ทุนมนุษย์ 2020 : CSR เพื่อการบริหาร เจ้านาย


ทุนมนุษย์ 2020 : CSR เพื่อการบริหาร เจ้านาย

ทุนมนุษย์ 2020 : CSR เพื่อการบริหาร เจ้านาย

 

จั่วหัวแบบนี้ อาจสงสัยว่า เป็น CSR เดียวกับ Corporate Social Responsibility หรือ เปล่า เพราะไม่เคยได้ยินว่าเกี่ยวกัน คำตอบคือ ใช่

ผมไปได้ไอเดียนี้จาก งานสัมมนา เข็มทิศธุรกิจเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility Guidelindes) เมื่อต้นสัปดาห์ก่อน ที่จัดโดย คณะทำงานส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัทจดทะเบียน ก.ล.ต.

ไอเดียนั้น มีอยู่ว่า เรื่อง ซีเอสอาร์ เป็นเรื่องสั่งการลงไป” (Top Down) หรือ เสนอขึ้นมา”(Bottom Down) กันแน่

คำตอบก็น่าจะเป็นทั้ง "สองทาง" อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น ซีเอสอาร์ หรือเรื่องใดๆ แต่ทิศทางการนำเสนอ หรือจูงใจส่วนใหญ่จะพุ่งเป้าไปที่ ผู้นำองค์กร เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของซีเอสอาร์

โดยเชื่อว่าหากผู้นำไม่เล่นด้วย ก็เกิดขึ้นไม่ได้ ผลที่ตามมาก็คือซีเอสอาร์ กลายเป็นเรื่อง สั่งการลงไป

ต้องยอมรับว่า คนที่เป็นผู้นำ หรือผู้บริหารนั้นจะต้องสนใจเรื่อง ซีเอสอาร์ มากกว่าคนเป็นลูกน้องหรือพนักงานทั่วไปอยู่แล้ว แม้ทั้งสองฝ่ายจะคิดว่าตนเองมีหน้าที่ทำเพื่อบริษัทเหมือนกัน

แต่คนระดับล่างย่อมต้องคิดถึงเรื่องการทำงานประจำ ให้ดีที่สุดเสียก่อน ซึ่งเขาย่อมถือว่าเป็นเรื่องดีกับบริษัทเช่นกัน ในขณะที่ผู้นำย่อมมองเรื่องที่ไกลกว่างานประจำ จึงสามารถสมาทานซีเอสอาร์ ได้มากกว่า

คนที่เป็นลูกน้องหรือพนักงานนอกจากจะไม่ค่อยอยากจะใส่ใจเรื่อง ซีเอสอาร์แล้ว ยัง อาจจะรู้สึกเป็นภาระเสียด้วยซ้ำ เพราะซีเอสอาร์ มักจะต้องมีเรื่องของการ "ออกแรง" โดยสมัครใจ

ของพนักงานเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่แล้ว โดยไม่มี รายได้เพิ่มขึ้นจากจุดนี้ ยิ่งเป็น ซีเอสอาร์ ที่เจ้านายสั่งลงมายิ่งรู้สึกฝืนใจมากยิ่งขึ้น

ดังนั้นลูกน้องน่าจะสบายใจมากกว่าหาก เจ้านายไม่ปิ๊งซีเอสอาร์ ขึ้นมา จะได้ไม่เสียทั้งเงิน ทั้งแรง ทั้งเวลา

คุณมัชฌิมา กุญชร ณ อยุธยา วิทยากรท่านหนึ่งของงานนี้ เฉลยให้ ให้ฟังว่า หากองค์กรไหน ผู้นำไม่คิดเรื่องซีเอสอาร์ ก็เป็นหน้าที่ของพนักงานนั่นเองที่จะต้องเสนอขึ้นไป

เหตุผลนั้นมีอยู่ว่า เพราะในที่สุดแล้ว กุศลผลบุญ จะย้อนกลับมาหาพนักงานนั่นเอง

ยกตัวอย่างเช่น หากเจ้านายไปบริจาคเงินช่วยเหลือเด็กเรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ แล้วพบว่า เด็กคนนั้น เป็นบุตรของพนักงานบริษัท เจ้าของกิจการก็อาจจะฉุกคิดที่จะหันกลับมาดูผลตอบแทนของพนักงานบริษัทนั่นเอง

ผมเห็นว่ามีสามประเด็นเป็นอย่างน้อยที่สนับสนุนเรื่องนี้

หนึ่ง ใช้ ซีเอสอาร์ พูดแทนตัวพนักงาน

เป็นการยากที่จะให้พนักงานในฐานะ ปัจเจกชนไปบอกให้ผู้นำองค์กร "ทำดี" กับตนเอง แต่ ซีเอสอาร์ ทำหน้าที่นี้ได้โดยไม่ขัดเขิน

เพราะเอาแค่ Corporate Social Responsibility Guidelindes ซึ่งมีหัวข้อหลักอยู่แปดข้อ ก็มีอยู่ข้อหนึ่งที่ระบุถึงการเคารพสิทธิมนุษยชน และการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรมโดยมีหลักการว่า

การเคารพสิทธิมนุษยชนเป็นรากฐานของการพัฒนาทรัพยากรบุคคล อันมีส่วนสัมพันธ์กับธุรกิจในลักษณะการเพิ่มมูลค่า และทรัพยากรบุคคลนับเป็นปัจจัยสำคัญของธุรกิจในการสร้างมูลค่าเพิ่มและเพิ่มผลผลิต ดังนั้น ธุรกิจควรปรับปรุงสภาพแวดล้อมและเงื่อนไขในการทำงาน ให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตที่ดี และได้มีโอกาสแสดงศักยภาพ ตลอดจนได้รับโอกาสในการฝึกฝนและเพิ่มพูนทักษะในการทำงาน

จากหลักการก็ไปถึงแนวปฏิบัติอีก 8 ข้อ ที่ล้วนแต่ "เข้าทาง" คนเป็นลูกจ้างทั้งสิ้น เช่น การจัดระบบการทำงานที่มุ่งเน้นความปลอดภัยและสุขอนามัย การจัดให้มีเงื่อนไขการจ้างงานที่เป็นธรรมสำหรับพนักงาน การส่งเสริมให้พนักงานมีดุลยภาพในการใช้ชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว จัดให้มีนโยบายปกป้องพนักงาน ไม่กลั่นแกล้ง เคารพสิทธิในการแสดงความคิดเห็นของพนักงาน

สอง เป็นการดึง "ผู้นำองค์กร" ออกจากเป้าหมายหลักของการแสวงหาผลกำไรถ่ายเดียว ไปสู่เป้าหมายเชิงคุณค่า ซึ่งเป็นการลดแรงกดดันพนักงานไปในตัว และสาม กิจกรรม ซีเอสอาร์

เป็นการสร้างมิติแห่งความสัมพันธ์ในรูปแบบอื่นๆ นอกเหนือจาก ผู้บริหาร-พนักงาน เช่น กิจกรรมปลูกป่า เจ้านายปลูกป่า ลูกน้องก็ปลูกป่าเหมือนกัน ไม่แตกต่างกันมาก

เป็นการลด "อัตตา" ของผู้บริหารลงมา ส่วนลูกน้องก็มอง เจ้านาย เป็นมนุษย์มากยิ่งขึ้น เกิดเป็นความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นมา

อย่าให้แต่ เจ้านาย อ่านเรื่อง ซีเอสอาร์คุณควรจะอ่านด้วย

 

ที่มา : www.bangkokbiznews.com

หมายเลขบันทึก: 283142เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2009 20:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

มาเยี่ยมชมผลงานและหาความรู้จ้ะน้อง

ลูกน้องกับเจ้านาย

สัมพันธ์กัน

เหมาะเจาะลงตัว

มีแต่ความสบายใจนะคะ

จะทดลองนำไปใช้กับเจ้านายที่โรงเรียน

การทำงานร่วมกับเจ้านายเป็นการเรียนรู้ที่ดีที่สุดเพราะเรียนกับผู้รู้เราสามารถนำไปปฏิบัติได้เลบจริงไหม...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท