นี่แหละ ตนสนามหลวงที่ขึ้นชื่อว่าแม่


นี่แหละ ตนสนามหลวงที่ขึ้นชื่อว่าแม่

          วันนี้เป็นวันแม่แห่งชาติ เป็นวันที่ลูก ๆ ได้แสดงความรักกับแม่ ได้รำลึกถึงบุญคุณของแม่ที่มีให้เราตลอดมา ตนสนามหลวงที่เป็นแม่คนก็เช่นกัน ถึงตนเองจะทนทรมานแค่ไหน แต่ขออย่างเดียวให้ลูกสุขสบาย

          เมื่อวานนี้เป็นวันที่สมาคมได้ลงพื้นที่ทำงานเช่นเคย แต่ได้เห็นมุมมองอย่างหนึ่ง ในท่ามกลางงานเฉลิมฉลอง งานวันแม่แห่งชาติที่สนามหลวง มี Case ยายที่แก่มาก อายุก็แปดสิบกว่า แก่เป็นขาประจำที่จะมานั่งปรับทุกข์เรื่องลูก ของแก่ให้ฟัง ลูกนัยตาแกเป็นต้อกระจก ไม่ยอมไปผ่าตัด มาขอค่ายาหยอดตาสมาคมทุกเดือน เพื่อรอวันที่ลูกจะพาไปรักษา  ไม่ว่าลูกจะเป็นนักเลงหัวไม้แค่ไหน หรือโตมากเท่าไหร่ แต่แม่ก็ยังเห็นว่าเป็นเด็กตัวเล็ก ๆ คนหนึ่งที่ต้องคอยดูแล ยามเจ้าล้มแม่ก็จะอยู่เคียงข้างเจ้า ยามเจ้าสุขเจ้าอยู่ไหนเล่า ปล่อยแม่นั่งเฝ้าเจ้าทุกคืน แต่ยังไงก็ลูก ถึงจะเสียน้ำตากี่หยด ก็รักไม่เสื่อมคลาย ทุกวันที่เราลงพื้นที่ ยายแก่ก็จะมาเล่าเรื่องลูกแก่ พอสิ้นเดือนไม่มีที่เงินซื้อยาหยอดตา ก็จะออกเดินขอเงินไปทั่ว แต่ก็ขอไม่ได้สักเท่าไหร่ ทางสมาคมจึงเป็นผู้ซื้อให้ใช้ในทุกเดือน คนแถวนั้นก็ช่วยดูแลแก  เรื่องอาหารการกินเป็นประจำ รวมถึงการประคองเดินจากที่พักของแกมาหาเราที่รถ เป็นประจำ

          Caes ที่สอง ขอสะท้อน ถึงมุมมองของบทบาทที่ต้องเป็นทั้งแม่และลูก หญิงที่มีลูกที่สนามหลวง ทั้งตั้งใจหรือพลาดพลั้งไปก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่เขาไม่ทำเหมือน ที่เป็นปัญหาของวัยรุ่นในสังคมไทยทั่วไป คือ การทำแท้ง แต่เขาพร้อมจะเก็บลูกไว้ โดยไม่รู้ว่าวันข้างหน้าจะเลี้ยงเขาได้ไหม เลี้ยงได้ดีหรือเปล่า แต่สิ่งหนึ่งที่เขารู้ก็คือ ลูก ต้องมีชีวิต แม่ที่กินเหล้าเมาทุกวัน แต่ไม่เคยปล่อยให้ลูกห่างจากสายตา ไม่มีนมก็เอานมข้นมาผสมกับน้ำร้อน(น้ำร้อนขอจากเซ่เว่น) ให้ลูกกิน หรือดิ้นรนทุกทางเพื่อให้ลูกมีกิน โดยทางสมาคมเมื่อเจอ Case เหล่านี้ สิ่งแรกที่ทำคือ ถามหาใบเกิด เมื่อเด็กมีเลขประจำตัว 13 หลัก มีใบเกิด ก็ให้การช่วยเหลือ เรื่องนม ผ้าอ้อม อย่างรายที่ผ่านมาเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว มีลูกชายวัย แปดเดือน มาอยู่ที่สนามหลวง หลับนอนตรงโน้นตรงนี้บาง แต่ไม่มีที่พึ่งที่ไหน สามีก็ไปทำงานจนหายไปจากกัน มาขอผ้าอ้อม จากทางสมาคม ซึ่งก็นับเป็นหนึ่ง Case ที่ทางสมาคมต้องให้ความดูแล เมื่อถามย้อนกลับว่า ทำไม? เขาถึงไม่พาลูกกลับบ้าน อันแรก กลับบ้านไปพร้อมลูกแต่ไม่มีพ่อ สังคมในชุมชนก็จะประณามไปทั้งตระกูลว่าเป็นคนท้องไม่มีพ่อ ถ้าเอาไปทิ้งไว้ให้แม่เลี้ยงก็กลัวเป็นภาระแม่แก่ ที่อยู่บ้านคนเดียว เลี้ยงเรามาแล้วต้องมาเลี้ยงลูกเราอีก มาทำงานไม่รู้จะพอหรือเปล่าที่จะส่งให้ลูกและแม่กิน ถ้าเอาลูกไปไว้กับแม่ นี่คือบทบาทของลูกที่ไม่อยากให้แม่ตนเองลำบาก หรือไม่อยากให้ครอบครัวถูกประณาม จึงยอมรับความลำบาก หาเลี้ยงลูกเองตามลำพัง

          แต่ทางสมาคมก็ไม่อยากปล่อยให้เด็กเติบโตที่สนามหลวงเพราะ เสี่ยงต่ออันตรายมากมาย ซึ่งก็ ใช้ความพยายามในการพูดคุยให้ตนเป็นแม่เห็นถึงอนาคตของลูกและตนยอมกลับไปบ้านเพื่อลูก ที่จะมีอนาคตที่ดี โดยให้อาสาสมัคร เขาไปพูดคุย และเมื่ออยากให้ลูกโตเป็นเช่นอาสาสมัครคนนี้จะต้องทำอย่างไร ให้เขาได้ร่วมคิดไปกับเราจนเขาเกิดการพัฒนาที่อยากจะกลับสู้บ้าน หรือคนที่ไม่มีบ้าน ก็พาลูกเข้าสู่สถานดูแลเด็ก เช่น บ้านราชวิถี เป็นต้น ซึ่งในปีที่ผ่านมาก็ประสบผลสำเร็จ ที่ได้พาลูกกลับบ้าน แม้ตัวต้องตายที่สนามหลวง แต่ลูกก็ได้กลับไปอยู่กับญาติ หรืออีกหลาย Case ที่กลับสู่อ้อมอกแม่ แต่สิ่งที่สำคัญในเบื้องต้น คือระหว่างการพูดคุย ที่ต้องใช้ระยะเวลาที่แต่ละคนนั้น ยาวนานไม่เท่ากัน อาจจะปี สองปี หรือครึ่งปี ต้องมีเรื่อง นม ผ้าอ้อม ยารักษาโรค ต่าง ๆ นาน ๆ มากมาย ในวันแม่ปีนี้ จึงอยากชวนผู้ที่สนใจร่วมทำบุญบริจาคค่า นม ผ้าอ้อม ยารักษาโรค ต่าง ๆ นาน ๆ มากมาย เพื่อลูกและแม่ที่สนามหลวง ที่ต้องการความเข้าใจและการมองเห็นจากสังคม

   และนี่ คือภาพชีวิตของผู้ที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ สนามหลวง ใจกลางพระนคร เมืองหลวงที่ได้ชื่อว่า น่าอยู่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แล้วคุณคิดว่า อิสรชน จะละทิ้งคนเหล่านี้ไปได้อย่างไร ??

อัจฉรา อุดมศิลป์ : เขียนและเรียบเรียง

ข้อมูล : ชีวิตจริงของฅนสนามหลวง กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

หมายเลขบันทึก: 286398เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2009 01:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท