การจัดการความรู้ 9 เทคนิควิธีสู่..ความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษา


การจัดการความรู้ 9 เทคนิควิธีสู่..ความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษา

การจัดการความรู้ 9 เทคนิควิธีสู่..ความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษา(ตอนที่2)

                    4.ขั้นลงมือปฏิบัติ/ทดลอง (Acting experimentation)ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและจะต้องได้ลงมือปฏิบัติจริง

                    5.ขั้นสร้างความความภาคภูมิใจในผลงาน(satisfaction )ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนมีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ที่ตนไปศึกษาค้นคว้ามาและอาจนำเสนอผลงานในรูปแบบรายงานหรือการจัดแสดงนิทรรศการ

                    6.ขั้นการดำเนินงานสู่ความสำเร็จ(Achievement )    ขั้นนี้เป็นการสรุปความรู้ที่ได้รับทั้งหมดทั้งความรู้เดิม ความรู้ใหม่ และจัดสิ่งที่ได้เรียนรู้ให้เป็นระเบียบ เพื่อให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่าย

                    7.ขั้นวิจัยและพัฒนา(Research & Development) ขั้นนี้เป็นการทบทวนผลงาน ผลการศึกษาค้นคว้าว่ามีปัญหาข้อควรแก้ไขอะไรบ้างและหาแนวทางปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้น

                    8.ขั้นการทำงานเป็นทีม(Teamwork ) ขั้นนี้เป็นการฝึกให้ผู้เรียนรู้จักการร่วมมือช่วยเหลือเกื้อกูลกันในด้านการเรียนและการทำงานร่วมกับผู้อื่น

          ส่งเสริมให้มีการประเมินครูแกนนำเพื่อเป็นครูต้นแบบการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด

          สนับสนุนให้มีการนิเทศภายในอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องโดยจัดให้มีการนิเทศโดยเพื่อนครู ผู้บริหาร และผู้ทรงคุณวุฒิ

          6.การใช้ ICT ส่งเสริมการบริหารและการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา

                   ในยุคปัจจุบันเชื่อมั่นว่าสถานศึกษาหลายแห่งได้นำสื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการและนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มากขึ้น การใช้เว็บจัดการความรู้ของของสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคมหรือที่รู้จักกันดีในนามเว็บ Gotoknow นับได้ว่าเป็นคลังความรู้อันทรงพลังที่ผู้บริหาร ครูอาจารย์ นักการศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถจะเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร ผลงานและได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ความรู้อย่างกว้างขวาง

          7.หลากหลายเทคนิควิธีดึงชุมชนสู่สถานศึกษา

                   การจัดการสมัยใหม่ได้ให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย(Stakeholder)และลูกค้า(Customer) เป็นสำคัญ ในที่นี้หมายถึงชุมชนคือกลุ่มเป้าหมายสำคัญที่จะผลักดันสนับสนุนส่งเสริมช่วยเหลือให้การดำเนินงานของโรงเรียนประสบความสำเร็จ แนวทางในการดำเนินการดึงศักยภาพของชุมชนเข้ามาสู่สถานศึกษา สามารถนำเนินการได้ดังนี้

                   1. โรงเรียนมีการสื่อสารถึงผู้ปกครองอย่างสม่ำเสมอ

                   2. โรงเรียนเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามาใช้บริเวณอาคารสถานที่ของโรงเรียนในการจัดกิจกรรมพบปะสังสรรค์ ประชุม อบรม สัมมนา โดยสถานศึกษาคิดค่าใช้จ่ายในราคาถูกหรือให้เปล่าและเปิดโอกาสให้หน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้

                   3.เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆที่หน่วยราชการหรือหน่วยงานเอกชนจัดขึ้นอย่างสม่ำเสมอจนกลายเป็นสัญลักษณ์ขององค์การซึ่งจะเป็นการประชาสัมพันธ์โรงเรียนทางอ้อมโดยไม่ต้องลงทุนในการประชาสัมพันธ์

          8.ส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอก

                   โรงเรียนควรมีการสำรวจแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและจัดทำทะเบียนไว้เพื่อให้ง่ายต่อการสืบค้นหรือประสานงานในการสนับสนุนส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะบูรณาการ

                   แนวทางในการดำเนินงานในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทำได้ดังนี้

                   1.ควรมีการประสานงานและวางแผนร่วมกันระหว่างสถานศึกษากับแหล่งเรียนรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นการล่วงหน้า

                   2.ควรให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะบูรณาการกับครูผู้สอน

                   3.ในระหว่างจัดกิจกรรมการเรียนรู้ควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ฝึกทักษะกระบวนการกลุ่มช่วยกันสืบค้นข้อมูลความรู้โดยมีครูหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นทำหน้าที่ให้คำปรึกษา

                   4.หลังจากเสร็จกิจกรรมควรมีการนำเสนอผลงานกลุ่มของนักเรียนและให้มีการประเมินผลการเรียนหลายฝ่ายคือประเมินโดยนักเรียน ประเมินโดยครูและประเมินโดยผู้เกี่ยวข้องเช่นภูมิปัญญาท้องถิ่น

                   5.ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงบทบาทของคุณกิจ คุณลิขิตและมีครูหรือผู้บริหารเป็นคุณเอื้อและคุณอำนวย

          9.ดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ดังนี้

                   1.ระบบครูคู่มิตร  เป็นการจัดครูประจำชั้นหรือครูประจำวิชาที่มีห้องใกล้กันช่วยสอดส่องดูแลพฤติกรรมของนักเรียน เพื่อเป็นการป้องปรามหรือป้องกันปัญหาไว้เป็นการล่วงหน้า

                   2.ระบบเพื่อนช่วยเพื่อนและพี่ช่วยน้อง เป็นการปลูกฝังจิตสำนึกให้นักเรียนดูแลช่วยเหลือกันเอง

                   3.ระบบเครือข่ายผู้ปกครอง  เป็นการขอความร่วมมือจากตัวแทนของผู้ปกครองนักเรียนในแต่ระดับทำหน้าที่สอดส่องดูแลพฤติกรรมของนักเรียนนอกโรงเรียนและรายงานให้ครูหรือผู้บริหารทราบพร้อมทั้งให้คำแนะนำ ปรึกษาในการสนับสนุนส่งเสริมการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้วย

                   4.ระบบเยี่ยมถามข่าว เป็นการจัดให้ครูที่ปรึกษาร่วมกับผู้บริหารและกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์กับชุมชนออกเยี่ยมเยียนผู้ปกครองและนักเรียนในชุมชนหมู่บ้านที่นักเรียนอาศัยอยู่ ทำให้ได้รับทราบข้อมูลข่าวสาร สภาพปัญหา ความต้องการของผู้ปกครองและนักเรียนอย่างแท้จริงและนำไปสู่ความร่วมมือในการแก้ปัญหาและพัฒนานักเรียนอย่างต่อเนื่อง

.

ที่มา : วารสารวิทยาจารย์ ปีที่ 107 ฉบับที่ 7 เดือนพฤษภาคม 2551

 

ความก้าวหน้า ความสำเร็จ ของโรงเรียนเกิดขึ้นเพราะความร่วมมือของบุคลาการที่เกี่ยวข้องทุกคน และด้วยหลากหลายเทคนิควิธีการทำงานที่ต้องผสมผสานกันอย่างลงตัวจึงจะสามารถขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวไปข้างหน้าได้  การจัดการความรู้เป็นเทคนิควิธีการทำงานอีกวีหนึ่งที่สามารถนำไปผสมผสานกับเทคนิควิธีการทำงานอื่นๆเพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้นได้ ในบทความนี้ได้นำเสนอ 9 เทคนิควิธีในการจัดการความรู้..สู่ความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษา ซึ่งโรงเรียนชำฆ้อพิทยาคมที่ผู้นำเสนอทำงานอยู่ก็ได้ใช้เทคนิควิธีเหล่านี้ในการจัดการบริหารและการจัดการเรียนการสอนถึงแม้จะไม่ครบทั้ง 9 วิธี แต่ก็สามารถทำให้โรงเรียนประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการได้เป็นอย่างดี

               

หมายเลขบันทึก: 281975เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2009 03:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท