นวัตกรรมกับการการทำงานภาคสังคม


หลายต่อหลายครั้งคนที่ทำหน้าที่ตัดสินว่าอะไร คือนวัตกรรมในแต่ละเรื่อง ควรที่จะมีความรู้ความเข้าใจ เชี่ยวชาญในแต่ละเรื่อง ที่ จะตัดสินว่า เป็นหรือไม่เป็นนวัตกรรม แต่ในความเป็นจริง หลายครั้งที่มีการตัดสิน หรือ เลือกที่จะยอมรับว่าอะไร เป็นนวัตกรรม หรือ จะปฏิเสะวาเป็นนวัตกรรม กลับเกิดจากคนที่ไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ จริง ๆ กลับเป็นพวกที่รู้เพียงงู ๆ ปลา ๆ รู้แบบในตำรา รู้แค่รู้ แต่ไม่ได้รู้จริง ๆ นี่ล่ะเป็นปัญหา ที่จะสกัดไม่ให้เกิดนวัตกรรม เพราะ ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น จะมองแบบคับแคบว่า ไม่ใช่นวัตกรรม เพียงเพราะ มองว่า อะไรที่มีอยู่แล้ว เปลี่ยนสถานที่ เปลี่ยนกลุ่ม ในการนำสิ่งนั้นไปใช้งาน ไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรม ??

นวัตกรรมกับการการทำงานภาคสังคม

หลายครั้งที่เราได้รับการหยิบยก หยิบยื่นคำว่า นวัตกรรมให้เป็นโจทย์ในการทำงาน  ?? คำว่า นวัตกรรม คือะไร ?? มีความหมายว่าอย่างไร และ จะนำมาใช้กับการทำงานภาคสังคมได้อย่างไร ?? นวัตกรรม ความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับปี พ.ศ. 2542 ได้ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรม น. สิงที่ทำขึ้นใหม่หรือแปลกจากเดิมซึ่งอาจจัเป็นความคิด วิธีการหรืออุปกรณ์ เป็นต้น(ป.นวด +ส.กรม; อ. innovation) ?? แล้วนวัตกรรมมีประโยชน์อบย่างไรกับการทำงานภาคสังคม ?

ในงานภาคสังคม ที่มีองค์กรพัฒนาเอกชนทำงานเสริมการทำงานที่รัฐทำอยู่หลายต่อหลายงาน ทั้งรายประเด็น รายพื้นที่ รายชุมชน รายครอบครัว รายบุคคล ?? รูปแบบ ช่วงเวลาการทำงานก็แตกต่างหลากหลายไปพร้อมกันด้วย ภาครัฐเอง ก็พยายามแสดงตนสร้างภาพว่าสนับสนุนการทำงานแบบเชื่อมประสานระหว่างรัฐและเอกชนผ่านรูปแบบขององค์กรรูปแบบใหม่ ๆ ที่ตั้งขึ้นราวดอกเห็ด ที่ภาครัฐเรียกมันว่านวัตกรรม ?? แต่เอาเข้าจริง เมื่อมีการ ทำงานร่วมกันไประยะ การเพิ่มเงื่อนไขการทำงานเริ่มมีมากขึ้น จนหลายครั้งเกิดความอึดอัดและยุติการทำงานเชื่อมประสานกันในที่สุด

ถามว่าเกิดอะไรขึ้น ปัญหา ก็มาติดกับคำว่า นวัตกรรม นี่ล่ะ ฝ่ายภาครัฐพยายามเรียกร้องขอนวัตกรรมจาก เอกชน ชาวบ้าน ที่ทำงานภาคสังคม นัยว่า เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์แบบแตกตัวหลากหลาย โดยมีกรอบของคำว่านวัตกรรมติดตัวมาด้วย จะด้วยเจตนาหรือไม่ก็ตาม

   
   
   

หลายต่อหลายครั้งคนที่ทำหน้าที่ตัดสินว่าอะไร คือนวัตกรรมในแต่ละเรื่อง ควรที่จะมีความรู้ความเข้าใจ เชี่ยวชาญในแต่ละเรื่อง ที่ จะตัดสินว่า เป็นหรือไม่เป็นนวัตกรรม แต่ในความเป็นจริง หลายครั้งที่มีการตัดสิน หรือ เลือกที่จะยอมรับว่าอะไร เป็นนวัตกรรม หรือ จะปฏิเสะวาเป็นนวัตกรรม กลับเกิดจากคนที่ไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ จริง ๆ กลับเป็นพวกที่รู้เพียงงู ๆ ปลา ๆ รู้แบบในตำรา รู้แค่รู้ แต่ไม่ได้รู้จริง ๆ นี่ล่ะเป็นปัญหา ที่จะสกัดไม่ให้เกิดนวัตกรรม เพราะ ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น จะมองแบบคับแคบว่า ไม่ใช่นวัตกรรม เพียงเพราะ มองว่า อะไรที่มีอยู่แล้ว เปลี่ยนสถานที่ เปลี่ยนกลุ่ม ในการนำสิ่งนั้นไปใช้งาน ไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรม ??

ยกตัวอย่าง สถานีเรียนรู้สัญจร หรือรถโมบาย ของอิสรชน เป็นนวัตกรรมหรือไม่ จะได้รับคำตอบแบบชัดถ้อยชัดคำว่า ไม่ใช่นวัตกรรม เพราะมันเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้ว ?? แต่ไม่ได้พิจารณาองค์ประกอบอื่นว่า พื้นที่ หรือ กลุ่มเป้าหมาย หรือช่วงเวลาการทำงาน เคยมีสิ่งนี้ เกิดขึ้น หรือ มีการนำมาใช้ในพื้นที่หรือไม่ ??? ทั้งที่ สถานีเรียนรู้สัญจร จะไปในที่ต่าง ๆ ที่รัฐไม่ไป จดกิจกรรมในช่วงเวลาที่คนของรัฐกำลังหลับใหล ทำงานกับกลุ่มคนที่ คนอื่น ๆ ใช้มือปิดจมูก หรือ เมินหน้าหนีเวลาคุย หรือ ทำแต่เรื่องไล่จับ กวาดล้าง มากกว่าการเสริมพลังใจและเสริมความเป็นตัวตนให้เขา สิ่งที่ คนเหล่านี้ จะบอกว่า ไม่ใช่ นวัตกรรมบ้าง ไม่ปรากฎชัดว่าเป็นนวัตกรรมอย่างไร บ้าง ตามแต่จะใช้คำให้ดูตัวเองทรงความรู้  นักวิชาการไทยมักจะทำตัวเป็นผู้รู้ทั้งที่น่าจะเรียกว่า ผู้สู่รู้มากกว่า ชอบที่จะคิดแทน ตัดสินแทน จนสร้างปัญหามากกว่าแก้ปัญหามาหลายต่อหลายครั้งก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะเข็ดหลาบ ?? แต่ก็ยังตั้งหน้าตั้งตา สร้างมาตรฐานผิด ๆ ของนวัตกรรมออกมาอย่างไม่รู้จักจบจักสิ้น

งานภาคสังคม สามารถเกิดนวัตกรรมได้อย่างไม่รู้จักจบจักสิ้น การแตกตัวของสิ่งที่มีอยู่ การขยายผลของสิ่งที่ทำอยู่ผ่านรูปแบบ ช่องทางกระบวนการที่ ต่อยอด ไม่ต้องถึงขนาดคิดใหม่ทำใหม่ จนในที่สุด จะกลายเป็นเอกสารที่เป็นขยะทางวิชาการไปมากกว่าที่จะนำมาใช้ได้ เพราะหลายต่อหลายครั้ง สิ่งที่ นักวิชาการผู้สู่รู้ รับรอง หรือคิดค้นออกมาว่า เป็นนวัตกรรม มันไม่สามารถจะนำมาใช้ได้จริงในสภาพความเป็นจริง เป็นเพียงวิมานในเศษกระดาษที่ ทำขึ้นมาเพียงเพื่อสนองผลงานทางวิชาการมากกว่าที่จะนำไปใช้ได้จริง

หาก ยอมรับว่า สิ่งที่มีอยู่แล้ว เพียงแค่เปลี่ยนมุมมอง หรือเปลี่ยนเทคนิควิธีการเพียงเล็กน้อย มันคือ นวัตกรรมภาคสังคม เพียงเท่านี้ ก็จะเป็นการสนับสนุนให้เกิดความกล้าของคนทำงานภาคสังคมที่จะคิดริเริ่มทดรองประยุกต์ในสิ่งที่ตนเองทำอยู่ทุกวัน ที่เรียกว่า งานประจำ ไปสู่การการดสิ่งใหม่ เหมือนกันกับที่ หนอนกินใบไม่ใบหญ้าทุกวัน เป็นปกติวิสัย จน ถึงวัยเป็นดักแด้ และ ก้าวสู่การวิวัฒน์จากสัตว์คลานกินใบไม้ ไปสู่สัตว์บินได้ แถมช่วยในการขยายพันธุ์ต้นไม้อีกด้วย อย่าทำเรื่องง่าย ๆ ให้กลายเป็นเรื่องยากซับซ้อน จนจะไม่มีใครคิดนวัตกรรม ไม่ใช่เพราะไม่กล้า แต่เบื่อความคับแคบของพวกสู่รู้มากกว่า

 

 

หมายเลขบันทึก: 282789เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2009 23:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท