(ร่าง) โครงการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นหมอฟัน (open house)


"เนื่องจากโครงการนี้ยังไม่ได้รับการอนุมัติ ขอให้ทุกท่านโปรดให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงโครงการนี้ให้สอดคล้องกับแนวคิดสร้างเสริมสุขภาพและหลักการ Empowerment ด้วย โดยหัวหน้าโครงการสามารถเข้ามาแลกเปลี่ยนใน blog นี้ได้เลย เมื่อผู้จัดการแผนงานเห็นชอบต่อโครงการที่ปรับปรุงแล้วก็จะขอความเห็นชอบกรรมการบริหารให้อนุมัติโครงการได้เลยครับ"

ความเป็นมาและความสำคัญของโครงการ

เนื่องจากการเรียนการสอนในคณะทันตแพทยศาสตร์ทั้ง ๙ มหาวิทยาลัย ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรจน์ประสานมิตร  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยรังสิต  มิได้มีเฉพาะการเรียนการสอนในรูปแบบการบรรยายเท่านั้น แต่ยังมีการเรียนการสอนในเชิงปฏิบัติการและการเรียนในระดับคลินิก ซึ่งเป็นส่วนที่แตกต่างจากการเรียนการสอนในคณะอื่นอย่างมาก อย่างไรก็ตามนักเรียนส่วนใหญ่ที่มีความประสงค์จะศึกษาต่อในคณะทันตแพทยศาสตร์ มักจะไม่ทราบถึงรายละเอียดการเรียนการสอนดังกล่าว ทำให้ไม่สามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องว่าตนเหมาะกับการเรียนในคณะนี้หรือไม่

ทางสมาพันธ์นิสิตนักศึกษาทันตแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทยได้เล็งเห็นปัญหาในจุดนี้จึงมีความประสงค์ในการจัดโครงการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นหมอฟัน (open house) เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ข้อมูลการเรียนการสอนของคณะทันตแพทยศาสตร์ ทั้ง 9 มหาวิทยาลัย รวมไปถึงให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายได้สัมผัสประสบการณ์จริงในการทำปฏิบัติการณ์ทางทันต

กรรม เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการประกอบการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม            

 

วัตถุประสงค์ของโครงการ

 

วัตถุประสงค์

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

วิธีการประเมินตัวชี้วัด

1. เพื่อสนับสนุนแนวคิดการเรียนอย่างเป็นสุข โดยผสมผสานการทำทันตกรรมหัตถการร่วมกับกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาพ

1. นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่เข้าร่วมโครงการ

1. จำนวนนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่เข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของทั้งหมด เข้าร่วมกิจกรรมฐานปฏิบัติการทันตกรรมหัตถการ

2. เพื่อส่งเสริมสุขภาพกาย ช่องปาก และจิตใจต่อกลุ่มเป้าหมาย โดยให้ความรู้ทางทันตกรรมและรวมถึงเปิดโอกาสการเข้าถึงข้อมูลวิชาการทางด้านทันตกรรมให้ทราบทั่วกัน

1. แบบประเมินโครงการ

1. นักเรียนมัธยมผู้เข้าร่วมโครงการได้รับทราบข้อมูลการศึกษาต่อในระดับมากไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด

3. เพื่อสร้างมุมมองใหม่ต่อการศึกษาวิชาชีพทันตแพทย์ที่เข้าถึงง่าย และส่งเสริมแนวคิดสุขภาพองค์รวม

1. เขียนเรียงความในหัวข้อ

จากมุมว่าที่หมอฟัน

1. ประเมินคะแนนเรียงความอิงตามเกณฑ์

4. เพื่อเปิดโอกาสให้นิสิต/นักศึกษาทันตแพทย์ทั้ง 9 มหาวิทยาลัย ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน สร้างความสัมพันธ์อันดี และได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนกาสอนระหว่างมหาวิทยาลัย และฝึกการทำงานเป็นเครือข่าย

1. รายงานการประชุมเตรียมงาน 2. รายงานการประชุมสรุปงาน

1.จำนวนนิสิต/ นักศึกษาทันตแพทย์ทั้ง 9 สถาบันที่เข้าร่วมโครงการ และการประชุมเครือข่ายฯ

ขั้นตอน / กิจกรรมของโครงการ โดยละเอียด

กิจกรรม1. ประชาสัมพันธ์กิจกรรม

ประชาสัมพันธ์ผ่านเวบบอร์ดและป้ายประกาศ โดยจะปิดประชาสัมพันธ์ยังโรงเรียน สถาบันกวดวิชาและ บริเวณใกล้เคียงของมหาวิทยาลันทั้ง 9 สถาบัน

2. รับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรม

เปิดรับสมัครโดยวิธีการโอนเงินเข้าบัญชีผ่านธนาคาร

3. การจัดทำหนังสือสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม

รายละเอียดเนื้อหาในหนังสือประกอบด้วยด้วย การแนะนำ มหาวิทยาลัย วิธีการรับสมัคร กิจกรรมและจุดเด่นภายในคณะและมหาวิทยาลัยและมีการแนบแผ่น CD ข้อมูลการแสดง และข้อมูลปฏิบัติการทางทันตกรรมในแต่ละฐานของวันจัดจริงลงด้านในของหนังสือ

4. จัดเตรียมรายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมพร้อมใบลงทะเบียน

5. จัดทำของที่ระลึก

ของที่ระลึกสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมและของที่ระลึกตอบแทนบัณฑิตทันตแพทย์ที่มาเข้าร่วมการตอบคำถาม

6. จัดเตรียมเอกสารประเมินผล

 

ตารางกิจกรรม

กิจกรรม

ช่วงเวลาดำเนินการ

1. ลงทะเบียนนิสิต/ นักศึกษาทันตแพทย์ทั้ง 9 สถาบัน และเด็กนักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการ

ลงทะเบียนพร้อมรับหนังสือและของที่ระลึก

เวลา 8.00-8.50น.

2. พิธีเปิด

เวลา 8.50-9.10น.

3. การแนะนำคณะทันตแพทยศาสตร์ แต่ละมหาวิทยาลัย

การแสดงหรือวีดิทัศน์ ซึ่งมีเนื้อหาประกอบด้วย การแนะนำ มหาวิทยาลัย วิธีการรับสมัคร กิจกรรมและจุดเด่นภายในคณะและมหาวิทยาลัย

เวลา 9.10-10.10น.

4. พักรับประทานอาหารว่าง

เวลา 10.10-10.20น.

5. กิจกรรมถามตอบโดยนิสิตนักศึกษาทันตแพทย์

    กิจกรรมการให้สัมภาษณ์บนเวทีของนิสิต นักศึกษาทันตแพทย์โดยจะมีการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ยกมือซักถามและส่งกระดาษคำถามเพื่อไขข้อข้องใจเกี่ยวกับชีวิตการเรียนทันตแพทย์

เวลา 10.20-10.50น.

6. กิจกรรมถามตอบโดยบัณฑิตทันตแพทย์, กิจกรรมการให้สัมภาษณ์บนเวทีของบัณฑิตทันตแพทย์ จำนวน 3 ท่านซึ่งมีวิชาชีพต่างสาขากันไปโดยจะมีการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ส่งกระดาษคำถามเพื่อไขข้อข้องใจเกี่ยวกับชีวิตการการทำงานของทันตแพทย์

 

เวลา 10.50-11.30น.

7. กิจกรรมแนะนำวิชาชีพสายวิทยาศาสตร์สุขภาพอื่นๆ โดยเชิญผู้บรรยายจากสมาพันนิสิตนักศึกษาวิชาชีพอื่นๆ เช่น แพทย์ เภสัช พยาบาล ฯ เป็นต้น เพื่อใน้นักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการได้รับข้อมูลเพื่อเป็นส่วนประกอบในการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ

เวลา 11.30-12.00น.

8. รับประทานอาหารกลางวัน

เวลา 12.00-13.00น.

9. วีดิทัศน์สาธิตปฏิการทางทันตกรรม สาขาวิชาศัลยศาสตร์และเวชศาสตร์ช่องปาก

     เปิดวีดิทัศน์แนะนำเนื้อหาวิชา เวชศาสตร์ช่องปาก พยาธิวิทยาช่องปาก และวีดิทัศน์การผ่าฟันคุด

เวลา 13.00-14.00น.

10. กิจกรรมฐานสาธิตปฏิบัติการทางทันตกรรม

    จัดนักเรียนผู้เข้าร่วมกิจกรรมออกเป็น 6 กลุ่ม เพื่อเดินเวียนศึกษาฐานปฏิบัติการทั้ง 6 ซึ่งได้แก่ ฐานวิทยาคลองรากฟัน  ฐานทันตกรรมบูรณะ ฐานฟันปลอมถอดได้  ฐานฟันปลอมติดแน่น  ฐานทัตกายวิภาคศาสตร์ และฐานฟันปลอมทั้งปาก  โดยในแต่ฐานมีการจัดบอร์ดให้ความรู้และแผ่นพับแจก

เวลา 14.00-16.00น.

11. พิธีปิด

กล่าวปิดงานพร้อมแจกแบบประเมินผลการจัดกิจกรรม

เวลา 16.00น.

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 285538เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2009 22:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 09:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ข้อเสนอแนะ

1. กิจกรรมนี้นับเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมจิตอาสาให้นิสิต นศ. ทันตแพทย์มาร่วมกันเตรียมความพร้อมแก่น้องๆ นักเรียน เพื่อให้รู้ว่าจะต้องเตรียมตัวเองอย่างไรหากต้องการเข้ามาเรียนทันตแพทย์

2. เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้แนวคิด "สุขภาพองค์รวม" จึงอยากเสนอแนะให้ทีมงานมองถึงการพัฒนาความพร้อมด้านอื่นๆ แก่นักเรียนด้วย เช่น ด้านสุขภาพ ด้านจริยธรรม ด้านการทำงานเพื่อสังคม ฯลฯ โดยอาจจัดเป็น ตอนที่ 1 เรียนรู้ชีวิตทันตแพทย์ ตอนที่ 2 เรียนรู้ผู้ป่วย ตอนที่ 3 เรียนรู้ตนเอง .... เป็นต้น

3. กิจกรรมนี้เดิมแต่ละคณะน่าจะเคยจัดเองมาแล้ว ไม่แน่ใจว่าใช้งบประมาณจากที่ใด แนวคิดของ สสส. จะไม่สนับสนุนโครงการที่เคยมีการสนับสนุนตามปกติอยู่แล้ว

ฝากให้ลองคิดต่อนะครับ

จรัญญา หุ่นศรีสกุล

ข้อสังเกต

ไม่แน่ใจว่า ในภาพรวมทั้งหมด คาดหวังว่าผู้เข้าร่วมจะได้ประเด็นใดเป็นสำคัญ เสนอว่าควรเน้นเชิงทัศนคติ ให้ความสำคัญต่อความดีความงามของวิชาชีพที่มีต่อสังคม รวมถึงการให้เห็นลักษณะที่จำเป็นของวิชาชีพนี้ อาทิ การมีีศิลปะในการเข้าใจผู้ป่วย เข้าใจคน อยากช่วยเหลือผูื้้้้้้อื่น มีความสามารถทางวิชาการควบคุ่กับทักษะทางงานฝีมือ รวมถึงประเด็นที่อาจเป็นเชิงลบ เพื่อให้นักเรียนมองเห็นลักษณะรอบด้าน และทบทวนว่าตนเป็นอย่างไร ไม่แน่ใจว่าสัดส่วนของกิจกรรมให้ความสำคัญกับเรื่องใดมากกว่ากัน เพราะดูว่า เวลาในเรื่องฐานทางคลินิก หรืองานทำฟัน จะโดดเด่นจนอาจไม่เห็นในเรื่องความปรารถนาที่วิชาชีพต้องการให้คนมีสุขภาพดี ดูแลตัวเองได้ (มากกว่าซ่อมแซมโรค)เสนอว่าน่าจะเพิ่มงานป้องกัน การทำงานทางสังคม การช่วยเหลือคนอีกทางหนึ่ง (ถ้ามี role model ที่ทำงานใน รพช ที่ห่างไกลที่มีความสุขในการทำงานมาพูดคุยด้วยก็น่าจะดีไม่ค่ะ)

เข้าใจว่า จุดที่ต่างจากการจัด dent camp โดยแต่ละคณะนั้น คือการนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมหาวิทยาลัยด้วย ซึ่งโดยส่วนตัวคิดว่า ไม่จำเป็นนักและอาจนำไปสู่การแข่งขันโดยไม่ตั้งใจได้ ด้วยเวลาทีสั้น ่ควรให้ความสำคัญกับ การรู้จักวิชาชีพมากกว่าค่ะและการมาร่วมกันหลายคณะ น่าจะทำให้เกิดทีมงานที่ใหญ่ขึ้น นำจุดดีๆจากที่เคยทำมายำใหญ่ (อาจจะทำอยู่แล้ว) แต่ถ้าจะนำเสนอความหลากหลายของสถาบัน อาจอยู่ในรูปนิทรรศการหรือเอกสารให้ศึกษาด้วยตนเองได้

ในส่วนวิธีการจัด ทำอย่างไรให้เข้าถึงนักเรียนที่ไม่สามารถเข้า dent camp ได้ น่าจะเป็น free access ไม่คะ คิดเล่นๆว่า ถ้าจะเพิ่ม open house เชิง website และทุกมหาวิทยาลัยช่วยกันตอบผ่านกระทู้ หรือวิธีใดก็ได้ที่เอื้อการเข้าถึงและนำจุดเด่นของการมีทีมงานหลายมหาวิทยาลัยมาช่วยกัน ฝากคิดดูค่ะ

เชื่อมั่นในพลังของนิสิตนักศึกษาค่ะ

Cheers!

ตรินทร์ มโนมัยวัฒน์

คาดหวังว่าผู้เข้าร่วมจะได้ รู้จักว่าผู้ที่จะเป็นทันตแพทย์ที่ดีควรจะมีคุณสมบัติอย่างไร ชีวิตในการเรียนและการทำงานเป็นอย่างไร ให้ผู้เข้าร่วมโครงการสำรวจตนเองว่าตนเองชอบอาชีพทันตแพทย์จริงๆหรือไม่มีความพร้อมที่จะเป็นทันตแพทย์ที่ดีหรือไม่หรือ แล้วสอดแทรกทัศนคติที่ดีในการเป็นทันตแพทย์และบทบาทของทันตแพทย์ที่มีต่อสังคมลงไปครับ ส่วนฐานทางคลินิกนั้นจัดขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้สัมผัสกับงานของทันตแพทย์จริงๆเพื่อจะได้นำไปประเมิณได้ว่าตนเองมีความพร้อมหรือความชอบในวิชาชีพทันตแพทย์มากน้อยเพียงใด ในส่วนของ role model ในขณะนี้ได้มีการเชิญทันตแพทย์ซึ่งทำงานอยู่ทั้งใน รพช อาจารย์มหาวิทยาลัย และทันตแพทย์ทหาร มาร่วมกันถ่ายทอดประสบการณ์ ความประทับใจ การทำงานกับชุมชนของตนเพื่อนร่วมงาน การปฏิสัมพันธ์กับคนไข้และคุณค่าของทันตแพทย์ในแต่ละสาขาอาชีพ ให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับฟัง

ในการนำเสนอคณะทันตแพทย์แต่แห่งนั้นได้มีการจัดทำเป็นสมุดแล้วรวบรวมรายละเอียดของแต่ละคณะไว้ให้ศึกษาด้วยตนเองแล้ว การที่แบ่งเวลาให้นำเสนอมิได้มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบหรือแข่งขันและในคณะทำงานได้เคยอภิปรายพร้อมทั้งกำชับถึงประเด็นนี้แล้ว แต่เพราะมีรายละเอียดในบางมุมซึ่ง ไม่สามารถถ่ายทอดไว้ในหนังสือได้ เช่นสภาพบรรยากาศมหาวิทยาลัย หอพักนักศึกษา อาคารเรียน เป็นต้น ซึ่งจุดประสงค์คือต้องการให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้นำข้อมูลเหล่านี้ไปประกอบการตัดสินใจเลือกคณะที่เหมาะสมกับตนเองมากที่สุด ในการนำเสนอคณะทันตแพทย์แต่ละแห่งนี้จะนำเสนอให้เห็นในความหลากหลายของแต่ละสถาบันและสรุปในท้ายที่สุดว่าไม่ว่าจะเป็นสถาบันใดๆก็สามารถผลิตบัณฑิตทันตแพทย์ที่ได้มาตรฐานเช่นกัน เหมือนกับนำเสนอเมนูอาหารจีน ญี่ปุ่น ไทย เวียดนาม ซึ่งอิ่มท้องและมีคุณค่าทางอาหารเหมือน แต่ขึ้นอยู่กับว่าผู้บริโภคชอบรสชาติแบบใด มิได้ตัดสินว่าเมนูใดดีกว่ากัน

ในการจัดทำเชิง website เป็นแนวคิดที่น่าสนใจมากครับ เป็นประโยชน์ในการเข้าถึงนักเรียนเป็นวงกว้างและในทางเดียวกันก็เปิดโอกาศให้ทุกมหาวิทยาลัยมีส่วนร่วมด้วยกันอย่างทั่วถึง ขอบคุณท่านอาจารย์สำหรับ idea ที่จะเป็นประโยชน์ในการต่อยอดของโครงการนี้มากๆครับ จะนำแนวคิดนี้ไปปรึกษากับเพื่อนๆในเครือข่ายต่อไปครับ

(แทน) รศ. นิตย์ ทัศนิยม

เรียน ทุกท่าน

ก่อนอื่นต้องขอออกตัวว่าไม่ค่อยเข้าใจโครงการเท่าใดนัก ว่าต้องการจะจัดที่ไหน ถ้าไปจัดรวมกันที่เดียวก็น่าเสียดายว่าเด็กจะมีโอกาสเข้าร่วมได้น้อย อย่างไรก็ตามคิดว่าเป็นความคิดที่ดี ถ้าร่วมกันทำ เป็นผลงานของนิสิต/นักศึกษาแล้วต่างคนต่างนำไปใช้ในพื้นที่ของตัวเองก็น่าจะได้ประโยชน์มาก เพราะกิจกรรมเหล่านี้ทุกม.ทำอยู่แล้ว ประเด็นที่เป็นห่วง คิดว่าวัตถุประสงค์น่าจะต้องปรับให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย ที่เขียนมาดูว่าลึกเกินไป

นิตย์

-ผมเห็นด้วยกับอ.จรัญญาว่า โครงการนี้มีวั๖ถุประสงค์กว้างไป เราควรเน้นการสร้างpositive attitude ว่า วิชาชีพทันตแพทย์เพื่อสังคม ไม่จำเป็นต้องให้นร.หักพิมพ์ปาก อุดฟัน

สิ่งที่จะได้จากการทำกิจกรรมนี้คือ ตัวนศ.ทันตแพทย์ควรจะมีการปรับattitudeเพื่อสังคมของการให้

นร.มัธยมเป็นแค่เครื่องมือให้นศ.ทันตแพทย์มีจิตอาสาเพื่อสังคม

-กิจกรรมฐานสาธิตปฏิบัติการทางทันตกรรม

จัดนักเรียนผู้เข้าร่วมกิจกรรมออกเป็น 6 กลุ่ม เพื่อเดินเวียนศึกษาฐานปฏิบัติการทั้ง 6 ซึ่งได้แก่ ฐานวิทยาคลองรากฟัน ฐานทันตกรรมบูรณะ ฐานฟันปลอมถอดได้ ฐานฟันปลอมติดแน่น ฐานทัตกายวิภาคศาสตร์ และฐานฟันปลอมทั้งปาก โดยในแต่ฐานมีการจัดบอร์ดให้ความ

เราไม่ต้องจัดฐานพวกนี้ก็ได้ เราควรเปลี่ยนเปฯฐาน การ ฐานใจ(อารมณ์) และฐานคิด นำไปสู่ทันตแพทย์ที่มีจิตอาสาสู่สังคม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท