Learning to QE: "ไข่หมูก"ขุนโจรชื่อดัง กับการจัดสวัสดิการในชุมชนแบบ Oppressed


กลุ่มคนที่ถูกกดทับ (Oppressed) กลุ่มต่าง ๆ น่าจะมีเงื่อนไขที่เหมือน ๆ กันคือการจัดสวัสดิการของชุมชน (Community Welfare) เพื่อรักษาความเป็นชุมชนนั้นไว้ ... หากเราได้เข้าใจ ก็น่าจะเป็นหนทางหนึ่งที่จะนำเราไปสู่การทำให้ปัญหามันลดลงได้

     พักนี้ข่าวของขุนโจร "ไข่หมูก" ตามที่สังคมกล่าวหาและเจ้าตัวเองก็ยอมรับกับผลงานที่ฆ่าผู้อื่นมาแล้ว 32 ราย และเรียกค่าคุ้มครองอีกหลายสิบครั้ง ไข่หมูก หรือนายเจิม (ผมของดไม่ใส่นามสกุล เพราะคงมีญาติพี่น้องอีกหลายคนที่ไม่เกี่ยวข้องด้วย แต่นามสกุลเดียวกันกับนายเจิม) เป็นชาวป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง เป็นที่รู้จักของคนแถบภาคใต้หลายจังหวัด ตั้งแต่สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง สงขลา ไล่ลงไปเรื่อย ๆ ลงมาจนถึงบริเวณ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ตอนนี้ที่กลับมาขึ้นชื่ออีกครั้งเพราะหลังจากสึกออกมาแล้วก็ต้องสังสัยว่าเข้าไปเกี่ยวข้องกับคดีเรียกค่าคุ้มครองในหลายคดีทีเดียว เพียงพิมพ์คำว่า "ไข่หมูก" ใน Google ก็จะพบเรื่องราวที่ถูกนำเสนอไว้มากมาย แต่ขอให้ใช้วิจารณญาณด้วย เพราะข่าวก็คือข่าว สำหรับตอนที่ยังบวชอยู่นั้น คุณวานิช สุนทรนนท์ แห่ง นสพ.ฅนตรัง ได้สัมภาษณ์และถอดความไว้อ่านได้ที่นี่ (คลิ้ก

     ผมประมวลสรุปได้ย่อ ๆ นิดนึงเพื่อปูเรื่อง ไข่หมูกมีประวัติตกเป็นผู้ต้องหาของทางราชการตั้งแต่ปี 2519 เริ่มมีคดีเรียกค่าไถ่ในปี 2531 ต่อมาถูกจับกุมในปี 2534 โดนลองดีจึงขอแหกคุกให้ดูในปี 2537 แล้วลอยนวลเย้ยทางการอยู่หลายเดือน เพียงเพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าระหว่างเขากับเจ้าหน้าที่บ้านเมืองใครแน่กว่ากัน แม้ระหว่างการหลบหนีก็ยังร่อนจดหมายเรียกค่าคุ้มครอง แล้วต่อมาก็ตัดสินใจมอบตัวกับทหาร เพราะเชื่อในศักดิ์ของทหารกว่า ก่อนพากันมามอบตัวกับผู้ว่าฯ ในตอนนั้นคือนายประสิทธิ์ พรรณพิสุทธิ์ (คนเดียวกันกับที่เกิดการชุมชุมใหญ่ปิดถนนสายเอเซีย ที่แม่ขรี ชาวบ้านยื่นข้อเสนอให้ย้ายออกนอกจังหวัด เนื่องจากเกิดความเข้าใจว่าผู้ว่าฯ แย่งคิวหลวงพ่อคูณ สมัยที่หลวงพ่อคูณเดินทางวัดแม่ขรี) โดยอดีตผู้ว่าฯ ท่านได้เขียนถึงไข่หมูกไว้ในหนังสือสรุปบทเรียนจากการทำงานในชีวิตราชการของท่านไว้ดังนี้

          "ผมได้ดำเนินการทั้งทางลึกและทางกว้าง จนในที่สุดนายเจิม ...หรือ “ไข่หมูก” ก็เข้ามอบตัว ผมได้สร้างสัมพันธ์ที่ดีกับครอบครัว “...” รวมทั้งให้ความเป็นธรรม เข้าใจ และเห็นใจเมื่อทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงที่เขาจำต้องยึดอาชีพโจร เมื่อเขาถูกขังในเรือนจำยังเขียนจดหมายติดต่อเล่าทุกข์สุขและขอเสื้อผ้าจากผม ไข่หมูกสารภาพกับผมว่าที่สามารถหลบหนีการจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เพราะมี คาถาหายตัว ซึ่งคาถาดังกล่าวไข่หมูกได้มอบตอบแทนความดีของผม เพียงแต่ยังไม่ได้ทดลองใช้ จึงยังไม่ได้เผยแพร่จนขณะนี้"

     ไม่ใช่การเขียนถึงคือการนิยมชมชอบ แต่เพียงสนใจในวิธีคิด และสนใจว่าเขาถูกกดทับ (Oppressed) อย่างไร ถึงได้ออกมาเป็นอย่างนี้ มันหลงยุคและผิดแผกไปจากคนอื่น ๆ ในสังคมยุคนี้เอามาก ๆ ดูวิธีดิดที่เขาให้สัมภาษณ์ไว้นะครับ 

          "ก็เหมือนที่คุณพ่อของอาตมา พูดเอาไว้ว่า เราคนจนไม่มีอะไร มีแต่ใจกับปืนเท่านั้น” 
                                (คลิ้ก) คุณวานิช สุนทรนนท์ แห่ง นสพ.ฅนตรัง สัมภาษณ์ไว้ นำเสนอเมื่อ 24 เมษายน 2551

     ต่อความสนใจที่บอกว่าอะไรที่ทำให้เขาดูเหมือนจะถูกกดทับ (Oppressed) เขาถึงได้ออกมาในรูปของขุนโจรตลอดกาลอย่างนี้ 

          "จุดเริ่มต้นเป็นโจรคือ ญาติไปจับคนเรียกค่าไถ่โดยที่ผมไม่รู้เรื่องเลย เขาเอาเงินมาให้ผม 7,000 บาท บอกว่าเป็นค่าที่พักพิง ตอนแรกผมจะเอาเพราะไม่คิดว่ามันจะเลวร้าย แต่มีคนบอกว่าอย่าเอา ถ้าเอาเงินแบบนี้จะเดือดร้อน ผมก็เลยไม่เอา แล้วหลังจากนั้นผมก็ไปแจ้งความให้ตำรวจรู้ แจ้งกำนันผู้ใหญ่บ้านให้รู้ แต่ตอนนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดอยู่พัทลุงแกบอกว่า ไม่ว่าใครที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้จับให้หมด เพราะเป็นคดีแรกในจังหวัดพัทลุง หลังจากนั้นผมก็ออกมามอบตัว พวกเจ้าหน้าที่เขาเข้าใจหมด แต่คนร้ายมันอ้างว่าผมเป็นสายด้วย เพราะมันโกรธที่ผมไปแจ้งตำรวจ หลังจากนั้นผมก็ไปสู้คดี ศาลตัดสินผมจำคุกตลอดชีวิต ส่วนคนที่ทำผิดจริงศาลตัดสินจำคุก 25 ปี เพราะทางโน้นมันสารภาพว่ามันกระทำจริงศาลเลยยกโทษให้ แต่ผมปฏิเสธว่าไม่ได้ทำผิดศาลเลยตัดสินตลอดชีวิต" 
                                (คลิ้ก) รายการเจาะใจสัมภาษณ์ไว้ นำเสนอเมื่อ 27 มีนาคม 2551 

     เล่ามาเสียยาวแต่เชื่อว่ามีหลายประเด็นที่น่าสนใจ มองว่ามันสะท้อนอะไรอีกมากมาย และว่ากันไปก็ไม่ได้แตกต่างจากบริเวณ 3 จังหวัดชายแดนใต้ที่เริ่มต้นขึ้นด้วยการสะสมภาวะที่ถูกกดทับ (Oppressed) จากหลาย ๆ อย่าง เพียงแต่เงื่อนไขเอื้อมันแตกต่างกัน เมื่อสุกงอมแล้วระเบิดออกมาเป็นอาชญากรรมที่เน้นใช้ความรุนแรงทั้งสิ้น มีประเด็นหนึ่งที่ไข่หมูกใช้ในชุมโจรของเขาคือ การจัดสวัสดิการชุมชน(Community Welfare) เพื่อความอยู่รอดของกลุ่ม และสามารถรักษาใจเอาไว้ให้เกาะเกี่ยวกันไปจนบรรลุเป้าหมาย ตามที่เขาบอกว่า 

          “โจรยุคอาตมา (สัมภาษณ์ตอนยังบวชอยู่) มีสัจจะเสมอ หากลูกน้องคนไหนตายกลุ่มโจรที่เหลือเมื่อเรียกค่าไถ่หรือเรียกค่าคุ้มครองมาได้เราก็จะนำเงินส่วนหนึ่งไปให้ญาติผู้เสียชีวิต ทำให้ความรักของกลุ่มเหมือนพี่น้องที่ยอมตายแทนกันได้”
                                (คลิ้ก) คุณวานิช สุนทรนนท์ แห่ง นสพ.ฅนตรัง สัมภาษณ์ไว้ นำเสนอเมื่อ 24 เมษายน 2551

     ในมุมมองที่สะท้อนของกลุ่มคนที่ถูกกดทับ (Oppressed) และเกิดเป็นปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ หรือชุมชนที่ใช้สารเสพติด หรือพูดง่าย ๆ ก็คือชุมชนของอาชญากร (คนที่ทำความผิดต่ออาญาบ้านเมือง) กลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้น่าจะมีเงื่อนไขที่เหมือน ๆ กันคือการจัดสวัสดิการของชุมชน (Community Welfare) เพื่อรักษาความเป็นชุมชนนั้นไว้ การจัดสวัสดิการชุมชนเป็นเรื่องพื้นฐานของชุมชนที่แข้มแข็งไม่ว่าจะเป็นที่ ต.ลำสินธ์ หรืออีกหลายพื้นที่อีกมากมายในปัจจุบัน เพียงแต่รูปแบบจะแตกต่างกันออกไปตามปัจจัยพื้นฐานของชุมชนแต่ละแห่ง ซึ่งล้วนมาจากฐานคิดเดียวกันคือการดำรงอยู่ของชุมชนอย่างมีสุขภาวะ รูปแบบของการจัดสวัสดิการชุมชนเหล่านั้นหากเราได้เข้าใจ ก็น่าจะเป็นหนทางหนึ่งที่จะนำเราไปสู่การทำให้ปัญหามันลดลงได้ แต่ความสำคัญมันอยู่ที่เราจะเอาตัวเข้าไปทำความเข้าใจมันให้ได้อย่างไร ความยากน่าจะอยู่ตรงนี้ แต่เชื่อว่าทำได้และมีประโยชน์แน่นอน

     บันทึกเพิ่มเติมวันที่ 5 สิงหาคม 2552 --> คุณ วานิช สุนทรนนท์ รายงานข่าวไว้ว่า (คลิ้ก-->) จอมโจรเรียกค่าคุ้มครอง “ไข่หมูก” เจ้าของ “คาถาหายตัว” สิ้นลาย ยอมมอบตัวกับ รอง ผบ.ตร. แล้ว 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 281342เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2009 21:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

โจรนี่ ทำบุญด้วยอะไรหนอ กรรม ตาม ช้าจริง

สวัสดีครับอาจารย์หมอ JJ

  • 555 ผมก็ว่าอย่างนั้นแหละครับ
  • สงสัยทำบุญด้วยการจัดสวัสดิการชุมชนครับ

จำได้ค่ะ ไข่หมูก สึกแล้วไม่น่ากลับไปเรียกค่าคุ้มครองอีก

สวัสดีครับคุณแก้ว

  • ยังไม่แน่ชัดครับ เพียงตกเป็นผู้ต้องสงสัยครับ
  • แต่หลังจากสึกนี่แหละครับที่ตกเป็นข่าวอีกครั้ง 

สวัสดีค่ะคุณชายขอบดีใจจังเลยค่ะที่เข้ามาแล้วเจอ แบบว่าเห็นออนใน gmail ทุกวันสบายดีนะคะ

สวัสดีคะ

• พี่ชายขอบ เหตุการณ์ปิดถนนที่พัทลุงที่พี่ชายขอบเล่า ทำให้นึกถึงช่วงสมัยนั้น พัทลุงมีเรื่องมากมาย ไม่ว่า ไข่มูก ลูกช้าง น้องใหญ่ จนบางคนเอาไปแต่งเป็น คำขวัญของพัทลุง

• แต่บทความของพี่ชายขอบ ทำให้นึกถึงคำที่ว่า ทุกอย่างต้องมีเหตุ แต่ การโต้ตอบเหตุ หรือการแก้ไขปัญหาของแต่ละคน ก็ขึ้นอยู่กับวิธีคิด มุมมองของแต่ละคนเหมือนกัน ทางออกมันมีหลายทางคะ ในความคิด ของก้ามปู เราต้องสร้างทักษะการคิด การแก้ปัญหา กันตั้งแต่เด็ก เลยคะ (จำคำพูดของพี่เหลิมแกนนำต่อต้านยาเสพติดของบ้านคลองหมวย บอกว่า เด็กเหมือนผ้าขาว เราต้องใส่สิ่งดี ๆ ตั้งแต่เด็กเราจึงจะได้ผ้าที่สวยงาน )

สวัสดีครับ อ.ลูกหว้า

  • อ่อ Gmail นะบางทีเปิด แต่คนหลับก็มีครับ ทั้งนั่งหลับในและนอนหลับจริง
  • ดีใจเช่นกันครับ

สวัสดีครับคุณก้ามปู

  • ใช่ครับปัญหาในปัจจุบันมันอยู่ที่กระบวนการคิด 
  • เมื่อวานได้ฟังคุณครูลิลลี่ (หากจำไม่ผิด คนที่นักเรียนชอบไปติวกับท่าน) ให้สัมภาษณ์เรื่องปัญหาของการใช้ภาษาไทย คำแรกเลยที่ท่านพูดว่าปัญหาของการใช้ภาษาไทยในปัจจุบันคือ การคิด โดยท่านบอกว่าเด็กเดี่ยวนี้อ่านเอาเรื่องไม่ได้ คืออ่านจบแล้ว คิดต่อไม่ได้ว่าเขาบอกอะไร แต่จะต่อยอดอะไรได้บ้าง
  • เห็นเป็นตัวอย่างนะว่าการคิดนั่นแหละสำคัญ
  • ไข่หมูก น้องใหญ่ นี่พอรู้เรื่องนะ แต่ลูกช้างเนี่ยไม่ทราบว่าคือเรื่องอะไร เล่าหน่อยสิ

คาถาหายตัวของไข่หมูก คือ มีจนท. เรือนจำพัทลุง สับสวิทซ์ไฟฟ้าบนกำแพง ให้นักโทษหนี แล้วใช้สุนัขตำรวจไล่ตามขึ้นไปบนเขาวังเนียง หาไม่เจอ ก็หายตัวได้จริงๆ ใช้คาถา บทที่ว่า กล่อม จนท จนเคลิ้ม และอยู่หมัด แว่วๆ จนท.ที่ต้องสงสัยนามสกุลคล้ายกับของพ่อเฒ่าไข่หมูก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท