ประสบการณ์เป็นนกน้อย Twitter


ย่อโลกสื่อสารด้วยเสียง Tweet


ช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ถ้าใครติดตามข่าวสารบ้างจะพบว่า
เกิดสงครามสื่อเล็กๆ บนโลกอินเตอร์เน็ต ช่วงวันเกิดท่านผู้นำ และอดีตผู้นำของไทย

http://twitter.com/PM_Abhisit 

http://twitter.com/Thaksinlive

 

ดิฉันเป็นคนชอบติดตามข่าวสาร เข้าขั้นมาก
จนอยากจะประชดตัวเองว่า เรื่องอื่นน่ะรู้หมด .. ยกเว้นเรื่องของตัวเอง 555


ตอนแรกไม่คิดจะสมัคร เพราะลำพังโปรแกรม Social Network แบบ hi5 และ facebook ก็แย่งเวลาไปหลายชั่วโมงในวันๆนึง
แต่ที่สมัครไว้เพราะอยากทดลอง  ถ้าไม่ลองก็ไม่รู้ โลกนี้มันถูกย่อให้เข้าใกล้กันเข้าไปทุกที

เข้าไปแล้วก็จะเห็นหน้าคนดังๆเพียบ  พอตาม following ไปเรื่อยๆ ก็จะพบคนดังๆ ที่เราอาจรู้จักใน twitter คนอื่น
สำนักข่าวต่างๆ ทั้งไทยและเทศ  ร้านหนังสือออนไลน์  บริษัทภาพยนตร์  แฟนคลับซุปเปอร์สตาร์  ดารา นักแสดง  กระทั่งประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี  อดีตนายกรัฐมนตรี  สส. รัฐมนตรี  นักบวชอย่าง หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ ก็มี Twitter กับเขาด้วย 

 


เข้าไปแรกๆ ก็บ่นว่าโปรแกรมอะไร แชทก็ไม่ได้ คุยกับใครก็ไม่รู้ เหมือนป่าวประกาศโดยไม่รู้ว่าใครจะเห็นบ้าง  แถมจำกัดให้เขียนแค่ 140 ตัวอักษร จึงต้องเขียนให้สั้นๆ ได้ใจความ แต่ส่วนใหญ่ดิฉันจะเป็นผู้อ่าน tweet ของคนอื่นซะมากกว่า

เขาบอกว่าการสื่อสารแบบนกน้อย Twitter นี้ ใช้วิธีสื่อสารแบบ Asynchronous เพราะไม่ต้องอยู่หน้าจอเวลาเดียวกัน  ทิ้งข้อความไว้ให้อ่านเวลาไหนก็ได้ คนเขียนก็ส่งข้อความ update ได้ตลอดเวลา แม้กระทั่งขณะนั่งรถ (สำหรับคนใช้มือถือเล่นเน็ต) และยังทำ link ให้ไปยังที่อื่นได้

 

แต่เมื่อได้ลองใช้สักพัก ก็เห็นข้อดีส่วนหนึ่งคือ สามารถเลือก following ตามคนที่เราชื่นชอบ และยังได้อ่านข่าวจากสำนักข่าวดัง อย่าง CNN , BBCnews ,  Newsweek , Times,  Nation , Manageronline  ขององค์กรก็อย่างเช่น องค์การ NASA   ทำเนียบ White House
Twitter ของบุคคล ก็มีตัวอย่างของ คุณสุทธิชัย หยุ่น    คุณอภิรักษ์ โฆษะโยธิน  คุณกร จาติกวนิช  คุณแอนดรู บิกส์  ประธานาธิบดีบารัค โอบามา   ฮิลลารี่ คลินตัน   อัล กอร์   ไมเคิล แจ๊คสัน   ซึ่งบางคนอย่างประธานาธิบดีบารัค โอบามา คุณฮิลลารี่ คลินตัน หรือศิลปินผู้ล่วงลับอย่างไมเคิล แจ๊คสันนั้น มีแฟนคลับทำให้มากกว่า 1 site ด้วยซ้ำ 


ห้องสมุดก็มีค่ะ อย่าง British Library, Library of Congress, ALA Library, Library Journal  ห้องสมุดของไทยยังมีเลยค่ะ อย่างเช่น ห้องสมุด ม.เทคโนพระจอมเกล้าธนบุรี


แต่ถ้าตาม follow เข้ามาไว้ใน twitter เรามากไป วันๆ จะอ่านไม่หวัดไหว เพราะแต่ละคนช่างจะบ่นเรื่องหลากหลายมากมาย  ต้องเลือกสรรเองว่าจะบริโภคข่าวสารอะไร 


ตอนนี้ได้ข้อสรุปอีกข้อนึง คือ มันเหมาะกับคนดังๆ ใช้มากกว่า เพราะใช้ติดต่อ ส่งความเคลื่อนไหวให้แฟนคลับ กลุ่มลูกค้า กลุ่มเป้าหมาย หรือสร้างมวลชนที่สามารถติดตามข้อมูลได้มากๆ .. จึงน่าจะเหมาะกับการรายงานข่าวสาร โฆษณา ประชาสัมพันธ์ สินค้าหรือบริการ อย่างสำนักข่าว ธุรกิจสิ่งพิมพ์ออนไลน์ หรือแม้แต่สร้างฐานเสียงสำหรับนักการเมือง

แต่ยังไง ทุกสิ่งในโลก มีข้อดีย่อมมีข้อเสีย สุดแล้วแต่ว่าเราจะเลือกใช้ส่วนไหนให้เกิดประโยชน์นะคะ

 

ข้อมูลเพิ่มเติม :

http://twitter.kapook.com/

http://www.oknation.net/blog/roungkaw/2009/08/02/entry-8

 

หมายเลขบันทึก: 286281เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2009 20:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 เมษายน 2012 21:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เห็นTwitterของพี่นิดมั้ยจ้ะปุ๊ก อิอิ

พี่นิดมี twitter ด้วยหรอคะ ทันสมัยนะคะเนี่ย

ลืมใส่ของตัวเอง เผื่อจะตามไปดูค่ะ  http://twitter.com/wansangjan

พี่ปุ๊ก...ตุ่นเพิ่งตามเรื่องนี้มาทำวารสารอินฟอร์เมชั่น

แต่ช้ากว่าพี่ปุ๊กซะงั้น

อิอิ...นักบวชอย่าง หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ ก็มี Twitter ด้วยแฮะ...เพิ่งรู้นะเนี่ยะ

ตามพี่ตุ่นเข้ามาอ่านบล็อกของพี่ moonlight

ตอนนี้ห้องสมุด มข. ก็มี Twitter แล้วเหมือนกันนะคะ

ฝากเข้าเยี่ยมชมด้วยนะคะ

http://twitter.com/KKU_Library

สวัสดี ครับ

มาเรียนรู้การใช้twitter..

เป็นเครื่องมือชิ้นใหม่ที่น่าสนใจมาก

ขอบพระคุณ นะครับ กับ การนำเครื่องมือนี้ มาใส่ในบันทึก

เป็นประโยชน์ นะครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท