37.สอนเเพทย์ประจำบ้านและเเพทย์ใช้ทุนเด็ก หัวข้อ spiritual care in palliative patients


ชื่นชมกิจกรรมดีดีเเพทย์ใช้ทุนเเพทย์ประจำบ้านทำ work shop palliative care

วันที่ 24 ก.ค.52 ตามที่ได้บันทึกไว้ในบันทึกนี้เวลา 11.00 น.ฉันมีนัดกับพี่เกศ ท่านอาจารย์ศรีเวียงเเละเเพทย์ประจำบ้าน เเพทย์ใช้ทุน เพื่อเเลกเปลี่ยนในหัวข้ออ spiritual care in pediatric palliative patients ความเข้าใจตอนเเรกคิดว่าเป็นปีที่ 1 เเต่พอเดินเข้าห้องประชุมภาควิชากุมารเวชศาสตร์ กลับไปเจอทั้งเเพทย์ใช้ทุนและเเพทย์ประจำบ้านทั้งปี 1 เเละปี 2 ทั้งหมด 13 คน นั่งคร่ำเคร่งกับการเรียนรู้ palliative care กับท่านอาจารย์ศรีเวียงสักพักเมื่อได้เวลาพี่เกศเริ่มก่อนในหัวข้อPsychosocial in pediatric palliative patients

Rpc2

        พี่เกศใช้เวลาประมาณ 20 นาทีตามไปชมได้ที่บันทึกนี้นะคะก็ส่งมอบเวทีให้ฉัน บรรยากาศการเรียนรู้วันนี้เป็นกันเองมากๆ เพราะคุณหมอส่วนใหญ่ก็คุ้นเคยและร่วมงานกันอยู่แล้วและอยูในทีมการดูแลรักษาเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นหมอนุ่น หมอหน่า หมอเเอน หมออาร์ท หมอคาร่า หมอเต่า หมออ้อ หมอเก๋ การเรียนรู้ในวันนี้จึงเป็นการเล่าสู่กันฟังมากกว่า

 บรรยากาศการเรียนรู้ที่เป็นกันเอง

ส่วนเรื่องราวในการเรียนรู้วันนี้ฉันเริ่มต้นในเรื่องของแนวคิดการดูแลในมิติจิตวิญญาณเช่นเคย  นับตั้งเเต่ความหมายของ จิตวิญญาณ ความต้องการด้านจิตวิญญาณของมนุษย์ สภาวะความผาสุกด้านจิตวิญญาณ ความทุกข์ทางจิตวิญญาณซึ่งในการไปเเลกเปลี่ยนกับทีม สรพ. ก็เคยบันทึกไว้ในบันทึกนี้

         หลังทบทวนในเรื่องเเนวคิดเเล้วจึงได้บอกกับคุณหมอทั้งหลายว่าการดูแลในด้านมิติจิตวิญญาณ เราควรเริ่มต้นจากตรงนี้ค่ะ คือเราต้องพัฒนาระดับจิตวิญญาณของเราให้สูงก่อนจิตวิญาณที่ได้รับการพัฒนาเเล้วคือจิตวิญาณที่มี

  - เมตตา กรุณา

  - รู้จักรัก  รู้จักให้อภัย มีความเอื้ออาทร

- มีความละเอียดอ่อนเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วย

- เห็นคุณค่าเเละความหมายของทุกชีวิต

- มีสิ่งยึดเหนี่ยวเเละศรัทธาของตัวเอง

- พร้อมที่จะเป็นผู้ให้ พร้อมที่จะช่วย

- เต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง

  คุณหมอทุกคนเห็นด้วยกับสิ่งที่ฉันพูดและดูท่าทางจะสนใจประเด็นนี้กัน 

จากนั้นจึงโยงเข้าเรื่องความต้องการด้านจิตวิญญาณ(spiritual need)ของผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายเเละครอบครัวคืออะไร จากประสบการณ์การทำงานและเมื่อเทียบกับตำราต่างๆ พอจะสรุปได้ว่าความต้องการด้านจิตวิญญาณของผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายเเละครอบครัว

 

1. ความต้องการความรักเราจะตอบสนองความต้องการด้านนี้ได้อย่างไร

 

-เปิดโอกาสให้ครอบครัวและบุคคลที่ผู้ป่วยรักได้อยู่ใกล้ชิด
-อนุญาตให้เฝ้าตลอด 24 ชั่วโมง
-กรณีผู้ป่วยเด็กควรสนับสนุนให้พี่น้องได้มาเยี่ยมอย่างสม่ำเสมอ
-จัดมุมสงบ มีความเป็นส่วนตัวเพื่อให้ครอบครัวได้อยู่ใกล้ชิด
-พยาบาลเเละทีมเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้พูดคุยระบายความรู้สึกที่เป็น ความรักความผูกพันต่อสิ่งต่างๆ ความสำเร็จในชีวิต ความภูมิใจ

2.ความต้องการการให้อภัยเเละได้รับการอภัยจากผู้อื่น

-การขอโทษต่อผู้ที่เคยทำผิดต่อ การยกโทษ การขออโหสิกรรมล้วนมีความหมายต่อจิตวิญาณของคนที่กำลังจะเสียชีวิต ฉันได้ยกตัวอย่างว่าที่หอผู้ป่วยเด็ก 3งนั้นมีบทอโหสิกรรมเพื่อกล่าวขอขมาผู้ป่วยที่เสียชีวิต 

3.ความต้องการความหวัง( hope) 

เพราะการมีความหวังทำให้มีความผาสุกทางจิตวิญญาณ

-ทีมควรพูดความจริงแต่ไม่ทำลายความหวัง ช่วยให้เขามีความหวังแต่อยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงเช่น บอกเขาว่าโรครักษาไม่หายแต่ทีมแพทย์ พยาบาลจะรักษาและดูแลหนูเต็มที่

- การแจ้งข่าวร้าย ( breaking bad news) อาจทำให้ผิดหวังเพราะฉะนั้นการให้ข้อมูลที่เพียงพอควบคู่ไปกับการประคับประคองจิตใจและให้กำลังใจจะช่วยให้ผู้ป่วยและครอบครัวยอมรับความจริงในที่สุด

- ไม่ตำหนิหรือแสดงออกลักษณะปฏิเสธเขา

-กรณีต้องกลับเข้ามารักษาในโรงพยาบาล ให้ความมั่นใจว่าทีมจะยังให้การดูแลรักษาอย่างเต็มที่แต่เป็นการรักษาแบบประคับประคอง

4.ความต้องการค้นหาความหมายของชีวิต

ฉันยกตัวอย่างกรณีน้องโอ๊ตคนไข้เด็กระยะสุดท้ายของทีมเราให้คุณหมอฟัง ผมยังไม่อยากตาย ขออยู่ถึงลอยกระทงก่อน ขออยู่ฉลองปีใหม่ก่อนได้มั๊ย เมื่อรู้ว่าความตายใกล้มาถึงเวลาที่เหลืออยู่จึงใช้ในการค้นหาความหมายของชีวิต ค้นหาคำตอบว่าจะใช้เวลาที่เหลืออย่างไรให้มีความหมายที่สุด...น้องโอ๊ตพบคำตอบเหล่านี้และรีบที่จะไขว่คว้าและทำสิ่งที่ตัวเองอยากจะทำ

    - ไปเที่ยวโบนันซ่ากับทีมซึ่งตอนนั้นไปทั้งหมด 8 ครอบครัว ท่านอาจารย์สุรพลไปด้วย เพื่อให้โอ๊ตสบายใจเพราะตอนนั้นน้องมีปวดเเละปัสสาวะเป็นเลือด

    - บริจาคร่างกายเพื่อเป็นอาจารย์ใหญ่ในชีวิตไม่มีโอกาสได้ทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่

      คิดว่าตัวเองมีกรรมเยอะ ทำสิ่งนี้คิดว่าเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่

    - ทีมร่วมกันกับมูลนิธิสายธารเเห่งความหวังจัดมินิคอนเสิร์ตให้เพราะโอ๊ตมีความฝันอยากมีวงดนตรีเป็นของตัวเอง

    - ได้กล่าวคำอำลา สั่งเสียแม่พ่อทุกสิ่งทุกอย่าง หมดห่วงและจากไปอย่างสงบ พร้อมกับเสียงเพลงที่โอ๊ตชอบที่แม่ได้เปิดให้น้องฟังจนสิ้นลมหายใจ

     - ฉลองปีใหม่พร้อมกับครอบครัวและเจ้าหน้าที่ทีมการพยาบาล

5.ความต้องการที่พึ่งทางใจสิ่งยึดเหนี่ยวทางศาสนาซึ่งความต้องการด้านนี้ชาวไทยพุทธจะมีมากที่สุดเมื่อต้องเจอสภาวะวิกฤตของชีวิต เมื่อความตายกำลังจะมาถึง ตอนนี้ทีมของเราก็มีกิจกรรมโครงการพาน้องท่องวิถีพุทธ พาผู้ป่วยเเละครอบครัวทำสังฆทานที่ตึกสงฆ์ และเมื่อถึงคราวที่ต้องจากไปก็ช่วยเหลือในการน้อมนำ บอกหนทาง การบอกหนทาง(Spiritual guidance) มีความสำคัญอย่างไร เพราะเวลาใกล้ตายแบ่งออกเป็น 2 ระยะ (อ้างถึงบทอภิธรรมมัตถสังฆหะ)

1.มรณาสันนกาล ยังมีการรับรู้ได้ทางปัญจทวาร ตา หู จมูก ลิ้น กาย

      ผู้ป่วยใกล้ตายที่อยู่ในระยะนี้จะระลึกถึงกรรมที่ได้กระทำบ่อยๆทั้งกุศลกรรม อกุศลกรรม เป็นระยะที่ชีวิตกำลังจะถึงกาลสิ้นสุด การมีผู้น้อมนำ บอกหนทางเช่นให้ตั้งมั่นในสติ ปล่อยวางสิ่งที่ยึดโยงจิตใจ  ให้ระลึกถึงสิ่งที่ดีงามที่เคยทำมา นำสวดมนต์ ให้จิตใจเกาะเกี่ยวอยู่กับพระรัตนตรัย  ทำสมาธิ ทำให้ไปจุติในสุคติภพ มรณาสันนกาลจึงเรียกว่าเป็นนาทีทอง

มรณาสันนวิถี เป็นวิถีจิตที่ไม่สามารถฟื้นกลับมาได้อีก การบอกหนทางก็ไม่มีประโยชน์

ซึ่งฉันเองได้เล่าประสบการณ์การบอกหนทางที่พึ่งเกิดขึ้นไม่นานมานี้คือช่วยบอกหนทางน้องออ

ผู้ป่วยระยะสุดท้ายในโปรเเกรมของทีมเราซึ่งน้องเสียชีวิตเเล้วเเละเคยบันทึกเรื่องราวไว้ในบันทึกนี้และในวันนี้หมอนุ่นเองก็ได้ช่วยฉันในการช่วยให้น้องออกลับบ้านได้อย่างรวดเร็วทันเวลา

จบการเเลกเปลี่ยนในวันนี้เเต่เพียงเท่านี้

หมายเลขบันทึก: 280077เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2009 16:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

เก่งจังค่ะ

ชีวิต ต้องก้าวต่อไป พี่มาให้กำลังน้องกุ้ง

สวัสดีคะ

น้องกุ้ง แม่ต้อยดีใจมากคะ ที่อ่าน เรื่องนี้

ขอให้กำลังใจนะคะ

 

P ขอบพระคุณพี่เเก้วสำหรับกำลังใจนะคะและภาพทะเลศรีราชาใช่มั๊ยคะ

P ขอบพระคุณสำหรับกำลังใจจากเเม่ต้อยค่ะ กุ้งคิดว่าเป็นโอกาสที่ดีที่ได้เเลกเปลี่ยนและพูดถึงเเนวคิดในการดูแลด้านมิติจิตวิญญาณกับคุณหมอเด็กค่ะ โดยพื้นฐานเเล้วหมอเด็กโดยส่วนใจจะน่ารักค่ะ วันนี้ที่เรียนรู้ร่วมกันก็ดูคุณหมอให้ความสนใจนะคะ เเละกุ้งเชื่อว่าเราจะเห็นภาพการดูแลที่มีความรัก ความอ่อนโยนต่อคุณค่าความเป็นมนุษย์ ในระบบบริการสุขภาพบ้านเราเเละยิ่งเเม่ต้อยช่วยขยายวงกว้างทั่วประเทศอย่างนี้กุ้งว่ารับรองค่ะ SHA กลมกล่อมค่ะเเม่ต้อย

สวัสดีค่ะ พี่สาว...มาให้กำลังใจทีมนะคะ

ทุกคนทำเพื่อคนไข้ ความรักคนไข้ผุดขึ้นมาในหัวใจให้เห็นชัดมากค่ะ พี่ บันทึกไว้เพื่อการเรียนรู้ของทีมและทีมอื่นๆ นะคะ เป็นการจัดการความรู้ที่ดีมากค่ะพี่

P ขอบคุณสำหรับกำลังใจจ้าน้องพรหล้า คิดฮอดเเต่กอดบ่ได้

คือเก่าเด้อ

ได้ครับ และแวะเข้ามาดูแล้ว รายละเอียดมีตอบให้อยู่ในบล็อกผมครับ

ขอบคุณมากๆเลยค่ะคุณเเอนดริว

  • อ่านจบ ประทับใจค่ะพี่กุ้ง
  • เป็นกำลังใจให้ทุกท่านนะคะ

สวัสดีครับ คุณ สุธีรา

เป็นกำลังใจให้นะครับ 

มาชม

เห็นภาพมีกิจกรรมทำดีนะนี่

P น้องครูเเป๋มขอบคุณนะคะที่ตามมาเป็นกำลังใจ

P ขอบคุณน้อง did บล็อกเกอร์หน้าใหม่

ตามน้องพอลล่ามาเป็นกำลังใจพี่กุ้งใช่เปล่า ว่างๆมาสอนพี่กุ้งถ่ายรูปสวยๆหน่อยนะคะ

P อาจารย์ umi หายไปจากบล็อกกุ้งซะนาน

เกือบได้ร้องเพลงตามหาหนุ่มนานครพนมซะเเล้ว ขอบคุณที่ไม่ลืมกันค่ะ

แวะมาเยี่ยมให้กำลังใจครับ

ความเห็นผมเกี่ยวกับจิตวิญญาณ จริง ๆ แล้วดูเหมือนยากต่อการเข้าถึง แต่จริงๆแล้ว พวกเรามีสิ่งนี้กันทุกคนไม่ว่าจะอายุมากน้อย-เด็กผู้ใหญ่-ผู้ชายผู้หญิง

แต่ละบุคคลมีความเป็นปัจเจกที่แตกต่างกัน (self) ผมคิดว่าสิ่งที่ทำให้คนเรามีความต่างกันลึกๆ คงจะเป็นจิตวิญญาณที่เป็นสิ่งที่เป็นตัวผลักดันให้คนเรามีตวามต่าง ๆกันได้มากมาย

การเข้าถึงจิตวิญญาณของผู้คนได้ลึกซึ้งมากน้อยคงจะเป็นอย่างที่พี่เขียนนะครับ...ผมคงสรุปแต่เพียงมาเราเชื่อมโยงกับเขาได้(connectivity)-เข้าใจเขาได้-เข้าถึงเขาได้(มิได้เป็นเพียงแต่ผู้ให้หากแต่มีการพัฒนาจิตใจไปได้) สุดท้ายจิตวิญญาณเป็นสิ่งที่เติบโตได้...ยกตัวอย่างที่พี่ดูแลเด็ก ๆที่เป็นมะเร็งอย่างต่อเนื่องยาวนาน จนได้เรียนรู้บางสิ่งบางอย่าง-มีความสุขจากการให้-มีจิตใจที่ทุกข์น้อยลงสุขง่ายขึ้น ผมเชื่อว่าหลายคนที่ทำงานใดงานหนึ่งนาน ๆจนถึงระดับหนึ่งแล้วมีเวลาใคร่ครวญบางสิ่งบางอย่างจะมีส่วนช่วยในการพัฒนาจิตได้ (ท่านพุทธทาสเคยพูดถึงทำงานทุกข์ชนิดด้วยจิตว่าง)

ยาวไปหน่อยครับแต่ขอบคุณพี่นะครับที่แบ่งปันเรื่องดี ๆ ครับ

ใช่ค่ะคุณหมอโรจน์ จิตวิญญาณมีอยู่ในทุกทั่วตัวคน เพราะคนทุกคนมีความดี มีคุณค่า นิยามนี้ท่าน ศ.ประเวศ วะสี เคยให้ไว้ เเละเเต่ละคนมีความต่าง ถ้ามองจิตวิญญาณที่พัฒนากับจิตวิญญาณที่ไม่ได้รับการพัฒนา ยิ่งจะเห็นความต่างนะคะพี่ว่า อย่างคนที่เขาพัฒนาจิตวิญญาณของเขาได้ในระดับหนึ่งเขาก็จะมีจิตใจที่ดี มีเมตตา มีความรักให้ผู้อื่น เเต่ในทางกลับกัน คนที่เพิกเฉยต่อการทุกข์ร้อนของคนอื่น เเละมีความเห็นเเก่ตัว คือคนที่จิตวิญญาณไม่ได้รับการพัฒนา ขอบคุณคุณหมอโรจน์นะคะ เห็นด้วยกับคุณหมอทุกอย่างเลยค่ะ มีโอกาสอย่าลืมนำเรื่องราวดีดี มาเล่าสู่กันฟังอีกนะคะ

สวัสดีคะน้องสุธีรา  พี่สุได้อ่านอย่างละเอียดแล้ว  และได้เข้าแล้วว่า คุณหมอหรือนางฟ้าผู้ใจดีทั้งหลาย  ได้เห็นความสำคัญของผู้ป่วยระยะต่างๆ  แล้วใช้เวลาที่เหลือนี้  บำรุงใจ ทนุถนอมน้ำใจผู้ป่วย รวมทั้งได้พยาบาลใจผู้เป็นญาติ

หนักเหมือนกันนะคะ  ต้องเสียสละจิตวิญญาณที่เหลืออยู่  ให้ความเมตตากรุณา ให้ชีวิตที่เหลืออยู่ ได้สบายใจ ปลง ทำใจ

โดยไม่กระทบจิตใจคนป่วยเลย  ขอชื่นชมนะคะ  จากบทความพี่สุเข้าใจแล้ว  ว่านางพยาบาลแผนกรักษาคนป่วยมะเร็ง จะต้องทำใจเช่นกัน

ในบางครั้งก็ลุ้นๆ เพื่อให้เขามีอายุ ยาวไปอีก เพื่อที่จะได้ทำทุกสิ่งที่เขาอยากทำ  ก่อนที่เขาจะจากไป

สงสารคนที่จะต้องจากไปเพราะมะเร็งแล้วยังเป็นเด็กอีกนะคะ  ทำไมชีวิตนคนเรา ของคนบางคน ถึงต้องมารับเคราะห์กรรมอย่างนี้  คงเป็นเพราะกรรมชาติปางก่อน  บาปบุญมีจริงหรือเปล่าหนอ

ชาตนี้ยังไม่ได้ชดเชยกรรมเลย ก็ไปซะแล้ว

เอ้า!อ่านกิจกรรม รำพันไปเสียยาวเลย  อารมณ์พาไปคะ

ขอเป็นกำลังใจให้น้องสุธีรา นะคะ  สู้ สู้ คะ

สวัสดีครับ

ผมได้ลบบันทึกบล็อกนั้นออกแล้วนะครับ เพื่อจะได้ไม่เป็นการจองเวร ต่อกรรม ดังนั้นหากมีมีเนื้อหาส่วนใดในบล็อกนี้ของคุณสุธีรา ที่เกี่ยวโยงกับบล็อกที่ผมเพิ่งลบออก ก็ช่วยปรับแก้ไขด้วยนะครับ

เก่งมากๆๆๆค่ะพี่กุ้ง ชื่นชมมากๆๆค่ะ คิดถึงนะคะ

อิ๋ว ศิษย์เก่า สกร.

น้องอิ๋วโชว์รูปมาให้ดูหน่อยสิคะ พี่กุ้งอยากเห็นหน้าค่าตา เราเคยเจอกันมาก่อนมั๊ยคะ

พี่กุ้งต้องขอโทษด้วยที่จำไม่ได้จริงๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท