ปัญหาของชาวนาไทย..ไม่ได้ไร้ทางออก


แต่เราสามารถใช้กระบวนการจัดการความรู้มาใช้ เพื่อเรียนรู้และแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ หากเรามีความเข้าใจและร่วมมือกัน

          ตอนเย็นของเมื่อวานนี้ (วันที่ 10 พฤษภาคม 2549) ผมดูรายการของช่อง ไอทีวี มีรายงานพิเศษเกี่ยวกับปัญหาหนี้สินของชาวนาไทย  ซึงเป็นรายงานที่สะท้อนให้เห็นถึงภาวะหนี้สินของชาวนาว่ามีหนี้สินมากทั้งในและนอกระบบ

          ความจริงก็เป็นเช่นนั้น  จากการลงพื้นที่และการร่วมวิเคราะห์ถึงกระบวนการและผลตอบแทนจากการทำนา   ส่วนใหญ่จะพบว่ามองแทบไม่เห็นช่องทางของการแก้ปัญหาความยากจน หรือแก้ปัญหาภาวะหนี้สินของเกษตรกรได้เลย  เพราะมีความซับซ้อน และเชื่อมโยงกับอีกหลายๆ ปัญหา ตลอดรวมไปถึงความเชื่อมโยงกับโครงสร้างหรือปัญหาด้านอื่นๆ ทั้งทางด้านสังคม วัฒนธรรม การเมือง และการศึกษา เป็นต้น หาใช่แต่จะเป็นปัญหาเพียงเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจเท่านั้น

          ช่วงที่สำคัญที่ผมนำมาบันทึกต่อก็คือ ในรายงานข่าวมีการนำเสนอตัวอย่างของเกษตรกรทำนา ที่จังหวัดพิจิตร พบว่า ทำนาจำนวน 20 ไร่ ต้นทุนตกไร่ละ 2 พันกว่าบาท  แต่ในระหว่าง 4 เดือนที่ทำนา กลับมีรายได้(กำไร)จากการทำนา 6 พันกว่าบาท  มีรายได้หรือผลตอบแทนเพียงเฉลี่ยเดือนละ 1 พันกว่าบาทเท่านั้น  ทำให้ผมอดที่จะคิดต่อไม่ได้ว่า หากเราใช้แว่น KM มองในประเด็นนี้ จะพบว่า..มีทางออกครับ    เพราะที่พิจิตร  มีเกษตรกรที่สามารถปลูกข้าวแล้วสามารถลดต้นทุน เหลือเพียงไร่ละ 1,100 กว่าบาท ที่อำเภอตะพานหิน (คุณผดุง:รายละเอียดสอบถามเพิ่มเติมได้ที่มูลนิธิร่วมพัฒนาพิจิตร) ผมเคยได้ไป ลปรร. มาแล้ว

          และในกรณีของเกษตรกรที่ข่าวนำมาเสนอนี้ หากค้นหาของดี คือเกษตรกรที่ทำนาเหมือนๆ กัน และต้นทุนต่ำกว่า ผมก็คิดต่ออีกว่าในรายนี้จะสามารถลดต้นทุนที่สำคัญๆ ได้อีกมาก เช่น

  • ค่าพันธุ์ข้าว    6,900 บาท  สามารถลดลงได้โดยการปลูกและเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง
  • ค่าปุ๋ยเคมี     12,000 บาท  สามารถใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทดแทน หรือลดการใช้ลงได้
  • ค่ารถเกี่ยว    10,000 บาท  สามารถลดลงได้ หากหันมาใช้แรงงานคนในครับครัวเพิ่มขึ้น และพื้นฟูวัฒนธรรมการช่วยเหลือกันที่เรียกว่าการ"ลงแขก"
  • ค่าจ้างหว่าน      600 บาท  ลดลงได้ด้วยการใช้แรงงานในครัวเรือนทดแทน
  • ฯลฯ

          เป็นวาบหนึ่งแห่งความคิดที่ผ่านมาระหว่างการดูทีวี  จากตัวอย่างนี้หากสามารถลดต้นทุนลงได้ เกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกมาก  และมุมมองในฐานะของนักส่งเสริมการเกษตร ซึ่งก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดกระบวนการ ลปรร.ของเกษตรกร  คิดว่าปัญหาหนี้สิน หรือปัญหาการทำการเกษตรที่ได้ผลตอบแทนไม่คุ้มกับการลงทุนนั้น มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง และในหลายๆ กิจกรรมของบ้านเรา ไม่ฉพาะแต่ที่ตัวอย่างที่ยกมาในบันทึกนี้เท่านั้น  ...แต่เราสามารถใช้กระบวนการจัดการความรู้มาใช้ เพื่อเรียนรู้และแก้ปัญหาเหล่านี้ได้  หากเรามีความเข้าใจและร่วมมือกัน..

          ดังนั้นพวกเราคงมีการบ้านอีกหลายข้อที่จะต้องร่วมกันเรียนรู้และแก้โจทย์นี้....

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร.

วีรยุทธ  สมป่าสัก

      

หมายเลขบันทึก: 28041เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2006 13:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 20:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
     เสียดายห้วงเวลาที่ผ่านมาครับ เพราะการไหลของเม็ดเงินลงสู่ระดับรากหญ้าอย่างมโหฬาร กระตุ้นเศรษฐกิจมหภาคได้ผลจริง ๆ พร้อม ๆ กับการตายของระดับจุลภาค
     แต่ไม่เป็นไรครับ เอาเป็นว่าได้บทเรียน เริ้มต้นกันใหม่อย่างที่คุณ "สิงห์ป่าสัก" นำเสนอ ผมเห็นด้วยว่าเป็นทางออกทางหนึ่ง พร้อม ๆ กับการปรับเปลี่ยนทัศนคติเรื่อง "ความพอเพียง" ด้วย
     ขอบคุณครับสำหรับความคิดเห็นของคุณชายขอบ  แม้เราจะช้าไปบ้างเพราะเราต้องเรียนรู้ไปด้วยพร้อมๆ กัน   แต่อย่างน้อยก็มีกำลังใจ และคิดว่า "เราเดินมาถูกทาง" ครับ

ที่ปางมะผ้า แม่ฮ่องสอน เราคุยกันเรื่อง

 "เศรษฐกิจพอเพียง" ถกเรื่อง "ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ให้โอกาส"

สิ่งที่ทำได้เลย และควรจะหานวัตกรรม - องค์ความรู้ เพื่อแก้ไข-หาแนวทางก็คือ "การลดรายจ่าย" ครัวเรือน

ไม่ว่าจะเป็น

การที่ทำให้ครัวเรือน "รู้ตัวเอง" - - - > บัญชีรายรับ รายจ่าย

ลดต้นทุนการผลิต- - - >  กรณี เกษตรกรพิจิตร (ตามบันทึกของพี่) - - -> รายได้เพิ่มขึ้น

เวลานี้คงไม่ต้องรอใครมาช่วย นอกจากวิธีการที่ดีที่สุดตอนนี้ คือ "การพึ่งตัวเอง" น่าจะเป็นทางเลือกทางรอดที่ดีที่สุด

แต่ "กระบวนการพึ่งตนเอง" นี่สิครับ ต้องมานั่งคุยกันว่า มีวิธีการแบบไหนบ้าง เกษตรกรและผู้เกี่ยวข้อง ควรต้องนั่งคุยกัน

ที่ผ่านมาก็คุยกันมามาก เรื่องการพึ่งตนเอง แต่เมื่อบริบทเปลี่ยน เวลาเปลี่ยน ทุกอย่างก็คงต้องปรับเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยเฉพาะ สถานการณ์ประเทศตอนนี้ คงต้องทำอะไรกันรีบด่วน เลยครับ

ขอต่อยอด...ข้อคิดเห็นข้างบนหน่อย (พอดีลืมลงชื่อ)

...เพราะความซับซ้อน และเชื่อมโยงกันของปัญหา นั่นเองครับ ที่ทำให้ ต้องใช้ "การจัดการองค์ความรู้" มาเป็นตัวช่วยในการแก้ไขปัญหา"ปัญหาชุดหนึ่งอาจต้องใช้ กระบวนการแบบหนึ่ง หรือหลากหลาย แตกต่างกัน

อยากให้นวัตกรรมที่นำไปสู่ "การพึ่งตนเอง" การแก้ไขปัญหาที่สามารถทำได้เลยแบบนี้ เผยแพร่ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในวงกว้างมากขึ้นครับ

เรียน คุณจตุพร 

     เห็นด้วยกับ "กระบวนการพึ่งตนเอง" ครับ เพราะเป็นทางเลือกทางรอดที่สำคัญทางหนึ่งของเกษตรกรบ้านเรา คงต้อง ลปรร.กันต่อไปนะครับ  และผมเชื่อว่าใช้KMช่วยได้ครับ เพราะเรามีของดีที่เหมาะกับแต่ละพื้นที่อยู่แล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท