E-mail


E-Mail (จดหมายอิเล็กทรอนิคส์)

E-Mail

ประวัติ

 

อีเมล์เริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) โดยใช้ในการส่งข้อมูลระหว่างผู้ใช้ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม ปัจจุบันได้มีการเถียงกันระหว่างเครื่อง SDC's Q32 และ MIT's CTSS ว่าใครเป็นผู้ใช้ระบบอีเมล์เป็นเครื่องแรก

ต่อมาพัฒนาให้สามารถส่งอีเมล์ข้ามระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ โดยระบบแรก ๆ ได้แก่ ระบบ AUTODIN ซึ่งเป็นระบบเชื่อมโยงข้อมูลของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (ปีพ.ศ. 2509) และ ระบบ SAGE ซึ่งใช้ตรวจจับเครื่องบินทิ้งระเบิด

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อาร์พาเน็ต (ARPANET) มีส่วนเป็นอย่างมากในการพัฒนาอีเมล์ มีการทดลองส่งครั้งแรกในเครือข่ายเมื่อปีพ.ศ. 2512 ในปี พ.ศ. 2514 นายเรย์ ทอมลินสัน (Ray Tomlinson) เริ่มใช้เครื่องหมาย @ ในการคั่นระหว่างชื่อผู้ใช้กับชื่อเครื่อง เขายังเขียนโปรแกรมรับส่งอีเมล์ที่ชื่อ SNDMAIL และ READMAIL อาร์พาเน็ตทำให้อีเมล์ได้รับความนิยม และอีเมล์ก็ได้กลายเป็นงานหลักของอาร์พาเน็ต

เมื่อประโยชน์ของอีเมล์เป็นที่รู้จักมากขึ้น ก็มีการคิดค้นระบบอีเมล์ที่ติดต่อโดยช่องทางอื่นสำหรับผู้ที่ไม่มีสิทธิ์ใช้เครือข่ายอาร์พาเน็ต เช่นผ่านเครือข่าย UUCP หรือ VNET ก่อนที่มีการพัฒนาอีเมล์ที่ค้นหาเส้นทางในการส่งโดยอัตโนมัติ (auto-routing) การส่งผ่านอีเมล์ข้ามจากระบบหนึ่งไปยังอีกระบบจำเป็นระบุเส้นทางการส่งโดยใช้เครื่องหมาย ! คั่นชื่อเครื่องระหว่างทาง วิธีนี้สามารถเชื่อมอีเมล์จาก อาร์พาเน็ต BITNET NSFNET UUCP เข้าด้วยกัน

ในช่วงประมาณ พ.ศ. 2520 หน่วยงาน IETF ออกแบบและกำหนดโพรโทคอลในการส่งอีเมล์ที่มีชื่อว่า SMTP หรือ Simple Mail Transfer Protocol ปัจจุบันโพรโทคอลนี้ถือเป็นมาตรฐานในการรับส่งอีเมล์บนอินเทอร์เน็ต

ความหมายและความเป็นมา

E-mail หรือ จดหมายอิเล็กทรอนิคส์เป็นบริการอย่างหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมาก จนทำให้บางคนคิดว่า E-mail คือ อินเตอร์เน็ต และอินเตอร์เน็ตคือ E-mail วิธีใช้งานอีเมล์ก็ง่ายและมีประโยชน์มาก การทำงานของ E-mail มีลักษณะคล้ายกับระบบไปรษณีย์ปกติ

 

หลักการทำงานของ e-mail

มีผู้คนที่ใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์กันกว่า 20 ล้านคนทั่วโลกบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หลายคนคงแปลกใจว่าจดหมายเหล่านี้หาเส้นทางเดินไปยังปลายทางได้ถูกต้องอย่างไร ทำไมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจึงขยายได้อย่างไม่มีวันจบสิ้น และการใช้งานบนเครือข่ายยังคงแพร่หลายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอีกมาก

รู้จักกับตู้จดหมาย (mailbox)

ก่อนที่จะรู้จักกับอีเมล์ควรมาทำความรู้จักกับตู้จดหมายของตัวเองก่อน mbox หรือ mailbox คือ ตู้จดหมายของตนเอง เมื่อผู้ใช้มีชื่อยูสเซอรือยู่บนเครื่องหลักที่ต่ออยู่กับอินเทอร์เน็ต ก็จะได้รับตู้จดหมายโดยอัตโนมัติ ตู้จดหมายนี้เป็นที่เก็บจดหมายเมื่อมีผู้ส่งมาให้เรา ดังนั้นเมื่อเราเริ่มใช้เครื่องขณะใดก็ตาม ก็จะเปิดดูตู้จดหมายว่ามีจดหมายมาเก็บไว้ในตู้จดหมายนี้หรือไม่ สามารถเรียกจดหมายมาดูได้ เมื่อดูเสร็จแล้วจะนำออกจากตู้จดหมายหรือจะฝากเอาไว้ก่อนก็ได้ ตู้จดหมายจึงเสมือนตู้จดหมายจริง ๆ ที่เก็บจดหมายไว้ในเครื่องได้ และเป็นส่วนตัวเฉพาะบุคคลเท่านั้น

ปกติเมื่อเราเป็นผู้ใช้บนอินเตอร์เน็ตเราจะได้ชื่อแอดเดรสของการอ้างอิงบนอินเตอร์เน็ต และเราสามารถกำหนดชื่อนี้เป็นอีเมล์แอดเดรสได้ เช่น [email protected] ชื่อนี้มีสองส่วนคือส่วนหน้า @ และส่วนที่อยู่ข้างหลัง @ ส่วนหน้าหมายถึงตู้จดหมาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นชื่อตู้จดหมาย ซึ่งผู้ใช้ชื่อยูสเซอร์นี้เป็นเจ้าของ ส่วนเครื่องที่ตู้จดหมายเก็บไว้จะมีชื่อเครื่อง ซึ่งในที่นี้ก็คือส่วนที่อยู่หลัง @ คือ nwg.nectec.or.th

แอดเดรสของคุณคืออะไร

เมื่อคุณเริ่มเป็นสมาชิกในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สิ่งหนึ่งที่คุณได้รับคือมีชื่อยูสเซอร์บนเครื่องหลักเครื่องใดเครื่องหนึ่ง ณ เครื่องหลักนี้คุณได้ชื่อยูสเซอร์ จึงเสมือนว่าคุณมีแอดเดรสอยู่บนเครื่องหลักที่ตั้งอยู่บนอินเตอร์เน็ต บนอินเตอร์เน็ตมีการกำหนดแอดเดรสของเครื่องโดยใช้ชื่อ โดเมน เช่น nontri.ku.ac.th หมายถึงเครื่อง nontri อยู่ในเครือข่าย ku.ac.th ซึ่งหมายถึงเครือข่ายของมหาวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาอยู่ในประเทศไทย เช่นหากได้รหัสชื่อยูสเซอร์เป็น b38bmx ก็หมายถึงว่าคุณมีแอดเดรสเป็น [email protected] ชื่อนี้จะเป็นชื่อที่อ้างอิงได้ทั่วโลก ทุกจุดบนอินเทอร์เน็ตสามารถหาเส้นทางส่งข่าวสารมาให้ [email protected] ได้อย่างแน่นอน

ดังนั้นแอดเดรสที่ได้รับจึงหมายถึงชื่อยูสเซอร์บนเครื่องที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต ชื่อนี้จะเป็นสิ่งที่ใช้อ้างอิงได้ การพิมพ์ลงในนามบัตรเพื่อให้ผู้อื่นติดต่อมาจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ และอ้างอิงทั่วถึงกันทั้งหมดบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

การรับส่งเมล์ระหว่างเครื่องใช้โปรโตคอล SMTP

บนอินเตอร์เน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP เป็นฐานการติดต่อระหว่างกัน บน TCP/IP มีการกำหนดการรับส่งข้อมูลระหว่างกันในรูปแบบการรับส่งจดหมาย (เมล์) คือ SMTP SMTP ย่อมาจาก Simple Mail Transfer Protocol SMTP ได้รับการออกแบบมาให้มีการรับส่งเมล์กันอย่างอัตโนมัติ กล่าวคือ ในเครื่องหลักที่คุณทำงานจะมีโปรแกรมรับและส่งเมล์ ทำงานเป็นเดมอนโปรเซส (การทำงานเป็นแบลกกราวนด์โปรเซสคือทำงานตลอดเวลา) เพื่อทำหน้าที่รับและส่งเมล์ เช่นโปรแกรม smail หรือ sendmail ทำหน้าที่คอยส่งเมล์ ถ้ามีจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่จะส่ง ก็จะติดต่อกับปลายทางแล้วยังส่งไม่ได้ ก็จะเก็บจดหมายนั้นไว้ก่อน รออีกสักสองสามชั่วโมงก็จะส่งใหม่อีก ทำซ้ำจนกว่าจะส่งได้สำเร็ส หากส่งไม่ได้ในสามวันก็จะส่งกลับให้เจ้าของ พร้อมทั้งบอกเหตุผลของการส่งไม่ได้

โปรโตคอล SMTP นี้ เป็นโปรโตคอลหลักสำหรับการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์มาตรฐานบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ดังนั้นหากในระบบเครือข่ายอื่น เช่นเครือข่ายของไมโครซอฟต์มีการส่งด้วย msmail โปรแกรม msmail มีโปรโตคอลการส่งของตัวเอง หากต้องการผ่านเข้ามาทางอินเตอร์เน็ตจะต้องแปลงให้อยู่ในรูปโปรโตคอล SMTP ก่อน เส้นทางการเปลี่ยนนี้เรียกว่า SMTP เกตเวย์

เมล์บนอินเตอร์เน็ตหาเส้นทางไปได้อย่างไร

การกำหนดแอดเดรสของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ มีการกำหนด mbox เฉพาะของแต่ละบุคคลที่อยู่บนชื่อเครื่องหลัก ในการหาเส้นทางจึงกำหนดเป็นลำดับชั้น โดยใช้ชื่อ เช่น [email protected] โดยหาเส้นทางจาก .th หมายถึงประเทศไทย .ac หมายถึงสถาบันการศึกษา ku คือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ cpe คือภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ cc2 คือเครื่องคอมพิวเตอร์หลักของภาควิชา s38bmx คือ mbox ในเครื่อง cc2

สมมุติว่ามีจดหมายฉบับหนึ่งส่งมาจากอเมริกา ต้องการมายัง [email protected]. ac.th ในขั้นต้นจะส่งผ่านเกตเวย์เข้าประเทศไทย ซึ่งมาจาก uunet เมื่อเข้ามาประเทศไทยก็จะหาตัวให้บริการชื่อโดเมน ซึ่ง ac.th อยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็จะไปขอใช้บริการหาชื่อ ku.ac.th ซึ่งได้เส้นทางมายังมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากนั้นจึงมาถามหาหน่วยบริการชื่อโดเมน ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเก็บไว้ที่เครื่อง nontri เครื่อง nontri จะให้เส้นทางเครื่อง cc2.cpe ไป หลังจากนั้นก็จะได้เส้นทางครบจากต้นทางมายัง cc2.cpe

เห็นได้ว่าบนระบบอินเตอร์เน็ตมีหัวใจของการหาตำแหน่งที่อยู่ของเครื่องด้วยระบบบริการชื่อโดเมนที่เรียกว่า DNS (Domain Name Service) หน่วยให้บริการนี้จะเป็นตัวให้บริการการบอกตำแหน่งของเครื่องบนโดเมนที่ตนเองดูแลอยู่ เช่น ac.th ดูแลโดยเครื่อง chukn ส่วน ku.ac.th ดูแลโดยเครื่อง nontri การเรียกหาจึงเป็นวิธีการที่เรียกกันเป็นลำดับชั้น ทำให้ค้นหาตำแหน่งได้ไม่ยาก

รูปที่1 เส้นทางการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์

ความสำคัญของโปรแกรมเมล์ไคลแอนต์

เพื่อให้ผู้ใช้ได้ใช้งานง่ายขึ้น จึงมีผู้พัฒนาโปรแกรมเมล์ไคลแอนต์ เช่น โปรแกรมรับส่งเมล์บนดอสบนวินโดว์ โปรแกรมเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ใช้ใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น โปรแกรม pine สำหรับวินโดว์ โปรแกรมจำพวกอินเตอร์เน็ตไคลแอนต์มีพัฒนากันหลายบริษัท โดยเน้นเป็นโปรแกรมที่ทำให้พีซีเชื่อมโยงกับเครื่องหลัก และใช้บริการรับส่งจดหมายโดยตรง โดยเชื่อมกับเมล์บ็อกของตนเองได้

จดหมายอิเล็กทรอนิกส์เป็นสิ่งที่มีบทบาทและความสำคัญมากอย่างหนึ่งของการใช้งานบนอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ทุกคนอย่างน้อยก็จะมีเมล์บ็อกเป็นของตนเอง ทำการรับส่งจดหมายระหว่างกัน เมื่อจำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้นการติดต่อสื่อสารผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ก็จะมีมากขึ้น จนเชื่อแน่ว่าในอนาคตประชากรโลกจะใช้เครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะการติดต่อสื่อสารด้วยจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ แทนจดหมายที่มีคนนำส่ง ที่หลายคนเรียกว่า snail mail. หรือ lowtech mail

การทำงานของ E-mail มีลักษณะคล้ายกับระบบไปรษณีย์ปกติ (หมายถึงระบบที่ใช้กระดาษในการเขียนจดหมาย) กล่าวคือในระบบไปรษณีย์ปกติมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการรับส่งจดหมายคือเป็นบุรุษไปรษณีย์ (ในกรณีของประเทศไทยคือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย) ถ้าเป็นในอินเตอร์เน็ตสิ่งที่ทำหน้าที่คอยรับส่งจดหมายคือบรรดาคอมพิวเตอร์ทั้งหลายที่ทำหน้าที่เป็น E-mail Server (คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการด้านจดหมายอิเล็กทรอนิคส์) ดังนั้นถ้าท่านต้องการใช้ E-mail สิ่งแรกที่ท่านต้องทำคือไปสมัครเป็นสมาชิกหรือไปทำการลงทะเบียนกับอีเมล์เซิร์ฟเวอร์ จะเป็นเซิร์ฟเวอร์ใดก็ได้ บรรดาอีเมล์เซิร์ฟเวอร์ทั้งหลายนี้สามารถจัดแบ่งออกได้เป็นสามประเภทดังนี้
        ·    อีเมล์เซิร์ฟเวอร์ของหน่วยงานที่ท่านทำการศึกษาอยู่หรือทำงานอยู่ เช่น นิสิต อาจารย์ ข้าราชการ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็สามารถลงทะเบียนหรือสมัครเป็นสมาชิกได้กับคอมพิวเตอร์ที่เป็นอีเมล์เซิร์ฟเวอร์ของจุฬา ฯ ได้
        ·    อีเมล์เซิร์ฟเวอร์ของ ISP ( Interner Service Provider - หน่วยงานที่ให้บริการอินเตอร์เน็ต ) เช่น KSC เป็นต้น ท่านสามารถสมัครหรือลงทะเบียนกับหน่วยงานประเภทนี้ได้ แต่ต้องเสียค่าสมาชิกให้แก่หน่วยงานประเภทนี้ด้วย 
        
·    อีเมล์เซิร์ฟเวอร์ของหน่วยงานที่ให้บริการฟรี เป็นบริการฟรีที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปลงทะเบียนหรือสมัครเป็นสมาชิกได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เช่น hotmail เป็นต้น 

       ภายหลังจากที่ท่านลงทะเบียนกับอีเมล์เซิร์ฟเวอร์แล้ว ท่านก็สามารถใช้อีเมล์ได้ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการเขียนจดหมาย ส่งจดหมาย และรับจดหมาย มีอยู่หลายตัวด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น pine, Netscape, Outlook เป็นต้น ท่านจะเลือกใช้ซอฟต์แวร์ตัวไหนก็ได้แล้วแต่ความชอบใจของตัวท่านเอง ท่านไม่จำเป็นต้องรู้วิธีใช้ซอฟต์แวร์ด้านอีเมล์ทุกตัว ท่านรู้เพียงตัวเดียวก็พอ 

 

รูปแบบไฟล์สำหรับเก็บบันทึก

แต่ละโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จะใช้รูปแบบไฟล์แตกต่างกันออกไป

·       .eml - ใช้ในโปรแกรม เอาท์ลุก เอกซ์เพลส และ ทันเดอร์เบิร์ด

·       .mbox - ใช้ในโปรแกรม ยูโดรา

 

ส่วนประกอบของ e-mail

อีเมล์แอดเดรส(E-mail Address) คือที่อยู่ในอินเตอร์เน็ทหรือที่อยู่ของตู้จดหมายของผู้ใช้อินเตอร์เน็ท


ส่วนประกอบของ E-mail Address
1. ชื่อบัญชีสมาชิกของผู้ใช้(User Name)
2. เครื่องหมาย @(at sign) อ่านว่า "แอท"
3. ที่อยู่ของอินเตอร์เนทเซิร์ฟเวอร์ที่เราสมัครเป็นสมาชิก (Domain Name)
4. รหัสบอกประเภทขององค์กรและประเทศ
รหัส ความหมาย องค์กร
.com Commercial กลุ่มธุรกิจการค้า
.edu,.ac Educational สถาบันการศึกษา
.org,.or Non-commercial Organizations องค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร
.gov,go Government หน่วยงานรัฐบาล
.net Network หน่วยงานบริการเครือข่าย
.mil Military หน่วยงานทางทหาร
.us United States สหรัฐอเมริกา
.th Thailand ประเทศไทย
.jp Japan ประเทศญี่ปุ่น

 

ประเภทของ e-mail

ประเภทของ E-Mail
E-Mail แบบ POP
เป็น E-Mail อีกชนิดหนึ่ง ที่มีความสะดวกในการใช้งาน มาก เนื่องจากสามารถเช็คเมล์ได้จาก software เช็คเมล์ใดก็ได้ แต่ผู้ใช้จะต้องทำการ setup ใช้งานเอง เช่น การเซ็ตค่า incoming mail server ค่า outgoing mail server และอื่นๆ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานอย่างดี สำหรับท่านที่คิดจะมี web site เป็นของตัวเองในโอกาสต่อไป เนื่องจากจะมีการใช้งานเมล์แบบนี้หมด และเมื่อถึงวันนั้นก็คงจะช่วยกัน โกยเงินดอลลาร์เข้าบ้านเรามั่ง ส่วนข้อดีของเมล์แบบนี้ จะสามารถเช็คเมล์ได้รวดเร็ว สะดวก ไม่มีขยะปนมากับเนื้อหาที่สำคัญไม่ต้องเข้ามาที่ web site นี้บ่อยๆ สามารถ insert ไฟล์ได้ และบริการให้ฟรี! [วิธี setup ให้ใช้ pop3 ได้ ที่ http://siammail.com/email_m.htm]
มาตรฐานของ POP นี้ใช้กำหนดสำหรับการอ่าน E-Mail เข้ามาในเครื่องเท่านั้น แต่ถ้าต้องการส่ง mail ต้องใช้ SMTP (Simple Mail Transfer Protocal)

มาตรฐานของ e-mail


การขอจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail) ฟรีในอินเตอร์เน็ต ในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารมีการพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากโทรคมนาคม และระบบคอม พิวเตอร์ มีประสิทธิภาพมากขึ้น การส่งจดหมายเป็นการติดต่อสื่อสารที่มีมานานแล้ว จนถึงปัจจุบันได้มีการ พัฒนาให้สามารถส่งจดหมายข้ามทวีปโดยใช้เวลาไม่ถึงนาที ค่าใช้จ่ายต่ำ, รวดเร็ว จดหมายชนิดนี้เรียกว่า จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) โดยใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นเส้นทางในการส่งข้อมูล ทั้งนี้ การที่จะส่ง จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ได้นั้นต้องมี ที่อยู่ของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail Address) โดย อาจเป็นสมาชิก ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต แต่กระนั้นก็ดี ยังมีคนอีกจำนวนมากที่ไม่ได้เป็นสมาชิก ของผู้ ให้บริการอินเตอร์เน็ต แต่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้ ดังนั้น จึงมีผู้คิดให้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ฟรี โดยผู้สมัครต้องกรอกข้อมูล และอ่านข้อตกลง ของผู้ให้บริการให้ดีก่อนเพื่อกันการเกิดปัญหาภายหลังหาก เรายอมรับ ก็สมัครเป็นสมาชิกได้ นอกจากบริการฟรีแล้วผู้ให้บริการบางแห่ง จะช่วยในการรักษาความปลอด ภัยให้เราด้วย เช่น มีฟังก์ชันในการไม่รับ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ขยะมีการตรวจเช็ค หรือ Scan Virus และ ให้บริการแนบไฟล์ไปกับจดหมายเป็นต้น

 

ผู้ให้บริการอีเมล์ฟรี

·       ฮอตเมล (Hotmail) บริการอีเมลจากไมโครซอฟท์

·       ยาฮู!เมล (Yahoo! Mail) บริการอีเมลจากยาฮู!

·       จีเมล (Gmail) บริการอีเมลจากกูเกิล

·       ไทยเมล์ (Thaimail) บริการอีเมลโดยบริษัทเออาร์ไอพี

·       AOL Mail บริการอีเมลจาก AOL เป็นที่นิยมของคนอเมริกัน

·       คนไทยดอตคอม เป็นบริการอีเมลฟรีสำหรับคนไทยทุกคน ที่ทางกระทรวงมหาดไทยจัดทำให้ โดยชื่ออีเมลจะเป็นตัวอักษร "P" ตามด้วยเลขประจำตัวประชาชน และตามด้วย "@khonthai.com" เดิมสามารถสมัครได้ผ่านอินเทอร์เน็ต แต่ปัจจุบันต้องยื่นเรื่องขอที่ทางสำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ

 

โปรแกรมจัดการอีเมล (Email Client)

·       Eudora โปรแกรมยอดนิยมในยุคแรก ๆ จากบริษัท Qualcomm

·       Microsoft Outlook Express โปรแกรมจัดการอีเมลที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows

·       Microsoft Outlook หนึ่งในโปรแกรมจัดการงาน ตารางนัดหมาย ปฏิทิน ที่มาพร้อมกับชุด Microsoft Office

·       Netscape ในชุด Netscape Communicator ประกอบไปด้วยเบราว์เซอร์ โปรแกรมจัดการอีเมลและอ่านข่าว รวมไปถึงโปรแกรมเขียนเว็บเพจ

·       Thunderbird จาก Mozilla Foundation

·       IncrediMail โปรแกรมอีเมลที่ใส่รูปแบบสีสันได้ดี

·       Lotus Notes โลตัสโนตส์ เป็นโปรแกรมอีกโปรแกรมหนึ่งซึ่งมีผู้นิยมใช้มาก มีจุดเด่นในเรื่อง Database ที่ใช้ในการส่งข้อมูลภายในองค์กรดีมาก

 

คำสำคัญ (Tags): #งาน
หมายเลขบันทึก: 286352เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2009 23:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท