นำนโยบายรักการอ่านหนังสือสู่วาระแห่งชาติ


การอ่านเพื่อการพัฒนา

    การอ่านถือเป็นหัวใจสำคัญของการเรียนรู้ ประชากรที่มีนิสัยรักการอ่าน ย่อมง่ายต่อการพัฒนาประเทศ จากการสำรวจขัอมูลพบว่าคนไทยอ่านหนังสือเพียงปีละ 2เล่ม  หรือเฉลี่ยวันละ  7  บรรทัดอัตราการใช้กระดาษต่อหัวของคนไทยต่ำกว่าคนยุโรป หรือญี่ปุ่นหลายเท่าตัว   มีคนไม่อ่านหนังสือถึง 22 ล้านคน หรือเกือบ 40%  ของประเทศ  ด้วยเหตุผลของ  การไม่อ่านหนังสือเพราะไม่ชอบ ชอบดูโทรทัศน์ฟังวิทยุมากกว่า  สำหรับในส่วนของหนังสือที่ชอบอ่านสรุปได้ว่าชอบอ่าน นิยายน้ำเน่า   ข่าวดารา  ในส่วนของเยาวชน  อายุ 10-  14  ปี   60%  ไม่ชอบอ่านและไม่สนใจ    คนส่วนใหญ่จะไม่ชอบอ่าน  วรรณกรรม บทความ  บทวิเคราะห์  (ฐานเศรษฐกิจ  : 2552 ) เมื่อเราศึกษาจากข้อมูลจะเห็นว่า เป็นการยากที่จะทำให้คนไทยหันมาสนใจเห็นความสำคัญของการอ่านหนังสือ  รัฐบาล จึงได้นำวิกฤติการอ่านหนังสือของคนไทยสู่วาระแห่งชาติเพราะได้เล็งเห็นแล้วว่าตราบใดที่ยังปลูกฝังจิตสำนึกรักการอ่านหนังสือของคนไทยไม่ได้  ก็คงหวังไม่ได้ที่จะไปพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ เช่น  ทางการศึกษา  การเมือง  สังคม  หรือ เศรษฐกิจ  ดังเช่นนโยบายการศีกษาที่เสนอเป็นวาระแห่งชาติที่น่าสนใจ และสมควรจะนำมาปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง

       " ส่งเสริมการอ่านเป็นวาระแห่งชาติ"   คำแถลงนโยบายของนายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฎ์ ร. ม. ต. กระทรวงศึกษาธิการในโอกาสปฏิบัติผลงานในรอบ  สองเดือน ในจำนวน 16 ข้อที่ได้ดำเนินการปฏิบัติไปแล้วในข้อ16 มีใจความสำคัญว่า    ได้ผลักดันการอ่านเป็นวาระแห่งชาติโดยตั้งคณะกรรมการมีก.ศ.น.เป็นฝายเลขานุการ    เนื่องจากการอ่านถือเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นโดยมุ่งเน้นซอฟต์แวร์ มากกว่า ฮาร์ดแวร์ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาคือต้องระดมทรัพยากร ทั้งจากภาคเอกชน  และภาคส่วนอื่นๆ     จะเห็นว่าการส่งเสริมการอ่านเป็นสิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญที่รัฐบาลจะดำเนินการโดยลำพังไม่ได้  ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในสังคมโดยเฉพาะประชาชนที่จะเป็นผู้นำการอ่านมาสร้างป้ญญาให้ตนเอง เพื่อการแก้ปัญหาที่ดีมีเหตุผล  มีวิจารณญาณ ในการตัดสินใจ

        จุดประสงค์ในการอ่าน  มี3  ประการ คือ   1.  การอ่านเพื่อเก็บความรู้  และการอ่านเอาเรื่อง  2.  การอ่านวิเคราะห์     3.  การอ่านเพื่อตีความ   (Thai  goodview@ hotmail. com )  เมื่อมาพิจารณาจากข้อมูลการอ่านหนังสือของคนไทยแล้ว  คนไทยจึงขาดข้อมูลในการเก็บความรู้  การอ่านเอาเรื่อง  การวิเคราะห์ และการตีความซึ่งเป็นจุดอันตรายที่ทำให้การพัฒนาหยุดชะงักล่าช้า   เพราะขาดเครื่องมือในการนำมาใช้เยียวยาหรือ ฟื้นฟูปัญญาของคนไทย เพื่อนำไปสู่การพัฒนา สาเหตุสำคัญของการไม่ชอบอ่านหนังสือของคนไทยน่าจะมาจากสาเหตุต่างๆดังนี้           ปัญหาที่ตัวหนังสือ  1. หนังสือมีราคาแพง    2.เนื้อหาไม่น่าสนใจ เป็นเรื่องไกลตัว ไม่เหมาะที่จะนำมาประยุกต์ ใช้ในชีวิตประจำวัน    3.ขาดแหล่งค้นคว้าควรส่งเสริมให้มีห้องสมุดประจำหมู่บ้านหรือชุมชนให้มีที่อ่านหนังสือราคาประหยัด ไม่ต้องไปซี้อหา     4. ภาษาที่ใช้ในหนังสือควรใช้ภาษาที่ง่าย ต่อการทำความเข้าใจ โดย เฉพาะการรับแนวคิดจากนักเขียนต่างประเทศแล้วนำมาแปลแต่ขาดอรรถรส   ความเป็นไทย ไม่ว่าจะเป็นสำนวนภาษา  การใช้คำ   หรีอโครงเรื่องที่ไม่เหมาะสม กับสังคมไทย  การอ่านที่เข้าใจยาก  สำหรับคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ 5.  มีสื่ออื่นๆที่น่าสนใจมากกว่าหนังสือ

          ปัญหาในด้านตัวบุคคลที่เกี่ยวข้อง   เช่น พ่อแม่ขาดการส่งเสริมสนับสนุนนิสัยรักการอ่านให้กับลูก     ระบบการสอนของไทยขาดการให้สร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเอง   ครูเป็นผู้กำหนดความรู้มากกว่าให้นักเรียนค้นคว้าจึงเกิดการชะงักงันทางการศึกษา    การทำรายงานแทนที่จะจะค้นคว้าก็ทำเพืยงเพื่อให้ผ่านพ้นไป    ปัญหาในตัวครู  ครูรับระบบการเรียนแบบเดิมๆมาคือการเป็นผู้รับความรู้จากครูโดยตรง  จึงถ่ายทอดแบบการคิดสู่คนรุ่นหลัง หรีอการเลียนแบบพฤติกรรม  เด็กจึงขาดการคิดการอ่าน    ครูไทยไม่ฝึกนิสัยใฝ่รู้  เด็กจึงไม่ได้รับการฝึกฝนการอ่าน    หรือหากเด็กเหล่านั้นผ่านการอ่านเมื่อเกิดความคิดที่แดกต่าง เป็นสิ่งที่ครูรับไม่ได้  และในบางครั้งนักเรียนกึไม่ได้รับการฝึกฝนในด้านการคิดที่สร้างสรรค์ทำให้เกิดปัญหาระหว่างผู้เรียนและผู้สอนเนื่องจากคำถามที่ไม่สร้างสรรค์

          จากเหตุผลดังกล่าว นโยบายการผลักดันการอ่านสู่วาระแห่งชาติ  จะต้องเริ่มผลักดันที่คนรุ่นใหม่เพื่อคนรุ่นใหม่จะได้นำการเลียนแบบที่ดีสู่คนรุ่นต่อไป  ไม่เช่นนั้นนโยบายจะสำเร็จไม่ได้ การพัฒนาที่ตัวครูการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบการแก้ปัญหาที่การสร้างนิสัยรักการอ่าน  ถือเป็นจุดสำคัญในการพัฒนาประเทศในทุกๆด้าน  เมื่อคนไทยมีนิสัยรักการอ่านเหมือนประเทศที่ประชากรเห็นความสำคัญของการอ่าน ประเทศเหล่านั้นจึงมีความเจริญก้าวหน้า   คนไทยก็เช่นกันเมื่อผ่านความสำเร็จจากวาระแห่งชาติในด้านการอ่านก็พร้อมที่จะนำพาประเทศไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและยืนอยู่บนลำแข้งของตัวเองโดยไม่ต้องคอยรับนโยบายและทำตามประเทศที่มีประชากรทีมีปัญญาอันเกิดจากการอ่านหนังสือ ที่ถือเป็นปัจจัยหลักของการพัฒนาคนนำพาสู่การพัฒนาประเทศ

หมายเลขบันทึก: 280947เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2009 13:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณมากสำหรับความรู้ มีประโยชน์ต่อการศึกษามาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท