ฝ่าเส้นทางวิกฤต มนุษย์เงินเดือน


ฝ่าเส้นทางวิกฤต มนุษย์เงินเดือน

ฝ่าเส้นทางวิกฤติ มนุษย์เงินเดือน

         บทความของท่าน ดร.พจน์  ใจชาญสุขกิจ  กล่าวถึงวิกฤตเศรษฐกิจ ที่ส่งผลอะไรต่ออะไรมากมาย ตั้งแต่เรื่องใกล้ตัว ไกลตัว โดยเผชิญกับปัจจัยภายนอกและภายใน ขณะที่องค์กรต้องการประสิทธิภาพอย่างสูง  แต่สภาพแวดล้อม และสถานการณ์ไม่เอื้อ

          ปัญหาสารพัดล้วนมาจากสิ่งแวดล้อมในที่ทำงาน  เริ่มตั้งแต่นโยบายขององค์กรที่เปลี่ยน ทั้งท่าทีของผู้บริหาร ระบบการทำงาน เป้าหมาย  ในขณะที่คนทำงานไร้หนทางที่จะสู่เป้าหมายที่องค์กรต้องการ งบประมาณการต่อยอด การแข่งขันกับภายนอกองค์กรก็ย่ำแย่ซ้ำยังต้องเผชิญกับการแข่งขันในองค์กรอีก  การถูกกลั่นแกล้งให้ได้อาย  เสื่อมยศ เสื่อมเกียรติ หมดศักดิ์ศรี ล้วนเป็นสภาพแห่งความเครียด  ประสิทธิภาพของการทำงานจะเกิดขึ้นได้อย่างไร

         องค์กรจะอยู่รอดอย่างไร หากไม่ได้ใจพนักงาน

              พบว่ามีหลายแนวทางที่องค์กรควรหยิบมาใช้ในส่วนของการดำเนินธุรกิจในยุคที่เศรษฐกิจฝืดเคือง  วิธีการบริหารจากการกระจายเป็นการกระจุก คัดสรร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดร่วมกัน ใช้การสื่อสารเชิงกลยุทธ์ทั้งภายในและภายนอกโดยเน้นการสื่อความที่ชัดเจนภายในร่วมกัน การแสดงความจริงใจขององค์กร การสร้างความพึงพอใจ  พนักงานเป็นกลไกที่สำคัญมาก จริงใจ ไม่หลอกลวง นับเป็นสิ่งที่องค์กรควรให้ความสำคัญ

          เทรนด์ของโลก 4 ประการ กับเส้นทางของมนุษย์เงินเดือน ประกอบด้วย

1.       เรากำลังก้าวสู่การแข่งขันที่รุนแรงและไร้รูปแบบ

2.       เรากำลังอยู่โดยปราศจากความแน่นอนและความมั่นคงทางการเงิน

3.       สงครามแห่งการแย่งชิงคนเก่งดูจะไม่มีท่าทีจะสงบโดยง่าย

4.       การงานที่มั่นคง ดูจะเป็นเรื่องได้ยาก

         การติดตามความเคลื่อนไหวอย่างเข้าใจ การที่เราใกล้ชิดข้อมูลย่อมเกิดความได้เปรียบ เชิงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นข่าวสารที่ปรากฏผ่านสื่อมวลชน บทวิเคราะห์ งานวิจัย การติดตามข้อมูลของคู่แข่ง มีการติดตาม  วิเคราะห์และคาดการณ์ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  การนำศักยภาพที่มีสร้างผลงานให้เกิดประโยชน์กับองค์กรให้มากที่สุด  การปรับเปลี่ยนตัวเองมิใช่เกิดขึ้นในระดับองค์กรเท่านั้น ระดับบุคคลเองก็จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกับสิ่งที่เปลี่ยนไป การพัฒนา เพิ่มเติมในสิ่งที่ขาด การลดสิ่งที่เป็นเงื่อนไข การสร้างวิกฤตให้เป็นโอกาส  ขอย้ำว่าควรใช้วิกฤตให้เป็นโอกาสจริงๆ ไม่ใช่ปล่อยให้โอกาสเป็นวิกฤต ใช้เวลาแสวงหาช่องทางการเรียนรู้ การเรียนต่อ การอบรม ต่อยอดเพื่อหาอาชีพเสริม

         เตรียมพร้อมอยู่เสมอ หาคำตอบจากสมมุติฐานที่ว่า ถ้าเราไม่ได้ทำงานที่นี่แล้ว จะทำอย่างไร สถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลงทุกวัน สิ่งที่ไม่คาดคิดก็อาจเกิดขึ้นได้มากมาย  ขณะที่พนักงานในฐานะที่เป็นมนุษย์เงินเดือนก็จำเป็นต้องใช้ศักยภาพพร้อมกับแผนสำรองในชีวิต ไม่ว่าสถานการณ์จะรุนแรงเพียงใดก็ตาม

ที่มา  ดร.พจน์  ใจชาญสุขกิจ

ข้อคิดเห็น  อ่านบทความของท่าน ดร.พจน์  ใจชาญสุขกิจ แล้วรู้สึกเครียด  รับรู้กับสภาพการณ์ของสังคมในทุกๆด้าน ความรู้เป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงไปตลอด และเราควรมีความรู้สู่ความเป็นมืออาชีพ

 

หมายเลขบันทึก: 281815เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2009 15:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สิ่งที่ทำได้คือ มองด้านบวกเข้าไว้ค่ะ

 

คิดว่าเดินทางสายกลางจะทำให้เราสุขกาย สุขใจมากยื่งขึ้นนะคะ

มาเยี่ยมชมผลงานครับและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของพวกเราครับ

ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นใจ เหนื่อยก็พักบ้างเป็นไร

ขอบคุณทุกท่านที่มาเยี่ยมค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท