ความตายในทางแพ่ง (La mort civille) --โอ๊ะ โอ..ช่างร้ายกาจ


"ข้อความเบื้องต้น" ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยบุคคล, ดร.สมทบ สุวรรณสุทธิ์, อ้างแล้ว, ไม่มีเลขหน้า ...กระดาษสีน้ำตาลเข้มจัด, กลิ่นที่กระดาษมักมี เมื่อมันผ่านเวลาไปนานๆ และความบาง-กรอบแกรบของมัน ชวนให้เกิด mood ตื่นเต้นตอนเปิดอ่าน เพราะ "ต้องทนุถนอม" มันตลอดเวลา และแล้วในบทนำ ก็ชวนอึ้ง..

ย่อหน้าที่สองพูดถึง สภาพบุคคล ที่ครั้งหนึ่งมันเคยถูกพรากไปจากมนุษย์

มันเป็นช่วงเวลาหนึ่งของประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศส ที่มีการลงโทษรูปแบบหนึ่ง ที่เรียกว่า la mort civile หรือ ความตายในส่วนแพ่ง

  • ใครที่ถูกคำพิพากษาลงโทษอาญาประหารชีวิต

  • ใครที่ถูกคำพิพากษาให้ต้องทำงานหนักตลอดชีวิต

  • ใครที่ถูกเนรเทศไปคุมขังนอกฝรั่งเศส

คนที่ถูกลงโทษนี้ ก็พูดได้ว่า "หมดสภาพบุคคล"

ถือว่า ได้ตายไปแล้วในทางแพ่ง

เพราะเขาจะถูกตัดสิทธิเกือบทุกอย่าง ..หมดกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ทรัพย์สินจะถูกตกทอดไปยังทายาท ราวกับว่าเขาได้ตายจากไป โดยไม่มีพินัยกรรม, เขาจะไม่มีสิทธิรับมรดก ไม่สามารถเป็นผู้ปกครอง ไม่สามารถเป็นเจ้าหนี้ ลูกหนี้ ขาดจากการสมรส ฯลฯ

หุ หุ ..ช่างร้ายกาจ
..ในตำรา อ.สมทบ บอกว่า  "โทษตายในส่วนแพ่ง เป็นโทษที่อำมหิต ป่าเถื่อน"

อือ เห็นด้วยและแสนจะจริง

จะว่าไป โทษตายในส่วนแพ่ง.. นี้ อาจชวนให้นึกถึงชีวิตในทางข้อเท็จจริง ณ ปัจจุบันของแรงงานข้ามชาติ คนไร้รัฐไร้สัญชาติบางคน ที่ถูกจำกัด/ตัดสิทธิในทางแพ่งบางอย่าง เช่น

  • รับเงินธนาณัติที่ส่งมาถึงเขาไม่ได้

  • ถูกจำกัดการมีสภาพบุคคลในการสมรส-ครอบครัรว คือ ถูกเรียกร้องเอกสารบางอย่าง ที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้ -ที่จะมี "มัน" ทำให้จดทะเบียนสมรสไม่ได้

  • ฯลฯ

น่าสนใจ คิดต่อ (หุ หุ อีกแล้ว)

หมายเหตุ: ฝรั่งเศสยกเลิกโทษ นี้ เมื่อวันที่ 31 พค. 1854

หมายเลขบันทึก: 280368เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2009 14:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท