3.ยกตัวอย่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา


ยกตัวอย่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

 

 (e-learning)

การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-เลิร์นนิ่ง (e-learning) หมายถึง การเรียน รู้บนฐานเทคโนโลยี (Technology-based learning) ซึ่งครอบคลุมวิธีการ เรียนรู้ หลากหลายรูปแบบ อาทิ

- การเรียนรู้บนคอมพิวเตอร์ (computer-based learning)
-
การเรียนรู้บนเว็บ (web-based learning)
-
ห้องเรียนเสมือนจริง (virtual classrooms)
-
ความร่วมมือดิจิทั่ล (digital collaboration) เป็นต้น

            การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-เลิร์นนิ่ง (e-learning) หมายถึง การเรียน รู้บนฐานเทคโนโลยี (Technology-based learning) ซึ่งครอบ คลุมวิธีการเรียนรู้ หลากหลายรูปแบบ อาทิ - การเรียนรู้บนคอมพิวเตอร์ (computer-based learning) - การเรียนรู้บนเว็บ (web-based learning) - ห้องเรียนเสมือนจริง (virtual classrooms) - ความร่วมมือดิจิทั่ล (digital collaboration) เป็นต้น ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ผ่าน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท อาทิ อินเทอร์เน็ต (internet) อินทราเน็ต (intranet) เอ็กซ์ทราเน็ต (extranet) การถ่าย ทอดผ่าน ดาวเทียม (satellite broadcast) แถบบันทึกเสียงและ วิดีทัศน์ (audio/video tape) โทรทัศน์ที่สามารถโต้ตอบกันได้ (interactive TV) และซีดีรอม (CD- ROM) การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่มีความ สำคัญ มากขึ้นเป็น ลำดับ

            การขยายโอกาสทางการศึกษา การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์มีต้นทุนในการ จัดการศึกษาที่ต่ำกว่าการ ศึกษาในชั้นเรียน ถึงแม้ว่าเงินทุนในช่วงแรก หรือต้นทุน คงที่ (fixed cost) ของการเรียนรู้ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์จะค่อนข้างสูง แต่อี-เลิร์ นนิ่งจะสามารถตอบสนองต่อผู้เรียนได้มากกว่าการจัดการ ศึกษาในห้องเรียน โดย ที่ผู้จัดการศึกษามีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นหน่วยสุดท้าย (marginal cost) เกือบเป็นศูนย์ แม้ว่าจะมีการจัดการศึกษาให้แก่ผู้เรียนจำนวนมากขึ้นก็ ตาม ทั้งนี้หากเปรียบเทียบ ต้นทุนทั้งหมด (total cost) การจัดการเรียนรู้ ผ่าน สื่ออิเล็กทรอนิกส์จะมีต้นทุนที่ ต่ำกว่าการเรียนรู้ในชั้นเรียนถึงร้อยละ 40 นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถ เรียนรู้ ได้ ทุกที่ ทุกเวลาและทุกคน (anywhere anytime anyone) และไม่ว่า จะทำการ ศึกษา ณ สถานที่ใด การเรียนรู้ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์จะยังคงมีเนื้อหา เหมือนกัน และมีคุณภาพที่เท่าเทียมกัน และยังสามารถวัดผลของการ เรียนรู้ได้ดี กว่า
การ เรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทำให้โอกาสในการศึกษาของประชาชน เพิ่มสูงขึ้น ส่ง ผลทำให้ประชาชนมีความรู้และทักษะที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อการ พัฒนาประเทศ ไปสู่เศรษฐกิจที่ต้องใช้ความรู้และเทคโนโลยีเข้มข้นมากขึ้น

   การเรียนรู้ไม่จำเป็น ต้องเรียง ตามลำดับหรือเป็นโปรแกรมแบบเส้นตรง แต่ผู้เรียน สามารถ ข้ามขั้นตอนที่ตนเองคิดว่าไม่จำเป็น หรือเรียงลำดับการเรียนรู้ ของตนเอง ได้ตามใจปรารถนา
การเรียนรู้ตามศักยภาพและ ความสนใจของผู้เรียน ทำให้ ประชาชนใน ประเทศเกิดการพัฒนาความเชี่ยวชาญ เฉพาะทางและมีการพัฒนา อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความจำเป็นใน การแข่งขันในเศรษฐกิจบน ฐานความ รู้ (knowledge-based economy) ในอนาคต
การที่สื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดย เฉพาะอินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งที่รวมความรู้ จำนวน มหาศาล ผู้เรียนจึงมีช่องทางและวิธีการเรียนรู้ให้เลือกอย่างหลากหลาย

การนำ e-learning ไปใช้ประกอบกับการเรียนการสอน สามารถทำได้ 3 ลักษณะ ดังนี้

                                   1. สื่อเสริม (Supplementary)

                                            หมายถึง การนำ e-learning ไปใช้ในลักษณะสื่อเสริม กล่าวคือ นอกจากเนื้อหาที่ปรากฏในลักษณะ e-learningแล้ว ผู้เรียนยังสามารถศึกษาเนื้อหาเดียวกันในนี้ในลักษณะอื่นๆเช่น จากเอกสารประกอบการสอน (Sheet) จากวีดิทัศน์ (Videotape) ฯลฯ การใช้ e-learning ในลักษณะนี้ เท่ากับว่า ผู้สอนเพียงต้องการจัดหาทางเลือกใหม่อีกทางหนึ่งสำหรับผู้เรียนในการเข้าถึงเนื้อหาเพื่อให้ประสบการณ์พิเศษเพิ่มเติมแก่ผู้เรียนเท่านั้น

                                                                                                                     

                                   2. สื่อเติม (Complementary)

                                           หมายถึง การนำ e-learning ไปใช้ในลักษณะเพิ่มเติมจากวิธีการสอนในลักษณะอื่นๆ เช่น นอกจากการบรรยายในห้องเรียนแล้ว ผู้สอนยังออกแบบเนื้อหาให้ผู้เรียนเข้าไปศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมจาก e-learning ในประเทศไทย หากสถาบันใดต้องการที่จะลงทุนในการนำ e-learning ไปใช้ในการเรียนการสอนตามปกติ (ที่ไม่ใช่ทางไกล) แล้วอย่างน้อยควรตั้งวัตถุประสงค์ ในลักษณะของสื่อเติม(Complementary) มากกว่า แค่เป็นสื่อเสริม (Supplementary) เช่น ผู้สอนจะต้องให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาจาก e-learning เพื่อวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่ง เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียนในประเทศไทย ซึ่งยังต้องการคำแนะนำจากครูผู้สอน รวมทั้งการที่ผู้เรียนส่วนใหญ่ยังขาดการปลูกฝังให้มีความใฝ่รู้โดยธรรมชาติ

                                   3. สื่อหลัก (Comprehensive Replacement)

                                           หมายถึง การนำ e-learning ไปใช้ในลักษณะแทนที่การบรรยายในห้องเรียน ผู้เรียนจะต้องศึกษาเนื้อหาทั้งหมด ออนไลน์ ในปัจจุบัน e-learning ส่วนใหญ่ในต่างประเทศจะได้รับการพัฒนาขึ้น เพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้เป็นสื่อหลักสำหรับแทนครูในการสอนทางไกล ด้วยแนวคิดที่ว่า มัลติมีเดียที่นำเสนอทาง e-learning สามารถช่วยในการถ่ายทอดเนื้อหาได้ใกล้เคียงกับการสอนจริงของครูผู้สอน

ข้อดีและข้อเสียของ   E-learning

 ข้อดี

·         เอื้ออำนวยให้กับการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ รวมทั้งบุคคล

·         ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องการเรียนและสอนในเวลาเดียวกัน

·         ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องมาพบกันในห้องเรียน

·         ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน และผู้สอนที่ไม่พร้อมด้านเวลา ระยะทางในการเรียนได้เป็นอย่างดี

·         ผู้เรียนที่ไม่มีความมั่นใจ กลัวการตอบคำถาม ตั้งคำถาม ตั้งประเด็นการเรียนรู้ในห้องเรียน มีความกล้ามากกว่าเดิม เนื่องจากไม่ต้องแสดงตนต่อหน้าผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้น โดยอาศัยเครื่องมือ เช่น E-Mail, Webboard, Chat, Newsgroup แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ

ข้อเสีย

·         ไม่สามารถรับรู้ความรู้สึก ปฏิกิริยาที่แท้จริงของผู้เรียนและผู้สอน

·         ไม่สามารถสื่อความรู้สึก อารมณ์ในการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง

·         ผู้เรียน และผู้สอน จะต้องมีความพร้อมในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ทั้งด้านอุปกรณ์ ทักษะการใช้งาน

·         ผู้เรียนบางคน ไม่สามารถศึกษาด้วยตนเองได้

หมายเลขบันทึก: 282663เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2009 16:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับ

E-learning เป็นสิ่งน่าสนใจ มีประโยชน์

หากมี inter active ระหว่างผู้เรียนกับสื่อ รวมถึงการใช้ศาสตร์และศิลป์ในการผลิตสื่อเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความสามารถมาก ครับ

ผมก็กำลังทำหัวข้อการสอนบางส่วนอยู่ ครับ

สวัสดีค่ะ

ดิฉันเป็นผู้ดูแลเว็บไซต์ค่ะ จึงอยากขออนุญาตแนะนำให้สมาชิกที่ต้องการใช้งานเพื่อการส่งการบ้าน สมัครใช้งานเว็บไซต์ Learners.in.th แทนการใช้งานบล็อกที่ GotoKnow.org ค่ะ

เนื่องจาก Learners.in.th นั้นเป็นระบบที่มีการใช้งานเหมือน GotoKnow.org แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้งานเพื่อการเรียนการสอน

ทั้งนี้ดิฉันฝากเรียนอาจารย์ผู้สอนให้แจ้งให้นักศึกษาที่ต้องการส่งการบ้านทุกท่านให้ย้ายไปยังเว็บไซต์ http://Learners.in.th ด้วยนะคะ

ทั้งนี้ทางทีมงานต้องขออภัยในความไม่สะดวกด้วยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท