ความสามารถในการมี v. ในการใช้ ..นี้แล.. ที่เคยงง !! (ฯ ฉบับ ดร.สมทบ ตอน 2)


ความสามารถของบุคคล คือการที่บุคคลมีสิทธิและหน้าที่ และความสามารถใช้สิทธิปฏิบัติหน้าที่ของตนได้ เพราะในความสามารถนั้น มีส่วนประกอบ 2 ชนิดต่างกัน คือ 1. การเป็นเจ้าของสิทธิ หมาความว่า สามารถได้มาซึ่งสิทธิหรือผู้ทรงสิทธิ และ 2) การใช้สิทธิ หมายความว่า กระทำอย่างดนึ่งอย่างใด เพื่อได้รับประโยชน์อันสิทธินั้นสามารถอำนวยให้ เพื่อทำให้สิทธินั้นถูกเปลี่ยนแปลง

ความสามารถของคนแต่ละคน นั้น มี 2 อย่างในเรื่องเดียวกันนี้ คือ ความสามารถในการมี หรือการทรงสิทธิ การเป็นผู้ทรงสิทธิ ความสามารถในการมีสิทธิอยู่แล้ว แต่ัมันไม่ได้หมายความว่า จะมีความสามารถในการใช้ เสมอไป เพราะมีบุคคลบางประเภทแม้จะมีสิทธิต่างๆ ได้ แต่ก็ถูกถือว่า ยังไม่มีคุณสมบัติเพียงพอที่จะใช้สิทธิปฏิบัติหน้าที่ได้

1. ความสามารถในการมีสิทธิ (capacite de jouissance) ตามหลักบุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย

ความไม่สามารถในการมีสิทธิและหน้าที่ (incapacite de jouissance) เป็นลักษณะพิเศษ และจะพบในบางกรณีเท่านั้น

2. ความสามารถในการใช้ (Capacite d'exercise) คนๆ หนึ่งอาจมีความสามารถมีสิทธิและหน้าที่ตามกม. แต่ไม่มีความสามารถในการใช้สิทธิและปฏิบัติหน้าที่นั้นๆ ได้ เนื่องจาก หนึ่ง-สภาพทางร่างกายของบุคคล และสอง-มีกม.ระบุความไม่สามารถหรือการหย่อนความสามารถนั้นไว้

เพราะการใช้สิทธิและการปฏิบัติหน้าที่นั้น คนๆ หนึ่งจะทำได้ต้องใช้ความคิด ความชำนาญ ความรอบคอบ ความรู้สึกผิดชอบ หรือต้องไม่มีกม.บัญญัติตัดทอนความสามารถในการใช้สิทธินั้นๆ

คนที่หย่อนความสามารถ หรือถูกกฎหมายตัดทอนความสามารถนี้ มีอยู่ 4 ประเภทคือ

  1. หย่อนความสามารถเนื่องด้วยอายุ-ผู้เยาวฺ์

  2. หย่อนความสามารถเนือ่งด้วยอาการทางจิต-คนไร้ความสามารถ

  3. คนเสมือนไร้ความสามารถ

  4. หญิงมีสามี

ตามกม.เดิม-หญิงไม่ว่ามีสามีหรือไม่ เป็นผู้ไร้ความสามารถทำนองเดียวกับผู้เยาว์ตลอดชีวิต คือ ต้องอยู่ในความปกครองของผู้อื่นตลอดไป เรียกว่า ความปกครองตลอดชีพ (tutelle perpetuelle)

หมายเหตุ-ข้อสังเกต

การอธิบายถึง ความสามารถใช้การใช้สิทธิ ที่ยังไม่เกิดในกรณีของคนไทยตามมาตรา 23-ในระหว่างที่ยื่นคำขอฯ และรอการลงรายการฯ -คือ การทรงสิทธิในฐานะผู้มีสัญชาติไทย  แต่ยังไม่สามารถใช้สิทธิความเป็นคนไทยได้ เนื่องจาก กม.ระบุหรือกำหนดความหย่อนความสามารถในการใช้สิทธิได้ คือ ต้องได้รับการรับรองโดยรัฐก่อน (recognitze by State)?

รวมถึงกรณี การมีสัญชาติไทยตามหลักสืบสายโลหิตตามบิดา ตามมาตรา 7 วรรคสองด้วย?





 

หมายเลขบันทึก: 279967เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2009 10:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 15:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • เข้ามาหาความรู้ค่ะ  เป็นประโยชน์มากๆ
  • ขอบคุณค่ะ
  • ขอบคุณมากค่ะ
  • พยายามอยู่น่ะค่ะ ..พยายามหาความรู้


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท