โครงการเครือข่ายคนรู้ใจคุ้มภัยโรคใกล้ตัวด้วยความเอื้ออาทรสู่ชุมชน


จุดเริ่มต้นของการทำงาน โดยได้มีการผสมผสานงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสภาพ และการรักษาพยาบาลตามศักยภาพ

วันนี้สถานีอนามัยตำบลวิชิต ร่วมกับ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลวิชิต จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ณ ห้องประชุมชั้น 3 เทศบาลตำบลวิชิต .. ตามโครงการเครือข่ายคนรู้ใจคุ้มภัยโรคใกล้ตัวด้วยความเอื้ออาทรสู่ชุมชน เป็นอีกหนึ่งโครงการดีดี ที่เกิดจากแนวคิดของคนทำงาน ระบบบริการปฐมภูมิ คุณจุไรลักน์ ขวัญแคว้น (พี่กุ้ง) พยาบาลวิชาชีพ สถานีอนามัยตำบลวิชิต ที่เขียนโครงการและขอสนับสนุนงบประมาณ จาก ระบบหลักประกันสุขภาพในเขตท้องถิ่นหรือพื้นที่ตำบลวิชิต โดย นายกรีฑา แซ่ตัน นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลวิชิต ให้เกียรติมากล่าวเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ พร้อมทั้งพบปะพูดคุย มอบนโยบาย และแนวคิดในการทำงานให้กับพี่น้อง อสม. ที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว

วัตถุประสงค์ : โครงการมีทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณที่สามารถติดตามประเมินผลได้อย่างชัดเจน ดังนี้
1. เพื่อให้ อสม.และแกนนำสุขภาพเกิดความชำนาญการในการดูแลและคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองโรคในชุมชน ครอบคลุมมากกว่า ร้อยละ 80
3. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการประเมินภาวะเสี่ยงโดยชุมชนมากกว่าร้อยละ 80
4. เพื่อให้ชุมชนมีศักยภาพในการวิเคราะห์ปัญหาและให้เกิดกระบวนการแก้ไขโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงโดยชุมชน ตลอดจนสร้างระบบการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพบุคคลและชุมชน

กิจกรรม : ในช่วงเข้าก็จะเป็นการให้ความรู้โดยทีมวิทยากรจากโรงพยาบาลถลาง

อาหารสำหรับผู้ป่วยเรื้อรังในชุมชน ที่อสม.จะต้องลงไปดูแลและให้คำแนะนำ

ช่วงบ่าย : ทุกคนก็ได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยการแบ่งกลุ่ม ตามหมู่บ้าน และ รับมอบกล่องคัดกรองสุขภาพ

อย่างน้อยที่สุด ; กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับกลุ่ม อสม. ในวันนี้ ก็คือ

- เทคนิคการสร้างสัมพันธภาพและการเยี่ยมบ้าน แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากวิทยากร ต่างพื้นที่
- ความรู้เรื่องโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง สามารถการคัดกรอง ประเมินโรคดังกล่าวในชุมชนของตน 

- การฝึกปฏิบัติโดยใช้เครื่องมือเจาะระดับน้ำตาลในเลือด  การวัดความดันโลหิตสูง
- การเพิ่มศักยภาพการจัดเก็บข้อมูลกลุ่มเสี่ยงอย่างง่าย การบันทึกแบบฟอร์มและเก็บการรวบรวมข้อมูล 

ผู้เขียนเชื่อว่า : แนวคิดหนึ่ง ในการจัดโครงการนี้ ก็เนื่องมาจากขีดจำกัดของอัตราบุคลากรในศูนย์สุขภาพชุมชน  ทำให้ต้องอาศัยกำลังคนที่อยู่ในพื้นที่ ของแต่ละชุมชนเข้ามาเสริม  ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน( อสม. )เป็นองค์ประกอบหนึ่งในงานดังกล่าว โดยมีบทบาทสำคัญมากในการพัฒนาและดำเนินงานสาธารณสุขให้ก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ โดยได้มีการผสมผสานงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค  ฟื้นฟูสภาพ และการรักษาพยาบาลตามศักยภาพ ของแต่ละพื้นที่

ภาระกิจต่อไป : อสม.แต่ละหมู่บ้านร่วมกันจัดรูปแบบการดูแลระบบสุขภาพของชุมชนขึ้น โดยการออกให้บริการคัดกรองภาวะโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง พร้อมบริการแนะนำสุขภาพ อสม. 1 คน จะดูแลละแวกบ้าน  15  หลังคาเรือนที่รับผิดชอบ เมื่อมีเพื่อนบ้านที่เจ็บป่วยก็จะเยี่ยมสอบถามความเจ็บป่วยด้วยความห่วงใยและเอื้ออาทรกัน  การที่อสม.มีความรู้และเกิดทักษะความชำนาญเฉพาะทางเกี่ยวกับโรคเรื้อรัง  ทำให้ อสม.สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมั่นใจ สามารถดูแลได้อย่างถูกต้อง ด้วยความห่วงใย และเกิดความเอื้ออาทรต่อการดูแลผู้ป่วยและผู้เข้ารับบริการด้วยจิตสาธารณะ เปรียบประดุจญาติสนิท  ทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการ ลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น  และชุมชนก็จะปลอดภัยจากโรคใกล้ตัว เกิดความเข้มแข็งในการดูแลสุขภาพชุมชนอย่างยั่งยืน

                                                                                                                                อรุฎา  นาคฤทธิ์

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 285858เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2009 18:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • เยี่ยมๆ ครับ
  • เป็นกำลังใจให้ครับผม
  • สวัสดีคะพี่ชายคนล่าสุด อิอิ
  • ขอบคุณนะคะ ที่แวะมาเป็นกำลังใจ ให้เสมอ
  • อย่าลืมเก็บตก กิจกรรม ไปลองบูรณาการในพื้นที่ดูนะคะ ^__^

ผลกิจกรรมนี้ เป็นประโยชน์ต่อชุมชน แน่นอน

..

มาส่งกำลังใจ ช้าไปมั้ยเนี้ย

สานต่อ ..

จนกลายเป็นความสำร็จ สู่ชุมชนที่ยั่งยืน

^__^

http://hktjl11.blogspot.com/2009/11/6-9.html

(ข่าวโครงการหมู่บ้านอ่อนหวาน)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท