รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาแบบฝึกทักษะชุดคำกลอนอักษรนำ


คำกลอนอักษรนำ

บทคัดย่อ

 

ชื่อเรื่อง                  รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาแบบฝึกทักษะชุดคำกลอนอักษรนำ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์การอ่านและเขียนอักษรนำ โดยผู้ปกครองมีส่วนร่วม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒

ผู้วิจัย                     นางเพลินตา จันทร์เนตร์

ปี                             ๒๕๕๒

                               

                                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้

                                ๑. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะชุดคำกลอนอักษรนำ

                                ๒. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านและเขียนอักษรนำของนักเรียนก่อนและหลังใช้แบบฝึกทักษะชุดคำกลอนอักษรนำ โดยผู้ปกครองมีส่วนร่วม

                                ๓. เพื่อศึกษาความก้าวหน้าการอ่านและเขียนอักษรนำของนักเรียน

                                ๔. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีส่วนร่วมในการประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรมทำแบบฝึกทักษะชุดคำกลอนอักษรนำของนักเรียน

                                ๕. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะชุดคำกลอนอักษรนำ

                                กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การวิจัย คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ภาคเรียนที่ ๒

ปีการศึกษา ๒๕๕๐ โรงเรียนชุมชนวัดโขดเขมาราม อำเภอบางปะหัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต ๑ จำนวน ๒๖ คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยมี ๕ ชนิด ได้แก่

                                ๑. แบบฝึกทักษะชุดคำกลอนอักษรนำ จำนวน ๑๐ ชุด ประกอบด้วย

   แบบฝึกทักษะชุดคำกลอนอักษรนำ   ชุดที่ ๑       นำ 

   แบบฝึกทักษะชุดคำกลอนอักษรนำ   ชุดที่ ๒       นำ 

   แบบฝึกทักษะชุดคำกลอนอักษรนำ   ชุดที่ ๓       นำ 

   แบบฝึกทักษะชุดคำกลอนอักษรนำ   ชุดที่ ๔       นำ 

   แบบฝึกทักษะชุดคำกลอนอักษรนำ   ชุดที่ ๕       นำ 

   แบบฝึกทักษะชุดคำกลอนอักษรนำ   ชุดที่ ๖       นำ 

   แบบฝึกทักษะชุดคำกลอนอักษรนำ   ชุดที่ ๗      นำ 

   แบบฝึกทักษะชุดคำกลอนอักษรนำ   ชุดที่ ๘      นำ 

   แบบฝึกทักษะชุดคำกลอนอักษรนำ   ชุดที่ ๙       นำ 

   แบบฝึกทักษะชุดคำกลอนอักษรนำ   ชุดที่ ๑๐  อักษรสูงและอักษรกลาง

นำอักษรต่ำเดี่ยว

๒. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านและเขียนอักษรนำ

๓. แบบทดสอบวัดความก้าวหน้าการอ่านและเขียนอักษรนำของนักเรียน

๔. แบบประเมินความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีส่วนร่วมในการประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรมทำแบบฝึกทักษะชุดคำกลอนอักษรนำของนักเรียน

๕. แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะชุดคำกลอนอักษรนำ

เครื่องมือวิจัยทั้ง ๕ ชนิด ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ เน้นความตรงเชิงเนื้อหากับวัตถุประสงค์และค่าความเชื่อมั่น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบที (t-test)

ผลการวิจัยพบว่า

๑. การสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะชุดคำกลอนอักษรนำที่ผู้วิจัย

สร้างขึ้นโดยเริ่มจากง่ายไปหายาก ภาพเร้าความสนใจ ชวนให้คิด นำไปใช้สอนควบคู่กับ

แผนการจัดการเรียนรู้ ผลปรากฏว่าแบบฝึกทักษะชุดคำกลอนอักษรนำที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ ๘๑.๖๙/๘๑.๖๗ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐

๒. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านและเขียนอักษรนำของนักเรียนก่อนและหลัง

ใช้แบบฝึกทักษะชุดคำกลอนอักษรนำโดยผู้ปกครองมีส่วนร่วม ผลปรากฏว่า เมื่อทำการทดสอบนักเรียน ผลสัมฤทธิ์การอ่านและเขียนอักษรนำก่อนใช้แบบฝึกทักษะชุดคำกลอนอักษรนำมีคะแนนเฉลี่ย ( S.D. = ๑๖.๒๗) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน          (S.D. = ๒.๐๗) และผลสัมฤทธิ์การอ่านและเขียนอักษรนำหลังใช้แบบฝึกทักษะชุดคำกลอนอักษรนำมีคะแนนเฉลี่ย (๒๔.๕๐) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. = ๓.๒๙) มีผลต่างค่า t = ๓.๑๐ สรุปได้ว่าผลสัมฤทธิ์การอ่านและเขียนอักษรนำของนักเรียนหลังการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะชุดคำกลอนอักษรนำโดยผู้ปกครองมีส่วนร่วมสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

๓. การศึกษาความก้าวหน้าการอ่านและเขียนอักษรนำของนักเรียนหลังใช้แบบฝึกทักษะชุดคำกลอนอักษรนำโดยผู้ปกครองมีส่วนร่วม ผลปรากฏว่ามีความก้าวหน้าทุกทักษะ ได้แก่ การอ่านคำอักษรนำ มีความก้าวหน้า ( +๒๘.๘๗) การอ่านประโยคอักษรนำ มีความก้าวหน้า ( +๓๐.๒๒) การเขียนคำอักษรนำมีความก้าวหน้า ( +๒๙.๒๙) และการเขียนประโยคอักษรนำมีความก้าวหน้า ( +๓๐.๕๔) สรุปได้ว่าการอ่านและเขียนอักษรนำของนักเรียนหลังใช้แบบฝึกทักษะชุดคำกลอนอักษรนำโดยผู้ปกครองมีส่วนร่วมมีความก้าวหน้าทุกทักษะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ได้แก่ การอ่านคำอักษรนำ  การอ่านประโยคอักษรนำ  การเขียนคำอักษรนำและการเขียนประโยคอักษรนำ

๔. การประเมินความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีส่วนร่วมในการประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรมทำแบบฝึกทักษะชุดคำกลอนอักษรนำของนักเรียน ผลปรากฏว่า ผู้ปกครองมีความคิดเห็นที่มีส่วนร่วมในการประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรมทำแบบฝึกทักษะชุดคำกลอนอักษรนำในภาพรวมทั้ง ๑๐ ชุดอยู่ในระดับมากที่สุดที่ระดับความคิดเห็น(  = ๓.๖๖; S.D.=๐.๑๔) และในเรื่อง ความสนใจ ความตั้งใจจริง การได้รับความรู้ รู้จักคิดวิเคราะห์ ชอบและเพลิดเพลินและปฏิบัติกิจกรรมสำเร็จด้วยดีในการทำแบบฝึกทักษะชุดคำกลอนอักษรนำทั้ง ๑๐ ชุด ของนักเรียน โดยผู้ปกครองมีส่วนร่วมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ที่ระดับความคิดเห็น ( = ๓.๕๐, S.D. = ๐.๓๕) สรุปได้ว่าผู้ปกครองมีความคิดเห็นที่มีส่วนร่วมในการประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรมทำแบบฝึกทักษะชุดคำกลอนอักษรนำของนักเรียนทั้ง ๑๐ ชุด ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

๕. การประเมินผลความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะชุดคำกลอนอักษรนำ ผลปรากฏว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อแบบฝึกทักษะชุดคำกลอนอักษรนำ ทั้ง ๑๐ ชุด ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ที่ระดับ ( = ๔.๘๕,         S.D. = ๐.๐๙) สรุปได้ว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อแบบฝึกทักษะชุดคำกลอนอักษรนำทั้ง ๑๐ ชุด ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

 

หมายเลขบันทึก: 281227เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2009 14:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท