บริจาคเงินไปทอดเทียนพรรษา ผมเป็นเจ้าหน้าที่ทำแบบนี้ผิดหรือเปล่า???


วันนี้อาจจะเป็นอีกหนึ่งครั้งที่ผมนอกกรอบแบบหากรอบไม่ได้อีกแล้ว แต่ด้วยศรัทธาผมจึงกล้าที่จะนอกมันออกไป

                ผมคงไม่ใช่นักบันทึกที่ดีเท่าไหร่นัก เพราะตั้งแต่เรียนจบ ผมเองก็ผละออกจากโลกภายนอกเข้าวัดไปเดือนกว่าๆ และเมื่อกลับมาสู่เส้นทางกิจกรรมอีกครั้งก็ปรับเปลี่ยนสถานะการทำงาน จากการเป็นเพียงนิสิตก็รู้สึกจะเติบใหญ่ขึ้นเป็นเจ้าหน้าที่ไปซะแล้ว แต่ก็ยังดีที่คงอยู่กับการทำกิจกรรมอยู่เหมือนเดิม  เพียงแต่กลุ่มไหล ของเราตอนนี้ต่างฝ่ายต่างก็แยกย้ายกันไปตามวิถีแห่งชีวิตตนเองยังคงไม่หวนกลับมาเป็นกลุ่มก้อนได้เหมือนดังแต่ก่อน

                อย่างไรก็ดีหลังจากที่ผมพยายามคิดหาแนวทางที่ว่าเราจะทำอย่างไรให้การทำงานนั้นเป็นธรรมชาติกับอัตลักษณ์ของตัวเองมากที่สุด บอสส (พี่พนัส) ก็พยายามเต็มที่ในการคิดหารูปแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับสังคม (จนเครียด) แล้วก็มีแนวความคิดเรื่องทอดเทียนในเทศกาลเข้าพรรษา ซึ่งจุดประสงค์หลักของงานนี้มี หลักใหญ่ๆอยู่ว่า เป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวันแม่แห่งชาติ และเป็นการสืบทอดประเพณีอีสานในการทอดเทียนระหว่างช่วงพรรษา พร้อมกับการปลูกฝังให้นิสิตได้เป็น ลูกในบ้าน  ว่านในสวน  ของชุมชน

                ผมเองก็พยายามเต็มที่ในการสรรหาเงินต้นทุนให้กับองค์กรต่างๆที่พร้อมกันไปทอดเทียนในพรรษากว่า 19 องค์กร  เป็นเงินตั้งต้น องค์กรละ 1,500 บาท โดยหลักๆเป็นส่วนของสโมสรนิสิต  องค์การนิสิต สภา  แล้วก็กลุ่ม  ชมรมต่างๆ  แล้วทุกคนก็ร่วมกันจัดหางบประมาณเพิ่มเติมกันเองตามวิถีของกิจกรรม  มมส  (ขอรับบริจาค)  แต่ในส่วนของผมเองนั้นก็วางไว้ว่าเราจะยกบุคลากรของงานกองกิจ และผู้ที่สนใจทั้งหมดไปร่วมกันถวายเทียนที่วัดกู่แก้ว ด้วยการตั้งโจทย์ให้กับตัวเองว่าจะไม่มีเงินตั้งต้นเลยสักบาท  ซ้ำยังจะหาเพิ่มให้กับองค์กรนิสิตที่สนใจแต่ทุนทรัพย์ไม่พออีกต่างหาก  จึงเกิดการตั้งต้นผ้าป่า ขอรับบริจาคทุนทรัพย์จากผู้มีจิตศรัทธาขึ้น ภายกองกิจการนิสิตก่อน

                ช่วงแรก บอสสพนัสเราก็เปิดโปรโมชั่นด้วยการแจกหนังสือ เรียนนอกฤดู ผลงานการเขียนของท่านเอง ให้เป็นที่ระลึกกับผู้ที่บริจาคเกิน 50 บาทขึ้นไปสำหรับคนกองกิจ พร้อมกับ นำต้นผ้าป่าไปรบกวนบอกบุญ ยังกลุ่ม  นบก.รุ่น1-3 โดยยังให้หนังสือเป็นที่ระลึกเหมือนเดิมแต่ขอเพิ่มค่าตั้งต้นเป็นคนละ 100 บาทขึ้นไป (ขอหักค่าต้นทุน 50 บาท จากราคาขาย 100) รวมแล้วครั้งนี้เราได้ยอดเงินบริจาค กว่า 2,800  บาท

                เท่านั้นคงยังไม่พอเท่าไหร่สำหรับวิถีที่เราเคยทำมา เราจึงใช้วิธีการแบบพื้นบ้านและเรียบง่ายท่ามกลางสายฝนที่ผิวแผ่วลงมาให้ความชุ่มฉ่ำตลอดสายด้วยการ ขับลำ เป็นกลอนยาว ขอรับบบริจาคกับชาวตลอดน้อย (ชุมชนแห่งการพึ่งพาของเรา)  ด้วยทีมงานที่ผมเองพยายามชักชวนน้องๆนิสิตมาด้วยใจที่บริสุทธ์ในการทำงาน  เพียงแค่ เวลาสามสิบกว่านาที ที่เราเดินร้องลำอยู่ในตลอดน้อยแห่งนี้  ทั้ง พ่อค้า แม่ขาย  หญิงชายชาวนิสิต มมส ก็ร่วมกันทุ่งเทพลังศรัทธาผ่านสายฟ้าฝน เป็นเงินกว่า 3,050 บาท  

Dsc_0429 

เตรียมตัวก่อนไปรับบริจาค (ไหว้อ้อยอครู)

Dsc_0436 
ทีมงานขอรับบริจาค (กลุ่มไหลบางส่วน)

Dsc_0439 

เงินเยน

                ผมเองก็ทั้งร้องทั้งเล่นอยู่กับพวกเขาตั้งแต่ต้นจนจบโดยก็ไม่ได้รู้หรอกว่าการขอรับบริจาคในครั้งนี้มันสมควรไหม ? แต่ที่ผมทำทั้งหมดก็เพียงเพราะว่าใจที่รักในการทำแบบนี้มาตั้งแต่ไหนแต่ไรมา  หากเป็นการได้ร่วมทุกข์สุขกับเหล่านิสิตที่เป็นน้องๆที่เคยร่วมกันทำงานมา ผมว่านี่ก็เป็นอีกหนึ่งบทเรียนที่ผมเองภูมิใจในการเป็นนิสิตมาก่อน  ไม่ได้มัวนั่งห่วงภาพพจน์ของตัวเองเท่าใดนัก  วันนี้อาจจะเป็นอีกหนึ่งครั้งที่ผมนอกกรอบแบบหากรอบไม่ได้อีกแล้ว แต่ด้วยศรัทธาผมจึงกล้าที่จะนอกมันออกไป  ขอขอบคุณทุกท่านที่ยังคงเรียกผมว่าโฆษกนักขออยู่เหมือนเดิม  และผมก็ยงเป็นขุนแผ่นดินเย็นที่ยังให้บอสสต้องชี้นำอยู่เหมือนเดิม  ทั้งๆที่น่าจะชี้ชัดตัวเองได้แล้ว

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 283358เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2009 11:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับ ขุนแผ่นดินเย็น

เยี่ยมมากครับ ท่านหัวหน้างาน

เป็นกิจกรรมที่ดีครับ

เป็นกำลังใจ ให้นะครับ

เรื่องบางเรื่อง...ก็ไม่ได้หมายความว่าให้เราต้องลงมือเอง..
เราต้องนึกว่า ตอนนี้ ตัวเองมีอะไรเป็นเครื่องมือบ้าง..
นิสิต สามารถทำแทนเราได้  เราก็ต้องสวมบทบาทเหมือนที่พี่เคยทำ คือ ดูแล ติดตาม..และอยู่ข้างๆ ในยามลงพื้นที่

การเป็นเจ้าหน้าที่ใหม่  ย่อมได้เปรียบคนแก่ชราก็ตรงมีน้องนุ่งเป็นเพื่อนผู้ร่วมชะตากรรม  สิ่งนี้เราต้องพิสูจน์ ว่าเรามี...และมีอยู่จริง...พวกเขาไม่ใช่คนของเรา แต่เป็นผู้ร่วมชะตากรรม...เป็นคนที่เราต้องสร้างเรื่อง "จิตอาสา" ...

แท้ที่จริงแล้ว...พี่ก็ไม่ได้หมายความว่าให้เราต้องถอดหัวโขนไปทำเช่นนั้นเสียทั้งหมด  แต่กำลังดูว่า  ในฐานะเจ้าหน้าที่นั้น  เรามีมุมคิดและพลังเคลื่อนได้มากแค่ไหน...เพียงใจนำพา..ศรัทธานำทาง...(หรือยัง)

....

กรณี หนังสือนั้น
มันเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สร้างมา โดยคิดล่วงหน้าแล้วว่า จะนำมาใช้ในเทศกาลต่างๆ ...
สำหรับ จนท.ในองค์กร  ไม่มีความจำเป็นต้องหักต้นทุนใดๆ..
แต่สำหรับ จนท.นอกองค์กร  จำเป็นต้องหักค่าต้นฉบับ  เพราะคนละกลุ่มเป้าหมายเท่านั้นเอง

จากนี้ไป ..
หากต้องนำหนังสือเล่มนี้ไปเป็นเครื่องมือแก่นิสิต...ใครบริจาคมากกว่า 50 บาทขึ้นไป  ก็แจกหนังสือนี้เป็นที่ระลุกแก่พวกเขา ก็ถือว่าเป็นเรื่องไม่เสียหาย  อย่างน้อย เขาควักเงินเพิ่มขึ้นจากที่นิยมบริจาค 20 มาเป็น 50-70 บาทแล้ว ได้หนังสือไปอ่านสักเล่ม พี่ว่าคุ้มสุดคุ้ม

อย่างน้อยก็ได้อ่านเรื่องของตัวเอง...
บางครั้ง เราซื้อกาแฟดื่มในแต่ละวัน-เหล้าปั้นในแต่ละเหยือก  มันก็ยังแพงกว่าหนังสือที่แจกและขายเลยด้วยซ้ำไป

....

นักกิจกรรม กับนักกิจการ..มันต่างกันเยอะเลย
มีต้นทุนอยู่ในตัว...ต้องใช้ให้คุ้ม...
เรียนรู้ตอนนี้อย่างสุดชีวิต คือสิ่งที่ดีที่สุด  เพราะหากอะไรพลิกผัน ...ตัวเอง จะได้ยืนได้ด้วยตัวเอง

เพราะพี่ๆ ..ก็คงดูแลพวกเราได้ไม่นาน นักหรอก

มาเป็นกำลังใจให้น้องรัก

สู้ ๆ ให้สูเจ้าสู้ต่อไป

 

เปะที่สุด

ถ้าเป็นนู๋นะ

คงป่วงอีกนาน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท