ตั้งบรรเจิดสุข
อัญชลี คุณนายตั้ง ตั้งบรรเจิดสุข

วัดส่งเสริมสุขภาพจากจุดเริ่มต้นสู่อนาคต


วัดมีอัตลักษณ์เฉพาะตน แต่ละหน่วยมีความศักสิทธิ์คนละแบบ พระไม่ได้อยากประกวดพระต้องละเลิกเรื่องนี้ วัดส่งเสริมใช้ความสะอาดนำหน้า

เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 52 เราได้ไปติดตามเยี่ยมชมรมผู้สูงอายุกับพี่นัยนา ตอนค่ำๆคุณศิลป์ชัย ทุ่งโพธิ์ตระกูล กับน้องเป้า (วันเพ็ญ กฤติยรังสิต)ที่อยู่ฝ่ายส่งเสริมสุขภาพสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร พาไปสนทนากับท่านเจ้าคุณศรี (พระศรีวชิราภรณ์ เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุ จังหวัดกำแพงเพชร) พระอาจารย์ท่านมีงานทำมากมาย ทั้งงานทางด้านการศึกษาของพระและสามเณร งานบริหารทางการศึกษาและการบริหารวัดพระบรมธาตุ เราถามท่านว่า พระอาจารย์เริ่มต้นทำวัดส่งเสริมได้อย่างไร เพราะเราทราบมาว่าทำครั้งแรกก็ผ่านเกณฑ์เลย พระอาจารย์สรุปให้เราฟังว่า

  • วัดบรมธาตุทำวัดสะอาดประชาสุขใจมาก่อนโครงการใดๆของกรมอนามัย โดยการประชุมพระ-เณรในวัด เพื่อแบ่งโซนกันรับผิดชอบเน้นความสะอาด และใช้หลักเกณฑ์เริ่มต้นร่วมกันว่า พื้นที่ใดๆถ้าสมาชิกมาร่วมกันทำงานไม่ครบให้รอจนสมาชิกมาครบทุกคนแล้วจึงลงมือช่วยกัน แรกๆให้ทำทุกวัน พออยู่ตัวแล้วต่อมาปรับเปลี่ยนทำความสะอาดใหญ่ทุกวันโกน ต่อมามีวัดส่งเสริม กรรมการวัดลองเอาเกณฑ์มาประเมินปรากฏว่าผ่านก็เลยให้ศูนย์อนามัยที่ 8 มาประเมิน
  • การสร้างเครือข่ายของวัด ใช้หลัก ผู้นำการเปลี่ยนแปลง คือ
  •  โปร่งใส ได้เงินมาก็ให้วัดหมด
  •  ทำให้คนอื่นเห็นว่าเป็นการพัฒนา ไม่ว่าเรื่องใดๆ เมื่อเห็นว่ามีการพัฒนาที่ดีการต่อต้านก็จะไม่มี ต้องทำสิ่งต่างๆให้ดีขึ้น ต้องทำเป็นระบบ ไม่สะเปะสะปะ
  •  งานศพญาติโยมที่รู้จัก หรือได้รับนิมนต์ต้องไป ถ้าพระอาจารย์ไม่ไปก็จะให้พระลูกวัดไปแทน
  • พูดให้ชุมชนคิดเป็น แก้ปัญหาได้แบบร่วมด้วยช่วยกัน วัดช่วยคุณ คุณช่วยวัด เช่นช่วงนี้ไข้หวัด2009 ระบาดเวลาวัดมีงานก็จะให้ทางสาธารณสุขช่วยมาคัดกรองโรคให้กับพระและญาติโยมที่มางานในวัด

     —     การบริหารจัดการ ใช้วิธี

  • พระอาจารย์จะทำเป็นตัวอย่าง พระลูกวัดจับไม้กวาด พระอาจารย์ก็จับไม้กวาด
  • ใช้หลักการปกครองแบบผู้นำที่ดีคือ ไม่ประจานใครต่อหน้าพระหรือญาติโยม ยึดแนวคิด "ทุกคนมีจุดเด่นเป็นของตนเอง เขาจะรู้สึกมีเกียรติในสิ่งที่เขาพอใจทำ"
  • การลงโทษ ใช้หลัก ถ้าเป็นหมาสามารถหวด(แก้ไข)ตอนนั้นได้แต่ถ้าเป็นคนห้าม  คนบางคนต้องใช้กระบวนการกลุ่มเข้ามาจัดการ แต่บางคนอาจต้องปล่อยไป 1- 2 วันแล้วถึงเรียกคุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้น
  • พระ-เณรเข้ามาอยู่ใหม่ต้องรู้กฎของวัดอย่างหนึ่งว่า ต้องตื่นตี 4 ทำวัตรเช้า เรียนและทำงาน เหมือนให้มีการยอมรับกันก่อน โดยเฉพาะพระ-เณรบวชใหม่ แรกๆจะอึดอัด พอเกิน 7 วันมักไม่อยากสึก เพราะรู้สึกว่าวันนี้มีเรื่องสนุกๆให้ทำ(ทำงาน)

— การพัฒนาในอนาคตเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในวัด

  • จะปรับปรุงภูมิทัศน์ของวัด ใช้concept ว่ามีแม่น้ำในวัด มีรีสอร์ท(ทำที่พักให้ร่มรื่น)สำหรับปฏิบัติธรรม มีแดนพุทธภูมิอยู่ตรงกลาง และทำห้องประชุมขนาด 1,400 คนเอาไว้ใช้ในการประชุม หรือฝึกปฏิบัติธรรมทั้งแบบเคร่งครัดมาก เคร่งครัดปานกลาง และเคร่งครัดน้อย โดยแยกเป็นโซนๆในห้องประชุม

— ข้อเสนอแนะของพระอาจารย์ต่อการทำงานของกรมอนามัยหรือวัดส่งเสริมคือ

  • o ไม่ควรเพิ่มหรือลดอีกคืออย่าปรับเปลี่ยนบ่อย
  • o ทำอย่างไรให้วัดส่งเสริมเนียนกับการทำงานในกิจของสงฆ์ เช่นการเทศน์บอกญาติโยมได้
  • o อย่าทำอะไรแบบไฟไหม้ฟางเพราะวัดมีอัตลักษณ์เฉพาะตน ต้องใช้เวลากว่าจะสำเร็จ
  • o ควรมีแบบหรือคู่มือเพียง 1 เดียว ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุขเหมือนกันแต่มีแบบแตกต่างกัน หรือที่เรียกว่าแต่ละหน่วยมีความศักสิทธิ์คนละแบบ
  • o ไม่ควรมีการประกวดเพราะทำให้นิสัยเสีย พระไม่ได้อยากประกวดพระต้องละเลิกเรื่องนี้
  • o เจ้าหน้าที่บางแห่งไม่เข้าใจเรื่องวัดส่งเสริมโดยเฉพาะในเรื่องการดำเนินงาน
  • o เปลี่ยนนายเปลี่ยนนโยบาย คนทำงานด้วยจะงง
  • o การประเมินวัดควรต้องบอกเจ้าอาวาสให้รับทราบ บางแห่งเจ้าของท้องที่เขาไม่รู้ ก็จะขาดความร่วมมือ
  • o ควรบูรณาการงานสาธารณสุขให้ตรงกับกิจกรรมของวัด เช่นการตรวจสุขภาพพระก็ควรเลือกวันที่พระมีการประชุม หรือรวมกลุ่มกันมากๆเช่นวันปาฏิโมกข์
  • o วัดส่งเสริมไม่ควรใช้เงินนำหน้า วัดส่งเสริมใช้ความสะอาดนำหน้า
  • o บุคคลที่มีบุญต้องมีความอดทน มีวิธีการชักจูงแบบหลากหลายและรู้บริบทของพื้นได้ด้วยก็จะดี

ทั้งหมดนี้คือข้อคิดเห็นของพระอาจารย์ ที่คนกรมอนามัยต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้บรรลุถึงการทำงานในทุกๆเรื่อง เราใช้เวลาสัมภาษณ์พระอาจารย์ประมาณ 2 ชั่วโมงกว่า เป็นเวลาที่มีประโยชน์สำหรับเรามาก ทำให้เห็นว่ามีคนมองวิธีการทำงานของหน่วยงานเราเป็นอย่างไร ตัวเราต้องสร้างจุดแข็งแก้จุดด้อยอะไรบ้าง

หมายเลขบันทึก: 281826เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2009 15:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • "ข้อเสนอแนะของพระอาจารย์" ... น่าสนใจนะคะ
  • น่าจะนำมาคิดต่อ ว่า แล้วเราจะทำสิ่งอะไรดี ที่ส่งเสริมศาสนา ทางด้านการส่งเสริมสุขภาพได้
  • น่าคิดค่ะ

ประสบการณ์การณ์การทำงานเรื่องวัด พบว่า ถ้าวัดไหนพระคุณเจ้ามีใจพัฒนา รับรองไปโลด และกรรมการก็สำคัญ (โดยเฉพาะผู้สูงอายุ)และที่เข้มแข็งที่สุดคือครูที่เกษียณอายุราชการแล้ว

  • ขอบคุณคะคุณkaikiku
  • ที่ให้ความเห็นมาถูกต้องเลยคะ

สวัสดีค่ะ คุณตั้งบรรเจิดสุข ขอเชิญไปกราบสังขาร หลวงปู่หลอด วัดใหม่เสนา กทม.นะค่ะ (ถ้ามีเวลาว่าง)

ยินดีคะคุณ tukky มีโอกาสจะไปนะคะ

สวัสดีค่ะ

มาร่วมระลึกถึงพระคุณแม่ค่ะ

  • วัดที่พัฒนาส่วนใหญ่มักอยู่ที่เจ้าอาวาส กับผู้นำหมู่บ้านเป็นสำคัญ
  • มีวัดที่องค์รัชกาลที่ 5 เสด็จแถวๆพยุหะ  ก็กำลังพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวคะ  จากเดิมที่ทอดทิ้งกันมานาน
  • เหมือนกับหลายๆวัดที่ถูกทอดทิ้งเพราะไม่มีการพัฒนา ขาดความศรัทธาจากชาวบ้าน  หรือบางทีก็รอจัดงานตามเทศกาลอย่างเดียว ลานวัดยังไม่กวาดเลย แต่เงินที่ได้ก็ยังอดไม่ได้ที่จะเป็นระบบวัดครึ่งหนึ่ง กรรมการครึ่งหนึ่ง 

น้องกบโอ๊บๆ ต้องบอกว่าต้องพัฒนาความคิดของคนก่อนโน๊ะ ถ้าใจยังโลภอยู่ มีเยอะก็ว่ามีน้อย ถ้าคิดว่าทุกวันนี้เรามีแค่นี้ก็พอแล้ว ใจก็สุข ถ้าคิดว่าเท่านี้ยังไม่พอใจก็ทุกข์ต้องหาไปเรื่อยไม่มีที่สิ้นสุด

เออดีใจที่เห็นหลายวัดส่นในเรื่องวัดส่งเสริมสุขภาพ อาตมาก็ทำวัดส่งเสริมสุขภาพ ที่วัดได้รับคัดเลืกให้เป็นวัดส่งเสริมดีเด่นระับเข ๒ ปีต่อกันแล้ว และในวันที่ ๑๘ ที่ผ่านมาทางกระทรวงก็คัดเลือกให่เป็นบุคคลต้นต้นแบบเรื่องส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม เข้ารับโล่จาก ฟ้าหญิง ศรีรัตน์ เรียบร้อย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท