อย่างไรคือ ขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์


ขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์

อย่างไรคือ ขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ ?

                อย่างไหนจะช่วยคลี่คลายข้อขัดแย้งได้มากกว่ากัน ระหว่าง คิดด่วนสรุปจากข้อมูลด้านเดียว

กับ พิจารณาข้อมูลครบด้านด้วยใจเป็นกลาง   คนคิด: คนใจฉลาดเรียกว่าเป็นคนมีความพินิจ และวาจา

แช่มชื่นเพิ่มอำนาจการสั่งสอน

สบายดีมั้ยครับ ยุทธศักดิ์ยิ้มและทักทายเพื่อนๆ ด้วยความห่วงใย

ช่วงนี้มีเรื่องให้คิด จนปวดหัวค่ะ วรรณฤดีเล่าด้วยสีหน้าดูอิดโรย เนื่องจากเมื่อคืนไม่ได้นอน เวลาลูกน้องดาวเด่นของเราขัดแย้งกันเองนี่ เราจะช่วยเขาอย่างไรดีค่ะ

ผมมีอุทาหรณ์เรื่องหนึ่งจะเล่าให้ฟัง ยุทธศักดิ์เริ่มเล่าเรื่ององค์กรแห่งหนึ่ง...

เกิดการขัดแย้งระหว่างพนักงานฝ่ายซ่อมบำรุงเครื่องกลหนักกับหัวหน้าผู้คุมงาน กล่าวคือ บรรดาพนักงานเข้าใจว่าตัวหัวหน้าผู้คุมจะเลือก คนงานคนหลักๆให้ทำงานต่อไป ขณะที่คนอื่นๆ ได้แค่ค่ายังชีพช่วงหยุดงานและต้องคอยเดินตรวจรักษาความปลอดภัยในสภาพอากาศที่หนาวเย็นอีกด้วย คนงานที่ไม่พอใจเริ่มแสดงอาการกระด้างกระเดื่องต่อหัวหน้าผู้คุมงาน และตั้งแนวทางแสดงออกไว้ว่า เขาขยับเมื่อไหร่ เราไม่พอใจเมื่อนั้นส่วนหัวหน้าก็ไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง จึงจับผิดและตอบโต้อย่างไม่ลดราวาศอกเช่นกัน

ผลก็คือ คนงานที่เหลือต้องเลือกข้าง มีการกล่าวโทษ ให้ร้าย ขู่ทำร้ายกันเกิดขึ้นมากมาย จากความไม่พอใจนำไปสู่การปะทะกันไปมา  ในที่สุดเมื่อมีคนกลางเข้าไปตรวจสอบในรายละเอียดพบว่า หัวหน้าผู้คุมงานไม่ได้มีบทบาทในการเลือกคนงานหลักๆ นั้นเลย สำนักงานใหญ่ต่างหากที่กำหนดรูปแบบลงมา ดังนั้นความยุ่งยากทั้งหมดเกิดขึ้นจากการตีความตามความนึกคิดมากกว่าตามข้อเท็จจริงประกอบกับขาดการสื่อสารเชิงบวกที่มากพอ

แล้วอย่างนี้มีวิธีลดการตีความผิดๆ ได้อย่างไรคะ วรรณฤดีถามอย่างสนอกสนใจ  ยุทธศักดิ์ให้แนวทาง ลองใช้ทักษะรู้เท่าทันความคิดเชิงลบดูซิครับ

ทักษะรู้เท่าทันความคิดเชิงลบ (Coping negative thought) (ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก http://www.howareyou.co.th; www.oknation.net/blog/youthana) เป็นวิธีคัดกรองและประมวลผลข้อมูลข่าวสารอย่างสมเหตุสมผลเชิงบวก มี 3 ขั้นตอน ย่อว่า 3 ย. คือ

1.  แยกแยะ อะไรที่เป็นข้อเท็จจริง, อะไรที่เป็นการตีความหรือข้อความเห็น

2.  ยืนยัน ความคิดนี้สมเหตุสมผลอย่างไรบ้าง, ความคิดดังกล่าวมีหลักฐานยืนยัน อย่างไรบ้าง, อะไรทำให้ความคิดดังกล่าวน่าเชื่อถือ

3.  ยึดหลักการ ความคิดดังกล่าวยุติธรรมกับทุกฝ่ายหรือไม่ เพียงใด, มาจากความปรารถนาดี หวังดีหรือไม่, นำมาซึ่งมิตรไมตรีหรือไม่ อย่างไร, สร้างประโยชน์สุขแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง, แก่ภาพรวมหรือคนหมู่ใหญ่อย่างไรบ้าง, ความคิดนี้อาจจะส่งผลกระทบต่อแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง, แก่ภาพรวมหรือคนหมู่ใหญ่อย่างไรบ้าง

ที่มา :www.bangkokbiznews.com

ข้อคิดเห็น   3 ย. คือ  แยกแยะ   ยืนยัน   ยึดหลักการ  เป็นวิธีคัดกรองและประมวลผลข้อมูลข่าวสารอย่างสมเหตุสมผลเชิงบวก  เราไม่ต้องคิดอะไรมากทำสิ่งใดให้เป็นบวก ค่าของมันย่อมเพิ่มขึ้นเป็นธรรมดา  บวกหลายๆครั้งก็ทวีคูณ  คิดอะไรเป็นลบ ค่าย่อมเหลือน้อยลง  ถ้าเหลือน้อยลง แล้วเราจะไปคิดทำไมให้เสียเวลา  เพียงเท่านี้ความขัดแย้งก็ลดลง เรียกได้ว่า เป็นความขัดแย้งที่สร้างสรรค์
 

หมายเลขบันทึก: 282875เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2009 09:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ เป็นประโยชน์มากนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท