ประทับใจเวทีเสวนาคุณเอื้อที่บ้านผู้หว่าน


กระบวนการเสวนา โดย สคส.ได้จัดบรรยากาศการเสวนาเป็นไปอย่างสบาย ๆ ไม่เร่งรีบ ทำให้ได้ tacit knowledge แบบไม่รู้ตัว

ดิฉันมีโอกาสเข้าร่วมเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้"คุณเอื้อ" ที่บ้านผู้หว่าน อ.สามพราน จ.นครปฐม เมื่อวันที่ 8-9 พ.ค.2549 มีความประทับใจหลายอย่าง ดังนี้

1.กระบวนการเสวนา โดย สคส.ได้จัดบรรยากาศการเสวนาเป็นไปอย่างสบาย ๆ ไม่เร่งรีบ ทำให้ได้ tacit knowledge แบบไม่รู้ตัว

วันแรก

ภาคเช้า เริ่มตั้งแต่ศจ.นพ.วิจารณ์ พานิช เปิดเวทีซึ่งนอกเหนือจากวัตถุประสงค์ทั่วไปที่แจ้งล่วงหน้าแล้วยังมีประเด็นที่ท่านเน้นคือ การสร้างความยั่งยืนขบวนการ KM ในประเทศไทย และsynergy(สนธิพลัง) ให้เกิดประโยชน์ต่อบ้านเมืองได้อย่างไร และคาดหวังว่าจะนำไปสู่การ action ของคุณเอื้อต่อไป

จากนั้นมีการนำเกมส์เปิดหัวใจ นำไปสู่การรู้จักคุ้นเคยกันมากขึ้นโดยคุณสุปราณี ไม่น่าเชื่อว่าเป็นการดำเนินการครั้งแรก ทำได้ดีและสนุกสนานมาก

แบ่งกลุ่ม 2 กลุ่มเล่าประสบการณ์ความสำเร็จของคุณเอื้อ ช่วงนี้มีความรู้ที่หลากหลายไหลหลั่งออกมาจากประสบการณ์ตรง ทั้งด้านสาธารณสุข การแพทย์ การศึกษา บริษัท true การเกษตรและอื่น ๆ  ทั้งในระดับชุมชนและองค์กร แล้วคุณลิขิตนำเสนอในวงใหญ่เป็นการสรุปแก่นความรู้และขุมความรู้

ภาคบ่าย แบ่งกลุ่มย่อยตามแก่นความรู้ 3 กลุ่มคือ (1)การใช้ KMเป็นเครื่องมือบูรณาการงานประจำเพื่อพัฒนาคุณภาพของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล(2)การบริหารจัดการcop(3)การพัฒนาบุคคลากรให้เป็นบุคคลเรียนรู้และองค์กรแห่งการเรียนรู้  โดยนำเสนอผลของกลุ่มย่อยในวงใหญ่

ภาคกลางคืน มีกิจกรรมเชื่อมความสัมพันธ์โดยเล่นเกมส์ ให้พิจารณาว่าเรามีคุณลักษณะเข้ากับสัตว์ประเภทไหนคือหนู กระทิง หมี เหยี่ยว  แต่ละประเภทมีจุดเด่น จุดด้อย ให้รับรู้และแก้ไข ไม่มีใครสมบูรณ์พร้อมทุกอย่างและอาจารย์ ดร.ประพนธ์ ผาสุกยืด ได้เล่าคัมภีร์เต้าเต๋อจิงให้พวกเราฟัง เป็นปรัชญาที่เขียนโดยท่านเล่าจื้อ ที่สอนธรรมชาติ มนุษย์ ความจริงของกฎธรรมชาติ อาจารย์เล่าได้อย่างน่าสนใจ เป็นเรื่องใหม่ที่ไม่ทราบมาก่อนและเป็นหนังสือที่ตีพิมพ์มากเป็นอันดับ 2 รองจากคัมภีร์ไบเบิล

วันที่สอง

ภาคเช้า  แบ่งกลุ่มย่อย 2 กลุ่มวางแผนขับเคลื่อนชุมชนคุณเอื้อและเสนอผลในวงใหญ่

ภาคบ่าย ทำ AAR และสรุปปิดเวทีเสวนา

กระบวนการเสวนามีความลื่นไหล และผู้เข้าร่วมไม่ห่วงกังวลเรื่องเวลา บางครั้งลืมเวลาไปเลย ฝ่ายจัดการต้องคอยเตือนว่าทานข้าวได้แล้วคะ หรือถึงเวลาที่จะนำเสนอในวงใหญ่แล้วนะคะ โดยเสียงหวานๆ ของน้องหญิง(คุณนภินทร) จาก สคส.

2.เนื้อหาการเสวนา ทีมคุณลิขิตได้สรุปและจัดทำเป็น mind map ให้พวกเราด้วยความรวดเร็ว เป็นเรื่องที่ประทับใจเพราะมีน้องรุ่นใหม่ เป็น internship 2 คนและจาก สคส. อีก แต่ในมุมมองของดิฉันมีหลายประเด็น

  1.บทบาทของคุณเอื้อ  เริ่มที่ต้องมีใจก่อน ต่อไปคือทำหน้าที่เอื้ออำนวยและสนับสนุนต่อสิ่ง  ต่าง ๆ เพื่อให้กระบวนการ KM มีความลื่นไหลไม่ติดขัด และมีความต่อเนื่อง ชอบคำพูดของนพ.สมพงษ์มากที่พูดว่า คุณเอื้อควรหนุนให้ cop สร้างสรรค์งานอย่างมียุทธศาสตร์ นอกจากนี้ดิฉันยังเห็นว่าคุณเอื้อควรทำหน้าที่ในการ empower ทีมงาน และการยกย่องชมเชยก็เป็นกลยูทธ์ที่มีความสำคัญไม่น้อย

  2.การขับเคลื่อน cop    เริ่มจากการเสาะแสวงหาทีมแกน แล้วให้แกนเหล่านี้เป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อน โดยการวิเคราะห์และถามความต้องการของ cop เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นและพยายามมอบการตัดสินใจทั้งในเรื่องแผนงาน กระบวนการเป็นของ cop ตั้งแต่เริ่มแรก แล้วคุณเอื้อดูอยู่ห่าง ๆ คอยสนับสนุนตามที่ cop ต้องการ

  3.การพัฒนาบุคคลากรเป็นบุคคลเรียนรู้และองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้วย KM สิ่งสำคัญคือต้องมีการปรับโครงสร้างการทำงานที่เอื้อต่อการเป็น LO มิฉะนั้นการดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ จะไม่สามารถบรรลุผลได้เลย หากทุกคนในองค์กรไม่ได้ยึดสิ่งนี้ไว้ เพราะการเป็น LO เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและความทุ่มเทเสียสละเป็นอย่างมาก แม้ว่าหน่วยงานนั้นจะใช้ KM เป็น tool ไปสู่ LOแล้วก็ตาม นอกจากนั้นองค์กรต้องมีการกระตุ้น เร่งเร้าให้คนในองค์กรเป็นคนใฝ่รู้และมีหัวใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเองมากๆ อีกด้วย

ความจริงดิฉันมีความประทับใจผู้เข้าร่วมหลายท่าน   บางท่านรู้จักในบล็อก   บางท่านรู้จักผ่านหนังสือ มีโอกาสสัมผัสตัวตนจริง ๆ  ภายใต้บรรยากาศที่เปี่ยมไปด้วยความสุข สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ จะอยู่ในความทรงจำตลอดไป จะได้เล่าความประทับใจในประเด็นอื่นต่อไป ขอบคุณทีม สคส.  ทุกท่านและผู้เข้าร่วมที่มอบประสบการณ์ดี ๆให้

หมายเลขบันทึก: 28150เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2006 13:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท