47. การประชุมกลุ่มเพื่อปรึกษาปัญหารายกรณี (Case Conference)


คำว่า Conference ก็คือ การประชุมเพื่อปรึกษาหารือ กันอย่างเป็นทางการ (Consulting Formally) เป็นการปรึกษาร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนข้อคิดความเห็น หรือทัศนะ (Interchange of views, opinion, discussion) ต่อกัน เพื่อจะประสงค์ในการตัดสินใจ กำหนดนโยบาย กำหนดวิธีแก้ไขปัญหา หรือเพื่อหาข้อสรุปร่วมกันในเรื่องที่กำหนดไว้ เป็นการประชุมที่ใช้กันมากและเป็นปกติในหน่วยงานทั่วไป

      การประชุมกลุ่มเพื่อปรึกษาปัญหารายกรณี (Case Conference) ในโรงเรียน เป็นการประชุมปรึกษาหารือ (Conference) เพื่อรวบรวมความคิดเห็น ของผู้ที่เกี่ยวข้องหรือกลุ่มคนที่มาร่วมประชุมกัน เป็น A meeting for consultation สมาชิกที่ร่วมประชุมในกรณีต่างๆ อาจมีจำนวนไม่เท่ากัน หรืออาจจัดเป็นการประชุมแบบประชุมใหญ่เฉพาะเรื่องก็ได้ ในกรณีที่เห็นเหมาะสมตามแต่ปัญหาที่ต้องการปรึกษาหารือ ...

     ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2552 เวลา 08.30 น. ผู้เขียนได้รับแจ้งว่าให้เข้าร่วมการประชุมกลุ่มเพื่อปรึกษาหารือปัญหารายกรณีของเด็กนักเรียนในโรงเรียน ที่มีปัญหาทะเลาะวิวาทในโรงเรียนเมื่อสัปดาห์ก่อน ในฐานะครูแนะแนว  โดยการประชุมครั้งนี้  ผู้เข้าร่วมการประชุม จำนวน 8 คน ประกอบด้วย

  • ตัวแทนผู้บริหารโรงเรียน : รองผู้อำนายการ 1 คน

  • ตัวแทนฝ่ายวิชาการ : ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริหารวิชาการ  1  คน

  • ตัวแทนครู : ครูที่ปรึกษาประจำชั้นของนักเรียน  2 คน

  • ตัวแทนครู : ฝ่ายกิจการนักเรียน 1 คน

  • ผู้ปกครองนักเรียน 1 คน

  • นักเรียน 1 คน

  • ครูแนะแนว 1 คน

     สถานที่ในการประชุม ได้แก่ ห้องประชุมของโรงเรียน โดยใช้เวลาประชุมประมาณ 1 ชั่วโมง คือเริ่มการประชุม เวลาประมาณ 09.00 น.

     สรุปผลการประชุมโดยสังเขป คือ

    1. ปัญหาของนักเรียน จากการสอบถามความคิดเห็นของครูที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายผู้ปกครอง และตัวนักเรียน  สามารถสรุปได้ว่าปัญหาที่นักเรียนเจอขณะนี้ คือ 1) ปัญหาพฤติกรรม : การทะเลาะวิวาทในโรงเรียน 2) ปัญหาด้านการเรียน   

    2. สาเหตุของปัญหา

        1) ปัญหาพฤติกรรม : การทะเลาะวิวาทในโรงเรียน เกิดจากความเข้าใจผิดและการท้าทายของแต่ละฝั่ง

        2) ปัญหาด้านการเรียน นักเรียนมีผลการเรียนเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และไม่สามารถแก้ไขผลการเรียนได้ภายในเวลาที่กำหนดไว้ และมีผลการเรียนเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ เกิน 1 ปีการศึกษา

     3. ผลการประชุมกลุ่มเพื่อปรึกษาหารือรายกรณี สรุปได้ว่า การแก้ปัญหาของนักเรียนต้องแก้ไขทีละปัญหา โดยมีข้อสรุป ดังนี้

         1) ปัญหาพฤติกรรม : การทะเลาะวิวาทในโรงเรียน ให้ดำเนินการแก้ปัญหาตามที่ทางโรงเรียนได้กำหนดแนวปฏิบัติไว้ ตามข้อตกลงการมอบตัวนักเรียน ตังแต่รับนักเรียนเข้ามาเรียนในสถานศึกษา เพื่อให้เหมาะสมกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนทุกคนอยางเท่าเทียมกัน

         2) ปัญหาด้านการเรียน  ให้โอกาสนักเรียนได้มีเวลาและสิทธิ์ในการแก้ตัวและสอบประเมินผลในรายวิชาที่ค้างอยู่ให้เรียบร้อบเสร็จสิ้น ภายในเวลาที่กำหนดไว้ (หนึ่งสัปดาห์) หลังจากนั้นให้ดำเนินการตามระเบียบวัดผลประเมินผลของโรงเรียนต่อไป

       4. ข้อเสนอแนะจากการประชุม การดำเนินการใดๆ ก็ตามในการแก้ไขปัญหาเด็กรายกรณี ผู้เข้าร่วมการประชุมทุกคน ต้องมีข้อมูลพื้นฐาน เพื่อประกอบการพิจารณาปัญหาของนักเรียนในแต่ละด้าน รวมทั้งต้องหาทางเลือกที่หลากหลายและเหมาะสมที่สุดกับการแก้ปัญหาของเด็ก โดยเมื่อพิจารณาในที่ประชุมแล้ว  การเลือกวิธีแก้ไขปัญหา เป็นหน้าที่ของเด็กและผู้ปกครอง ที่จะช่วยกันตัดสินใจเลือกทางเลือก โดยครูและผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าไปมีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือตามความเหมาะสม...

       ...

     การประชุมกลุ่มเพื่อปรึกษาปัญหารายกรณี (Case Conference) คร้งนี้ จบลงด้วยดี โดยมีการตัดินใจของผู้ปกครองและตัวนักเรียนได้เลือกทางเลือกที่คิดว่าดีที่สุดสำหรับทุกฝ่าย โดยเฉพาะเพื่อตัวของนักเรียนเอง ...

       ...คนเราไม่อาจรู้อนาคตข้างหน้าได้ว่าจะดีหรือร้ายเพียงใด...แต่ถ้าเราสามารถเตรียมและทำวันนี้และทุกๆ วันให้ดีที่สุด... เมื่อนั้น วันพรุงนี้และวันข้างหน้าที่ดีๆ จะรอเราอยู่...อย่างแน่นอน

       ...

หมายเลขบันทึก: 282217เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2009 22:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท