  เกิดทักษะ พฤติกรรมกระตือรือร้น ความสามารถในการตัดสินใจ จัดการกับงานของตนเองจนประสบผลสำเร็จดังที่ตั้งใจไว้  ผลผลิตระดับองค์กร หมายถึง การได้มาซึ่งทรัพยากรที่มีคุณภาพ อำนาจการจัดการโครงการ  ผลผลิตระดับชุมชน อาจรวมถึง ความร่วมมือในองค์กร และการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรชุมชน

อ้างอิง

Fetterman, D. M. (1998). Empowerment  evaluation: Collaboration, Action  Research, and A  Case  Example.       [Available online at : www.aepro.org/inprint 2conference.Fetterman.html]

Fetterman, D. M. (1996). Empowerment  evaluation: An introduction  to theory and practice. In Fetterman,D.M. ,Kaftarian,S.J. and Wandersman,A. (Eds.). Empowerment  evaluation: Knowledge and tools for self-assessment & accountability. Thousand Oaks,CA:Sage.

 

หมายเลขบันทึก: 286557เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2009 20:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 06:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เข้ามาหาความรู้ขอรับอาจารย์

สาธุ..

กราบขอบพระคุณค่ะ พระคุณเจ้า

ขอบคุณค่ะอาจารย์ หนูจะเอาไปนำเสนออาจารย์สุขแก้วหาตั้งนานแนะ เจอแล้วววววววว ดีใจจัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท