นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา


นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

1. ประเภทของการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสาระสนเทศเพื่อการศึกษาควรให้ ความสำคัญนวัตกรรมฯประเภทใด เพราะเหตุใด

การจำแนก นวัตกรรม อาจจำแนกได้ดังนี้
1. จำแนกตามผู้ใช้ประโยชน์โดยตรง ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อยๆคือ
1 สื่อสำหรับครู ได้แก่ แผนการสอน คู่มือครู เอกสารประกอบการสอน ชุดการสอน
(สื่อประสม) หนังสืออ้างอิง เครื่องมือวัดผล อุปกรณ์โสตทัศนวัสดุ
2 สื่อสำหรับนักเรียน ได้แก่ บทเรียนสำเร็จรูป เอกสารประกอบการเรียนการสอน ชุดฝึกปฏิบัติ
ใบงาน แบบฝึก หนังสือเสริมประสบกาณ์ ชุดเพลง ชุดเกม การ์ตูนเรื่อง
2. จำแนกตามลักษณะของนวัตกรรม แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
1. ประเภทเทคนิควิธีการหรือกิจกรรม เช่น บทบาทสมมุติ การสอนเป็นคณะ การสอนแบบศูนย์การเรียน การเรียนเพื่อการรอบรู้ การสอนโดยใช้พี่เลี้ยง การเรียนตามความสามารถ การศึกษาเป็นรายบุคคล รูปแบบการฝึกทักษะการทำงานกลุ่ม การสอนความคิดรวบยอดด้วยวิธีสอนอุปนัยและนิรนัย เป็นต้น
2. ประเภทสื่อการเรียนการสอน เช่น บทเรียนสำเร็จรูป ชุดการสอน ชุดสื่อประสม บทเรียนโมดูล วิดีทัศน์ สไลด์ประกอบเสียง แผ่นโปร่งใส เกม เพลง ใบงาน บทเรียนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นต้นหลักในการเลือกนวัตกรรม
ในการพิจารณาว่านวัตกรรมใดสามารถนำมาแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม ครูผู้สอนจำเป็นจะต้องศึกษาหาความรู้ในเรื่องต่อไปนี้
1. หลักจิตวิทยาการเรียนรู้ เพื่อช่วยให้สามารถเลือกนวัตกรรมมาใช้ได้สอดคล้องกับความสนใจและธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้เรียนในแต่ละวัย
2. ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฏีและหลักการสอน เพื่อนำมาเป็นตัวกำหนดเกี่ยวกับเทคนิควิธี กิจกรรม หรือสื่อการเรียนการสอนได้สอดคล้องกับธรรมชาติของวิชา
3. ศึกษาชนิดและประเภทของนวัตกรรม เพื่อให้สามารถเลือกใช้ได้สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่ต้องกา
รแก้ไข

2.รูปแบบการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาแบ่งได้กี่แบบ แต่ละรูปแบบมีข้อดีและข้อจำกัดอย่างไร

 นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร

 

นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เป็นการใช้วิธีการใหม่ๆ ในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและตอบสนองความต้องการสอนบุคคลให้มากขึ้น เนื่องจากหลักสูตรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลก นอกจากนี้การพัฒนาหลักสูตรยังมีความจำเป็นที่จะต้องอยู่บนฐานของแนวคิดทฤษฎีและปรัชญาทางการจัดการสัมมนาอีกด้วย การพัฒนาหลักสูตรตามหลักการและวิธีการดังกล่าวต้องอาศัยแนวคิดและวิธีการ

ใหม่ๆ ที่เป็นนวัตกรรมการศึกษาเข้ามาช่วยเหลือจัดการให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการนวัตกรรมทางด้านหลักสูตรในประเทศไทย ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรดังต่อไปนี้

 

1 หลักสูตรบูรณาการ เป็นการบูรณาการส่วนประกอบของหลักสูตรเข้าด้วยกันทางด้านวิทยาการในสาขาต่างๆ การศึกษาทางด้านจริยธรรมและสังคม โดยมุ่งให้ผู้เรียนเป็นคนดีสามารถใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ในสาขาต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาพสังคมอย่างมีจริยธรรม

2 หลักสูตรรายบุคคล เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการศึกษาตามอัตภาพ เพื่อตอบสนองแนวความคิดในการจัดการศึกษารายบุคคล ซึ่งจะต้องออกแบบระบบเพื่อรองรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านต่างๆ

3 หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์ เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้น

กระบวนการในการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ เช่นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในบทเรียน ประสบการณ์การเรียนรู้จากการสืบค้นด้วยตนเอง เป็นต้น

 

4 หลักสูตรท้องถิ่น เป็นการพัฒนาหลักสูตรที่ต้องการกระจายการบริหารจัดการออกสู่ท้องถิ่นเพื่อให้สอดคล้องกับศิลปวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและความ เป็นอยู่ของประชาชนที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่น แทนที่หลักสูตรในแบบเดิมที่ใช้วิธีการรวมศูนย์การพัฒนาอยู่ในส่วนกลางนวัตกรรมการเรียนการสอน

เป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองการเรียนรายบุคคล การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนแบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา การพัฒนาวิธีสอนจำเป็นต้องอาศัยวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาจัดการและสนับสนุนการเรียนการสอน ตัวอย่างนวัตกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่ การสอนแบบศูนย์การ

เรียน การใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ การสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน และการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต การวิจัยในชั้นเรียน ฯลฯ

 

 

นวัตกรรมสื่อการสอน

 

เนื่องจากมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครือข่ายและเทคโนโลยีโทรคมนาคม ทำให้นักการศึกษาพยายามนำศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ จำนวนมากมาย ทั้งการเรียนด้วยตนเองการเรียนเป็นกลุ่มและการเรียนแบบมวลชน ตลอดจนสื่อที่ใช้เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรม ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

 

ตัวอย่าง นวัตกรรมสื่อการสอน ได้แก่ <!--[if !supportLineBreakNewLine]-->

 

- คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)

 

- มัลติมีเดีย (Multimedia)

 

- การประชุมทางไกล (Teleconference)

 

- ชุดการสอน (Instructional Module)

 

- วีดิทัศน์แบบมีปฎิสัมพันธ์ (Interactive Video)

 

<!--[if !vml]--><!--[endif]-->การเรียนการสอนโดยใช้สื่อประสม กับผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อย

 

 

http://www.geun.net/

http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/it1.htm

http://www.thaiedunet.com/multimedia/

http://www.colorado.edu/physics/2000/applets_ST.html

 

 

นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล

 

เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการวิจัยทางการศึกษา การวิจัยสถาบัน ด้วยการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาสนับสนุนการวัดผล ประเมินผลของสถานศึกษา ครู อาจารย์ตัวอย่าง นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล ได้แก่  การพัฒนาคลังข้อสอบ การลงทะเบียนผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต  การใช้บัตรสมาร์ทการ์ด เพื่อการใช้บริการของสถาบันศึกษา การใช้คอมพิวเตอร์ในการตัดเกรด ขาดบุคลากรที่มีความชำนาญด้านการออกแบบระบบและการพัฒนาเครือข่ายซึ่งต้องอาศัยระยะเวลาอีกช่วงหนึ่งที่จะพัฒนาระบบให้เหมาะสมกับการใช้งานในสถาบัน

 

http://www.ceted.org/course/english/WebEnglish/login.php

 

นวัตกรรมการบริหารจัดการ

 

เป็นการใช้นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ เพื่อการตัดสินใจของผู้บริหารการศึกษาให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก นวัตกรรมการศึกษาที่นำมาใช้ทางด้านการบริหารจะเกี่ยวข้องกับระบบการจัดการฐานข้อมูลในหน่วยงานสถานศึกษา เช่น ฐานข้อมูล นักเรียน นักศึกษา ฐานข้อมูล คณะอาจารย์และบุคลากร ในสถานศึกษา ด้านการเงิน บัญชี พัสดุ และครุภัณฑ์ ฐานข้อมูลเหล่านี้ต้องการ

ออกระบบที่สมบูรณ์มีความปลอดภัยของข้อมูลสูง นอกจากนี้ยังมีความเกี่ยวข้องกับสารสนเทศภายนอกหน่วยงาน เช่น ระเบียบปฏิบัติ กฎหมาย พระราชบัญญัติ ที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา ซึ่งจะต้องมีการอบรม เก็บรักษาและออกแบบระบบการสืบค้นที่ดีพอซึ่งผู้บริหารสามารถสืบค้นข้อมูลมาใช้งานได้ทันทีตลอดเวลาการใช้นวัตกรรมแต่ละด้านอาจมีการผสมผสานที่ซ้อน

ทับกันในบางเรื่อง ซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนาร่วมกันไปพร้อมๆ กันหลายด้าน การพัฒนาฐานข้อมูลอาจต้องทำเป็นกลุ่มเพื่อให้สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ที่มา : http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php?

 

ที่มา http://bunsri28.blogspot.com/2008/02/blog-post_6513.html

  

3. ทำไมครู...จึงต้องเรียนรู้เรื่องการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาเพราะเหตุใด

 

 

 

 

เพราะว่าปัจจุบันนี้ครูเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญสำหรับนักเรียน  ซึ่งมีหน้าที่ในการอบรมสั่งสอนและจัดประสบการณ์การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ให้กับผู้เรียน เพื่อเป็นทรัพยากรที่มีค่าของสังคม และประเทศชาติ  จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้เท่าทันการเปลี่ยนในสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น   การเรียนรู้ในปัจจุบัน   ที่เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ มีความเจริญรุดหน้า  การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จะไม่ถูกจำกัดอยู่เฉพาะแต่ในห้องเรียนและครูเท่านั้น เพราะจะมีช่องทางในการเรียนรู้ได้หลายช่องทาง หลายวิธี โดยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย  ครูจึงต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ และนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา เป็นความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ ซึ่งนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญในแต่ละวงการจะมีการคิดและทำสิ่งใหม่อยู่เสมอ ดังนั้นนวัตกรรมจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ได้เรื่อยๆ สิ่งใดที่คิดและทำมานานแล้ว ก็ถือว่าหมดความเป็นนวัตกรรมไป โดยจะมีสิ่งใหม่มาแทนในวงการศึกษาปัจจุบัน มีสิ่งที่เรียกว่านวัตกรรมทางการศึกษา หรือนวัตกรรมการเรียนการสอน อยู่เป็นจำนวนมาก บางอย่างเกิดขึ้นใหม่ บางอย่างมีการใช้มาหลายสิบปีแล้ว แต่ก็ยังคงถือว่าเป็น นวัตกรรม เนื่องจากนวัตกรรมเหล่านั้นยังไม่แพร่หลายเป็นที่รู้จักทั่วไป ในวงการศึกษา

คำสำคัญ (Tags): #ศศิธร
หมายเลขบันทึก: 283275เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2009 08:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2012 10:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท