ม.ทักษิณประสบความสำเร็จ ในโครงการเพิ่มขีดความสามารถฯ สสส. สนับสนุนทุนเป็นปีที่ 2 และได้รับงบประมาณสนับสนุนเพิ่มในโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชน และครอบครัว


มหาวิทยาลัยทักษิณ จัดพิธีลงนามความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย โครงการเพิ่มขีดความสามารถขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชน และครอบครัว เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2552 เวลา 09.00 น. ณ โรงแรมวีว่า อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยนายสมพร ใช้บางยาง รองปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิดและปาฐกถาพิเศษเรื่อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชนและครอบครัว

มหาวิทยาลัยทักษิณ จัดพิธีลงนามความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย โครงการเพิ่มขีดความสามารถขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชน และครอบครัว เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2552 เวลา 09.00 น. ณ โรงแรมวีว่า อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา  โดยนายสมพร ใช้บางยาง รองปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิดและปาฐกถาพิเศษเรื่อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชนและครอบครัว

  

                มหาวิทยาลัยทักษิณ ได้รับทุนสนับสนุนโครงการเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับตำบลเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชนและครอบครัว จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมคุณภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับตำบลสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชนและครอบครัวในพื้นที่รับผิดชอบของตนเอง โดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในทุกระดับ และมหาวิทยาลัยทักษิณ ได้จัดประชุมเพื่อลงนามความร่วมมือระหว่างสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มหาวิทยาลัยทักษิณ และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นระดับตำบลในวันที่ 15-16 กรกฎาคม 2552 ณ ห้องสกายรูม โรงแรมวีว่า จังหวัดสงขลา

               

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุฑารัตน์  สถิรปัญญา  ผู้บริหารโครงการฯ และผู้รักษาการในตำแหน่งผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพและประเมินผล มหาวิทยาลัยทักษิณ  กล่าวว่า  ช่วงระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยทักษิณ ได้รับงบประมาณจาก สสส. ให้ดำเนินโครงการเพิ่มขีดความสามารถสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งร่วมมือเรียนรู้กระบวนการทำงานร่วมกันระหว่าง 7 มหาวิทยาลัย โดยมหาวิทยาลัยทักษิณจะต้องดำเนินการสร้างความตระหนักเพื่อลดปัญหาสุขภาพใน 7 ประเด็นคือ อุบัติเหตุจราจร  อาหาร การออกกำลังกาย  บุหรี่  แอลกอฮอล์และสารเสพติด เพศสัมพันธ์  และ สุขภาพจิต  ซึ่งความสำเร็จในปีแรกส่งผลให้ สสส. พิจารณาจัดสรรทุนสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยทักษิณ ดำเนินโครงการเพิ่มขีดความสามารถฯ ในปีที่ 2   โดยจัดสรรงบประมาณให้สำหรับดำเนินกิจกรรม 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1  คือโครงการเพิ่มขีดความสามารถสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ ปีที่ 2   มุ่งเน้นพัฒนาสุขภาพของบุคลากรและนิสิตภายใน มหาวิทยาลัยทักษิณ  จากเดิมมุ่งเน้นใน 7 ประเด็นปัญหาในปีที่ 1 เป็น 8 ประเด็นปัญหาในปีที่ 2  คือเพิ่มการรณรงค์รักษาสิ่งแวดล้อม สำหรับงบประมาณส่วนที่ 2 คือโครงการเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชน และครอบครัว มุ่งพัฒนาสุขภาวะของประชาชนในท้องถิ่น โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน และครอบครัว การได้รับงบประมาณสนับสนุนในครั้งนี้ เกิดจากการประเมินคุณภาพและศักยภาพของมหาวิทยาลัยจากคณะกรรมการประเมินผลโครงการฯ ของ สสส.  พิจารณาจัดสรรให้ 3 มหาวิทยาลัย  ภาคใต้ (มหาวิทยาลัยทักษิณ)  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (มหาวิทยาลัยมหาสารคาม) และภาคเหนือ (มหาวิทยาลัยแม่โจ้)  โดยมีเป้าหมายหลักคือ การพัฒนาชุมชน โดยเพิ่มความสามารถ และความเข้มแข็งให้กับองค์กรชุมชน และคนของชุมชนอย่างยั่งยืน ต้องดำเนินงานผ่านการสร้างเสริมขีดความสามารถของเจ้าของพื้นที่ให้สามารถแก้ไขปัญหาตนเองให้ได้ โดยมีหลักคิดสำคัญและกรอบการทำงานคือ มหาวิทยาลัยจะเป็นพี่เลี้ยงสนับสนุน นิเทศติดตาม การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ดำเนินกิจกรรมกับเด็ก เยาวชน พ่อแม่ผู้ปกครอง หรือผู้นำศาสนา ปราชญ์ ผู้นำชุมชน ในรูปแบบต่างๆ โดยนำเอาการจัดการความรู้หรือเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งในระดับพื้นที่ ชุมชน จังหวัด และระดับภาค มาใช้เป็นเครื่องมือเสริมพลังการเรียนรู้ และสร้างพลังเพิ่มให้คนทำงาน

                โครงการเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชน และครอบครัว มีระยะเวลาดำเนินงาน 12 เดือน ตั้งแต่สิงหาคม 2552 กรกฎาคม 2553  ในวันที่ 15-16  กรกฎาคม 2552 มหาวิทยาลัยทักษิณ ได้จัดประชุมเพื่อลงนามความร่วมมือระหว่างสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มหาวิทยาลัยทักษิณ และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นระดับตำบล และจัดทำแผนหลักในการดำเนินงาน ขึ้น ณ ห้องสกายรูม โรงแรมวีว่า อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา  ซึ่งมี อบต.และ เทศบาลระดับตำบล จากทั่วภาคใต้เข้าร่วมลงนามความร่วมมือจำนวน 50 แห่ง จาก 5 จังหวัดประกอบด้วย จังหวัดสงขลา 12 แห่ง  จังหวัดพัทลุง 21 แห่ง  จังหวัดตรัง 4 แห่ง  จังหวัดสตูล 5 แห่ง และ จังหวัดนครศรีธรรมราช 8 แห่ง  คาดว่าเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ อปท. ทุกแห่งที่เข้าร่วมโครงการจะร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก เยาวชน และครอบครัวในท้องถิ่นของตนเองและช่วยลดปัญหาต่างๆ ในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

คำสำคัญ (Tags): #onblog#online#pr#sar#tsu
หมายเลขบันทึก: 281716เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2009 09:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มาชม

มาเชียร์

วาว ๆ คนมอเดียวกันนะนี่...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท