ดุจดาว
ดุจดาว(ชอบชื่อนี้ค่ะ) ดุจดาว

บุญบั้งไฟของหมูบ้าน


ประเพณีบุญบั้งไฟที่มีทุกปีก่อนฤดูทำนา เป็นความภูมิใจของเราชาวบ้านก้างปลา

กลับบ้านไปเที่ยวงานบุญบั้งไฟที่ร้อยเอ็ดมาค่ะ

บุญบั้งไฟเป็นหนึ่งในฮีตสิบสองเดือนของชาวบ้านก้างปลา  นิยมทำกันในเดือน  กรกฎาคม 2552 อันเป็นช่วงฤดูฝนเข้าสู่การทำนา ตกกล้า หว่าน ไถ เพื่อเป็นการบูชาพญาแถนขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล

งานปีนี้ไม่ใหญ่เท่าปีก่อนๆ 

แต่ภาพและบรรยากาศยังดีเหมือนเดิมเพราะความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้าน

มีภาพสวยๆมาฝากเยอะเลยค่ะ

 

 

คำขวัญบ้านก้างปลาค่ะ

ฟักทองใหญ่  บั้งไฟสวย

รวยวัฒนธรรม

นำประชาธิปไตย น้ำใจเลิศล้น

มวลชนสัมพันธ์ไมตรี

 

ความใหญ่โตมโหฬารของบั้งไฟบ้านเรา  ตกแต่งอย่างสวยงาม ปราณีต

 ใช้เวลาทำร่วมเดือน  ด้วยความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านเราค่ะ

 

 

 

นางรำมีทั้งเด็กเล็กๆและสาวๆค่ะร่วมในขบวนแห่ค่ะ

 

มือกลองยาว  หนุ่มๆบ้านเราค่ะ  ฝีมือเยี่ยมๆค่ะ

บั้งไฟที่ชาวบ้านตกแต่งมามีทั้งหมด 6 ขบวนค่ะ

 

 

สาวๆของบ้านเราค่ะ

  หมู่บ้านและอบต. ร่วมแรงร่วมใจสืบสานประเพณีหมู่บ้านเราค่ะ

ขบวนนี้ก็สวยค่ะ

แห่ขบวนรอบหมู่บ้าน  ชาวบ้านแท้ๆค่ะ

 

ผาแดงนางไอ่คือ  สัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของบุญบั้งไฟค่ะ

 

สนุกๆค่ะ

ฝีมือศิลปะชาวบ้านค่ะ

คนแก่คนเฒ่าเค้าก็ไม่ลืม  นำมาร่วมในขบวนแห่ด้วยค่ะ

 

ขบวนเจ้าภาพค่ะ  ร่วมแรงร่วมใจช่วยกันเต็มที่ค่ะ

ขบวนนี้รำได้สวยงามมากค่ะ  แต่งตัวประยุกต์สวยมากค่ะ

 

ขบวนนี้ได้ที่  1 ค่ะ  รำได้อ้อนช้อยสวยมาก

นางรำขบวนที่ 4 ค่ะ

มือกลองยาวชาวบ้านค่ะ

สาวน้อยในหมู่บ้านที่ร่วมขบวนค่ะ

หมายเลขบันทึก: 280058เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2009 14:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

อลังการณ์มากเลยค่ะ

ขอบคุณสำหรับภาพบรรยากาศสวยๆค่ะ

สวัสดีค่ะ

ภาคอีสานมีงานบุญที่เป็นวัฒนธรรมประเพณีมากมายค่ะ เป็นสิ่งที่บอกถึงความสามัคคีและความร่วมมือของชาวบ้านค่ะ มีอาหารที่อร่อย ๆ ค่ะ

 

งานบุญบั้งไฟที่ยโสธร กับร้อยเอ็ด จังหวัดไหนจัดงานใหญ่กว่ากัน และที่ไหนมีงานบุญบั้งไฟก่อน เห็นรูปแล้วสวยงามมาก

สวัสดีค่ะ คุณ pa_daeng [มณีแดง คนสวย แซ่เฮ]

ขอบคุณนะคะที่แวะมาชมบุญบั้งไฟบ้านก้างปลาค่ะ

เป็นประเพณีที่ชาวบ้านสืบสานต่อกันมา  ร่วมแรงร่วมใจกันค่ะ

สวสัดีค่ะ คุณ สุนันทา

เกิดจากความร่วมมือร่วมใจจริงๆค่ะ  ใจแต่ละวันเมื่อเสร็จจากภาระกิจงานที่บ้าน 

ชาวบ้านจะไปรวมตัวกันที่วัดตกแต่งรถบั้งไฟช่วยกันที่วัด 

 โดยมีช่างฝีมือในหมู่บ้านเป็นคนแนะนำและพาชาวบ้านทำ 

พ่อบอกว่า  ข้าวก็กินข้าวก้นบาตรพระมื้อเช้าและเที่ยง  ไม่มีค่าตอบแทนใดๆค่ะ  ก็ช่วยๆกันค่ะ  

พอถึงวันงานทุกคนก็ภูมิใจในฝีมือของหมู่บ้านตัวเองค่ะ  อยากให้งานออกมาดีและสวยงามค่ะ

สวสัดีค่ะ คุณ มหาวชิร  ขอบคุณนะคะที่แวะมาชม

งานบุญบั้งไฟที่หมู่บ้านก้างปลา  จ.  ร้อยเอ็ด  พ่อบอกว่าหมู่บ้านเรามีมาตั้งแต่พ่อเกิด  ( พ่ออายุ 70 ปีค่ะ)  

ตัวดิฉันเองก็เห็นงานบุญบั้งไฟที่หมู่บ้านตั้งแต่จำความได้ค่ะ  เมื่อก่อนจะทำบั้งไฟเล็กกว่านี้ค่ะ  ใส่รถเข็นโดยคนเข็น  เข็นรอบหมู่บ้าน  เมื่อเวลาผ่านไปก็ใส่รถกะบะตอนเดียว  แต่ ณ  ปัจจุบันเค้าใส่รถ 6 ล้อทำให้บั้งไฟดูใหญ่โตมโหฬารมากขึ้นค่ะ  และตกแต่งสวยงามขึ้นค่ะ   

จริงๆแล้วภาคอีสานมีประเพณีบุญบั้งไฟเหมือนกัน  ในทุกจังหวัด  เลยไม่ทราบว่า จังหวัดไหนเกิดก่อนกันค่ะ

จังหวัดไหนจัดงานบุญบั้งไฟใหญ่กว่ากัน  คิดว่าน่าจะ จังหวัดยโสธร  เพราะว่าเป็นงานประจำจังหวัดค่ะ 

 ส่วนงานบุญใหญ่ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด  คือ   งานบุญผะเวด (พระเวส) ร้อยเอ็ด ช่วงเวลา วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคม  หรือ  บุญมหาชาติค่ะ จะใหญ่กว่าทุกจังหวัดค่ะ

ตอบเท่าที่ทราบนะคะ  ขอบคุณค่ะ

ขอต้อนรับการกลับมาเขียนอีกครั้ง หลังจากที่ทิ้งบ้านไปนาน ฮิฮิ

ผมเคยพาคณะไปศึกษาดูงานอุบลราชธานี ขากลับผ่านมาทางเสลภูมิ เจอขบวนแห่เทียนพรรษา เสียงพิณเสียงแคน นางรำที่แสนสวย ผมยั้งใจไม่อยู่ ออกไปรำป้อกับขบวนชาวบ้าน สนุกมากครับ เสียดายไม่ได้บันทึกภาพไว้

งานบั้งไฟ ยิ่งสนุกกว่าแห่เทียน หากผมไปเจอขบวนบ้านก้างปลา สงสัยรถบัสคงทิ้งผมแน่ๆ ฮ่า ฮ่า

วันนี้ลงเวรบ่ายมาค่ะ ไม่เขียนนานแล้วจริงๆแหละค่ะอาจารย์  นานม๊ากกก อิอิอิ 

งานเค้าใหญ่แบบชาวบ้านค่ะอาจารย์  จริงๆไม่ได้กลับไปเที่ยวหลายปีแล้วค่ะ  ปีนี้แม่บอกให้กลับไปเที่ยวบ้าง  อย่าทำแต่ งานนนค่ะ

ขบวนแห่น่าชมมากค่ะ  มีอาจารย์คนหนึ่งในหมู่บ้านข้างๆกันแก่เป็นถึงดอกเตอร์  คาดผ้าขาม้า  รำป้อเลยค่ะสงสัยแก่จะสนุกค่ะ  (คงเหมือนอาจารย์ค่ะ  ยั้งใจไม่อยู่ค่ะ  อิอิอิ)

งานเค้าสนุกดีค่ะ  จุดบั้งไฟไม่ขึ้นมีการเอากันลงตม (ลงโคลนค่ะ)   กลางวันมีดนตรีด้วยค่ะ  (หมอรำซิ่ง)  คนรำป้อหน้าเวทีเลยค่ะ  ท่าทางเค้าสนุกสุดๆเลยค่ะอาจารย์

ผมไม่หลับตาก็มองเห็นภาพของความสนุกสนาน ชายหลากวัยทั้งหนุ่มและวัยกลางคนหลายคนกอดปล้ำกันกลางบ่อโคลนตม (ไม่ยอมลงคนเดียว ดึงเพื่อนลงไปด้วย ฮ่า ฮ่า)

เสียงประทุของดินปืน เสียงแผดแหลมเล็กของประกายไฟที่เบียดกันออกมาจากท่อท้ายบั้งไฟ และเสียงแหวกอากาศของบั้งไฟที่ทยานขึ้นสู่ท้องฟ้า 

บรรยากาศเช่นนี้ ยังติดตามผม แม้ว่าจะผ่านไปแล้ว นานแสนนาน

ขอบคุณมากครับ ที่นำภาพแห่งความรัก ความสามัคคี และความมากล้นด้วยน้ำใจของชาวอีสานมาปรากฏใน G2K

แค่บรรยายก็ทราบเลยค่ะว่าเขียนเรื่องสั้นเก่ง  "เสียงประทุของดินปืน เสียงแผดแหลมเล็กของประกายไฟที่เบียดกันออกมาจากท่อท้ายบั้งไฟ และเสียงแหวกอากาศของบั้งไฟที่ทยานขึ้นสู่ท้องฟ้า "  ใครจะเขียนได้แบบนี้  ดิฉันเองอ่านก็ใช่จริงๆเลยที่อาจารย์บรรยายมา  นี่แหละค่ะ  ที่ดิฉันชอบอ่านเรื่องสั้นของอาจารย์  เขียนได้ดีค่ะ

อาจารย์ค่ะ  บ้านดิฉันเป็นหมู่บ้านชนบทขนานแท้ค่ะ  ถนนยังไม่ราดยางเลยค่ะอาจารย์  บ้านส่วนมากทั้งหมู่บ้านจะเป็นไม้ค่ะ  ไม่มีรั้วรอบกั้นค่ะ   อาชีพคนในหมู่บ้านเกือบ 100 % ทำนาค่ะ  ที่หมู่บ้านฤดูแล้งจะทำสวน  ปลูกฟักทอง ฟัก  มะเขือ  พืชผักเยอะแยะมากเลยค่ะ   ใช้น้ำสูบจากบ่อค่ะอาจารย์   

คนในหมู่บ้านนิสัยคนอีสานแท้ๆค่ะ  อาจารย์สังเกตดูนะคะรถที่ใส่ขบวนแห่มีรถอีแต๋นเก่าๆ  รถกะบะเก่าๆมาร่วมขบวนแห่ค่ะ    ซึ่งในเมืองจะไม่มีแล้วค่ะ 

ชอบจังเลยค่ะที่อาจารย์ชอบดูและให้กำลังใจ  ขอขอบคุณนะคะ

คนนี้ก็อีสานขนานแท้ครับ ฮ่า ฮ่า (ยิ้มสวยด้วย)

 

แล้วอย่าลืมชวนไปเที่ยวด้วยนะจ๊ะ

ไม่ได้ไปนานเหมือนกันนะร้อยเอ็ด

   

กิจกรรมแห่บั้งไฟ ก็มีทุกหมู่บ้านทั่วประเทศไทย  ของพี่สุก็มีคะ ก็คล้ายๆกันคะ  นี่แหละวัฒนธรรมประเพณีคนไทย มรดกชาวอีสาน ที่ควรจะรักษาไว้คะ

สุดยอดจริงๆครับ

บ้านข่อยตั้วนิ่ คิดฮอดแฮง บ๊อได้เมือโดนแล่ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท