การจัดทำโครงการ


ตอบรับนโยบายโดยการทำโครงการ

ความสำคัญของโครงการ

โครงการเป็นกระบวนการที่เป็นระบบมีความต่อเนื่องสอดคล้องในการกำหนด และตัดสินใจล่วงหน้าสำหรับกิจกรรมในการฝึกอบรมและพัฒนา จะทำอะไร อย่างไร เมื่อใด ที่ใด และโดยใคร    การวางแผนโครงการฝึกอบรม   จะกำหนดและตัดสินใจล่วงหน้าเกี่ยวกับกิจกรรรมที่ต้องดำเนินการว่า   จะทำอะไร อย่างไร  เมื่อใด   ที่ไหน และใครเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ โดยกิจกรรมเหล่านั้นจะต้องเป็นกิจกรรมที่สร้างเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เข้ากรับการฝึกอบรมได้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในทางที่ต้องการ และในทิศทางที่พึงปรารถนา หรือเป็นกระบวนการเพื่อเป็นกรอบกำหนดทิศทางและวิธีการในการดำเนินงานฝึกอบรม เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดขึ้น ภายในระยะเวลาที่กำหนดและภายในทรัพยากรที่มีอยู่ (เทียนฉาย  กีระนันทน์, 2530 : 1-2)
 
           ประโยชน์ของโครงการ/การวางแผนโครงการ    จะมีประโยชน์ต่อการฝึกอบรมในด้านต่าง ๆ ดังนี้ คือ
  1. แผนหรือโครงการจะช่วยในการพิจารณาทางเลือกที่ดีและเหมาะสมที่สุด
  2. แผนช่วยให้สามารถดำเนินการฝึกอบรมได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่า
  3. ช่วยให้ผู้บริหารมีเครื่องมือในการตัดสินใจ   ดำเนินการ  สั่งการ ควบคุมและกำกับการดำเนินการ ตคลอดจนตรวจสอบผลการปฏิบัติงานด้วย ทำให้เกิดความมั่นใจในการบริหาร
  4. แผนช่วยให้ความผิดพลาดในการทำงานน้อยลง
  5. แผนช่วยลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนกัน และการผลักภาระของงาน
  6. แผนช่วยลดการไม่ประสานงานกันช่วยให้บุคลากรผู้เกี่ยวข้องร่วมมือกันทำงานอย่างมีระบบและเกิดประสิทธิผล
  7. แผนช่วยควบคุมสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เป็นไปตามที่ต้องการ
          ลักษณะของโครงการฝึกอบรมที่ดี   ควรจะมีองค์ประกอบดังนี้
  1. บรรยายได้ถึงสภาพและความจำเป็นของสถานการณ์ที่ทำให้เกิดโครงการฝึกอบรมขึ้น   โดยเป็นการระบุถึงปัญหาหรือความจำเป็นในการฝึกอบรม  
  2. วัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและสามารถบรรลุสำเร็จได้   เป็นการชี้ชัดถึงสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อเสร็จสิ้นการฝึกอบรม ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าควรจะเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมอันอำนวยประโยชน์แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม และองค์กร/สังคม
  3. รายการกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นไปได้ในการดำเนินงานเพื่อที่จะให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะต้องมีความยืดหยุ่นคือสามารถปรับให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้
  4. แนวทางและวิธีการประเมินผล   โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทราบถึงความสำเร็จของการดำเนินการ

องค์ประกอบของโครงการ

รูปแบบ (format) ของโครงการฝึกอบรมที่ใช้กันทั่วไป   จะมีโครงสร้างดังนี้ คือ

  1. ชื่อโครงการ

  2. หลักการและเหตุผล

  3. วัตถุประสงค์

  4. หลักสูตรในการฝึกอบรม

  5. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม

  6. จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม

  7. สถานที่ฝึกอบรม

  8. ระยะเวลาในการฝึกอบรม

  9. เทคนิคหรือวิธีการฝึกอบรม

  10. วิทยากรในการฝึกอบรม

  11. งบประมาณในการฝึกอบรม

  12. การประเมินผลการฝึกอบรม

  13. การมอบประกาศนียบัตร/วุฒิบัตร

  14. หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการฝึกอบรม

  15. รายนามคณะทำงาน

ขั้นตอนการดำเนินการ

1.วิเคราะห์ความต้องการในการฝึกอบรม

2.การวางโครงการในการฝึกอบรม

3.เสนอโครงการเพื่อขอรับความคิดเห็นจากผู้บังคับบัญชา

4.การดำเนินการฝึกอบรม

5.การประเมินผลการอบรม

6.การติดตามผล

  เอาไว้เรียนรู้เพิ่มเติมเสริมกับที่อาจารย์สอนในชั้นเรียนได้ไม่มากก็น้อยจะแนะนำอะไรเพิ่มก็ยินดี 

 

 

หมายเลขบันทึก: 284393เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2009 22:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 19:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท