รายจ่ายการดูแลสุขภาพเป็นภาระของใคร???


มาตรการการคลังเพื่อสุขภาพ ควรวางอยู่บนหลักการลดช่องว่างระหว่างกลุ่มคนในสังคม โดยการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส สร้างสังคมที่เท่าเทียมกันให้มากที่สุด

บันทึกการเรียนรู้ : Topic 10
แบ่งบันความรู้โดย  
ผศ.สุชาดา     ภัยหลีกลี้     มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เก็บออมความรู้โดย เกศรา แสนศิริทวีสุข          
นศ. สาขาพัฒนาสุขภาพชุมชน

              ขอเกริ่นนำด้วยคำถามว่า การจัดสรรงบประมาณด้านการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมของไทยควรเป็นอย่างไร?   แล้วที่ผ่านมาและเป็นอยู่....ระบบหลักประกันสุขภาพของไทยเป็นอย่างไร???     เมื่อเหลียวหลังกลับไปค้นหาคำตอบ พบว่า ในอดีตระบบประกันสุขภาพของไทย เริ่มจากการที่รัฐบาลกำหนดให้ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการจ่ายค่าบริการรักษาพยาบาลด้วยตนเอง  ต่อมาในปี พ.ศ.2518  จึงได้นำเอาการพัฒนาระบบบริการสุขภาพประชาชนเข้ามาใช้ที่เรียกว่า โครงการ สปร. (สวัสดิการประชาชนด้านการรักษาพยาบาล)  ต่อด้วยโครงการหลักประกันสุขภาพทั้งแบบสมัครใจและบังคับ โครงการสวัสดิการการรักษาพยาบาลข้าราชการ โครงการประกันสังคม  พรบ. ผู้ประสบภัยจากรถ ตลอดจนการประกันจากบริษัทเอกชนต่างๆ     ซึ่งโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในปัจจุบันรัฐบาลมีการจัดสรรงบประมาณโดยการคำนวณต้นทุนการจัดการด้านสุขภาพตามรายหัวประชากร  ที่มีคำถามย่อยต่อลงไปอีกว่าการจัดสรรงบประมาณให้สถานพยาบาล เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและเป็นธรรมควรจะอิงกับหลักเกณฑ์และตัวชี้วัดอะไรบ้าง... น่าจะเป็นคำตอบที่ยากและซับซ้อน  เพราะต้นทุนต่อหน่วย (unit cost) มักไม่คงที่ แต่ผันแปรไปตามขนาดของสถานบริการ   ตามฤดูกาลหรือ โรคระบาด เช่น ในปัจจุบันบ้านเราก็กำลังเผชิญกับโรคที่ถือเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข คือ โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ทำให้รัฐบาลต้องทุ่มเงินไปในส่วนนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เพื่อการแก้ปัญหาวิกฤตเฉพาะหน้าของประเทศ นอกจากนี้ยังต้องเผชิญกับความผันผวนของราคายา วัคซีน วัสดุอุปกรณ์ ฯลฯ  ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงทางการเงินรูปแบบหนึ่ง  แล้วเงินทั้งหมดที่นำมาใช้ในการดูแลสุขภาพน่าจะมาจากไหนบ้าง?? นอกเหนือจากการหักเงินจากภาษีของประชาชน ประชาชนควรได้รับบริการรักษาฟรีทุกโรคหรือควรมีส่วนร่วมจ่าย 30  บาทหรือจ่ายโดยการซื้อบัตรประกันสุขภาพ 500 บาทอย่างเช่นในอดีต และเมื่อจ่ายไปแล้วใครจะได้หรือเสียผลประโยชน์ เงินที่ใช้จ่ายไปส่วนใหญ่จะนำไปใช้ในการสร้างสุขภาพที่เรียกว่าสร้างนำซ่อม หรือซ่อมนำสร้าง ซึ่งคำตอบที่ได้รับก็คงแตกต่างกันไปขึ้นกับว่าใครสวมบทบาทอะไร หรือใครเป็นผู้ที่มีส่วนได้หรือมีส่วนเสียในเรื่องใด
             ดังนั้นมาตรการการคลังเพื่อสุขภาพ  ควรวางอยู่บนหลักการลดช่องว่างระหว่างกลุ่มคนในสังคม   โดยการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส สร้างสังคมที่เท่าเทียมกันให้มากที่สุด อย่างน้อยในการได้มาซึ่งปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต   แล้วในส่วนหนึ่งของช่องทางคนรวยที่สามารถช่วยคนจนได้ คือการที่รัฐบาลดำเนินมาตรการจัดเก็บภาษีในอัตราความก้าวหน้า ที่ผู้เขียนมีความเห็นว่าเป็นจุดที่ดี ที่ช่วยให้คนที่มีโอกาสที่ดีกว่า สามารถคืนกำไรให้กับสังคม เป็นการช่วยกันเฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข สุดท้ายที่อยากฝากประชาชนชาวไทย คือ อย่ามัวแต่รอความช่วยเหลือหรือความหวังจากรัฐบาลที่อาจจะไม่มั่งคง เท่ากับการเร่งสร้างหลักประกันสุขภาพและชีวิตด้วยตัวของเราเอง (ไม่ได้พูดในฐานะที่เป็นตัวแทนขายประกันชีวิตนะคะ)

หมายเลขบันทึก: 286229เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2009 16:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ถูกต้องแล้วครับ เจ้าของต้องรับผิดชอบ

ดีจังเลยครับ มาทักทาย

เห็นด้วยกับคุณหมอเจเจ ครับ ตนเองต้องมี หน้าที่ และ ภาระ รับผิดชอบ ด้วย

หลักประกันสุขภาพ และชีวิต คือ อะไร ครับ

คือ ชีวิต ที่มีศีล และ ธรรม กำกับ

คือ ชีวิต ที่มีความรู้ วิชชา รู้จักกิน รู้จักพักผ่อน รู้จักสมุนไพร

รู้จักปลูกอาหารแล ยา ไว้ใช้กิน

เรา ท่านได้อะไร จาก ระบบ 30 บาท ระบบ ปกส. ระบบสวัสดิการ ราชการ

แบบข้างบนที่กล่าว

เราได้แต่การรักษาฟรี ก็ดี แต่ไม่เพียงพอ ให้ชีวิตมั่นคง

ทุกๆคน ก็ชอบของฟรี หารู้ไม่ว่า ฟรี แต่ เราเสียการพึ่งตนเองของชาติ และบุคคล

ปราชญ์ชุมชน ท่านรู้จัก สร้างหลักประกันชีวิต และสุขภาพ แบบ ไม่พึ่งพารัฐ แต่พึ่งพาตนเองและพึ่งพากันเอง

ขอบคุณสำหรับอาจารย์ทุกท่านที่เข้ามแลกเปลี่ยนและถือเป็นกำลังใจแก่ผู้เขียนคะ

เกศรา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท