Rain
นางสาว วารุณี จิรัญเวทย์

การประเมินผลการเรียนรู้แนวใหม่


พ่อแม่คือผู้ที่ประเสริฐ

คณะครุศาสตรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีนโยบายส่งเสริมให้คณาจารย์จัดทำหนังสือเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา  ภาควิชาวิจัยการศึกษาในฐานะหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านการวิจัย การวัดและการประเมินผลการศึกษา จึงได้จัดทำหนังสือรวมบทความในส่วนที่เกี่ยวกับ การประเมินผลการเรียนรู้แนวใหม่

เนื่องจากนับแต่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 เป็นต้นมา แนวทางการจัดการจัดการเรียนการสอนได้เปลี่ยนไปจากเดิมอย่างมาก โดยเฉพาะการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่สุดส่งผลกระทบต่อแนวทางการประเมินผู้เรียนด้วย ดังนั้นหนังสือรวมบทความนี้จะให้สาระที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานด้านการวัดและประเมินผู้เรียนตามแนวทางการปฏิรูปการเรียนรู้ ตามมุมมองของนักวิชาการด้านการวัดและประเมินผลและเป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542   ขั้นตอนการจัดทำหนังสือรวมบทความนี้  บรรณาธิการได้แถลงไว้ว่า ได้มีการกำหนดโครงสร้างและสาระในกลุ่มผู้จัดทำหนังสือร่วมกัน   และคัดเลือกบุคคลที่มีความชำนาญในเนื้อหาแต่ละบทมาร่วมกันเขียน จากนั้นมีการวิพากษ์เนื้อหาแต่ละส่วน และมีการปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาเพื่อให้มีความสอดคล้องกลมกลืนกันตลอดเล่ม  ทั้งนี้สามารถแบ่งเนื้อหาที่นำเสนอเป็น 3 ส่วน เริ่มจาก

ส่วนที่ 1  แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการประเมินผลการเรียนรู้ 

ส่วนที่ 2   เทคนิควิธีการประเมินการเรียนรู้  แสดงสาระเกี่ยวกับเทคนิคการประเมินตามตัวบ่งชี้ประเภทต่างๆโดยที่นโยบายการจัดการศึกษาตามแนวปฏิรูปการศึกษาต้องสนองความต้องการและความถนัดของผู้เรียน เน้นการพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพและตามความแตกต่างระหว่างบุคคล  ตลอดจนให้ความสำคัญกับการประเมินด้วยวิธีการหลากหลาย

ส่วนที่ 3  กล่าวถึงเนื้อหาเกี่ยวกับการรายงานผลการเรียนรู้  เกี่ยวกับการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลการเรียนรู้   การนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการตัดสินผลการเรียนรู้ จนถึงขั้นตอนการรายงานผลการเรียนรู้  การนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการตัดสินผลการเรียนรู้  จนถึงขั้นการรายงานผลการเรียนรู้

          ดังนั้นการวัดและประเมินจึงต้องใช้วิธีการที่หลากหลายเน้นการปฏิบัติให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสาระการเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน และสามารถดำเนินการอย่างต่อเนื่องควบคู่ไปในกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน(กระทรวงศึกษาธิการ : หน้า 24 )

ทั้งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542  และ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 ทำให้เกิดมิติใหม่ของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่แตกต่างจากเดิมอย่างมาก  ทั้งทำให้เกิดความหลากหลายในทางปฏิบัติ ซึ่งผู้ปฏิบัติหากไม่ชัดเจนในหลักวิชาการการวัดและประเมิน ก็อาจเกิดความผิดพลาดได้โดยง่าย

ในที่นี้รวมบทความส่วนที่ 1 สามารถให้คำตอบที่ชัดเจนได้เป็นอย่างดี        ตั้งแต่บทความของอาจารย์ ศิริชัย   กาญจนวาสี   ซึ่งรวบรวมหลักวิชาการวัดและประเมินผลมาไว้อย่างสั้นๆและตรงกับหลักการที่ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542  และ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 กำหนดไว้คือ 

1.             กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้

2.             นโยบายการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่ผ่านความเห็นชอบผู้บริหารการศึกษาระดับสูง และฉันทามติจากประชาคมทางการศึกษา

3.             ระบบการวัดและประเมินการเรียนรู้ที่เที่ยงธรรมโปร่งใส

4.             การวัดและประเมินถือเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน  ต้องทำอย่างต่อเนื่อง ทั้ง ก่อน ระหว่าง และ หลัง การเรียนการสอนสิ้นสุดลง

5.             การวัดและประเมินเป็นไปเพื่อการพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ

6.             การวัดและประเมินจะต้องครอบคลุมทั้งสถานภาพและความก้าวหน้าด้านความรู้/ทักษะพัฒนาการของผู้เรียนและคุณธรรม

7.             ผู้รับผิดชอบด้านการวัดและประเมินผลต้องมีความรู้และเชี่ยวชาญด้านการวัดและประเมินทางการศึกษา

8.             ผลจากการประเมินจะต้องใช้เป็นสารสนเทศ สำหรับติดตามกำกับสนับสนุนและพัฒนาการเรียนรู้ พัฒนาการเรียนการสอน และพัฒนาคุณภาพการศึกษา

บทความนี้จึงมีสาระสำคัญที่ครอบคลุมหลักการวิชาการวัดและการประเมินตามแนวการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างชัดเจน ทั้งครอบคลุมตั้งแต่ระดับการเรียนการสอนในชั้นเรียนหรือระดับผู้เรียนรายบุคคล   ระดับสถานศึกษา   ระดับเขตพื้นที่การศึกษา  จนถึงระดับชาติ  ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจสามารถมองเห็นภาพรวมของการประเมินการศึกษาทั้งระบบที่เชื่อมโยงและสนับสนุนกันอยู่ และความเข้าใจที่เป็นเอกภาพเดียวกันนี้คือสิ่งจำเป็นที่สังคมปัจจุบันต้องการ เพราะท่ามกลางความหลากหลายของการปฏิบัติ จำเป็นต้องมีเอกภาพร่วมกันอยู่ในเชิงนโยบาย

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #การประเมิน
หมายเลขบันทึก: 283078เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2009 18:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ขอให้เกิดการเชื่อมโยงและสนับสนุนกันอย่างเป็นระบบ
  • และเป็นจริงดังบันทึกค่ะ
  • สาธุ

เป็นบทความที่ดี มีประโยชน์มาก

ขอบคุณครับ กำลังหาบทความส่งอาจารย์อยู่เลยอะครับ

Kings Network

http://www.ulmt.net

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท