จิตสำนึกองค์การ


การแสดงบทบาททั้งด้านการบริหาร หรือด้านระดับปฎิบัติงานก็ตามยอมต้องมีความสำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบที่จะเป็นผู้แสดงบทบาทที่

จิตสำนึกองค์การ

           ในเวทีการใช้ชีวิตของมนุษย์ มีเวทีให้แสดงบทบาทที่หลากหลาย เช่น เวทีครอบครัว ซึ่งเป็น
เวทีที่ใกล้ตัวมากที่สุด เริ่มตั้งแต่เกิดที่เดียว  เวทีใหญ่อีกแห่งหนึ่งคือเวทีสถานศึกษาก็คือโรงเรียนที่เราได้ศึกษาเล่าเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาล  จนถึงอุดมศึกษา อีกเวทีหนึ่งคือเวทีทางสังคม คือการเป็นสมาชิกในชุมชน สังคม หรือประเทศ หรือระดับโลก  และเวทีสุดท้ายคือเวทีการทำงานในองค์การที่เราปฎิบัติงานเพื่อดำรงชีพ  ซึ่งบางคนอาจมีการเปลี่ยนสถานที่ทำงานหลายแห่งตลอดอายุการทำงาน  แต่บางคนก็ทำงานที่แห่งนั้นที่เดียวจนเกษียณอายุการทำงาน
            เวทีในการทำงานนี้เองที่มนุษย์มีการแสดงบทบาทอันหลากหลายและบทบาทแต่ละบทบาทก็มีนัยสำคัญต่อทั้งความสำเร็จของตนเองและองค์การที่เป็นสมาชิก ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับบทบาทที่เล่น ถ้าสวมบทบาทเป็นพนักงานระดับปฎิบัติการก็มีระดับของความเข็มข้นต่อความสำเร็จขององค์การระดับหนึ่ง แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นกับอีกปัจจัยคือตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบว่าทำงานด้านไหน  เช่นบางคนทำงานด้านเกี่ยวกับการสร้างรายได้หรือหารายได้ เช่นการตลาด การขาย    หรือบางคนทำงานสนับสนุนเช่นจัดซื้อ  ธุรการ  บุคคล  แต่ที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จขององค์การมากขึ้นไปอีกก็คือบทบาทระดับ ผู้บริหาร หรือระดับหัวหน้างาน ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ เพียงพอในการแสดงบทบาทเพื่อบริหารหน่วยงานที่รับผิดชอบให้ประสบความสำเร็จ 
           การแสดงบทบาททั้งด้านการบริหาร หรือด้านระดับปฎิบัติงานก็ตามยอมต้องมีความสำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบที่จะเป็นผู้แสดงบทบาทที่ดี  ซึ่งปกติแล้วมันเป็นสามัญสำนึกที่ปุถุชนทั่วไปยอมคำนึงถึง  เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการ คำนึงถึงของบุคลากรในองค์การ  ซึ่งเรียกว่า สำนึกองค์การ 6 ประการ ดังนี้

1.       สำนึกความเป็นเจ้าของ (SENSE OF BELONGING)
           สำนึกแรกนี้คือการคำนึงถึงว่าองค์การที่เราทำงานนั้นก็เป็นเสมือนหนึ่งบ้านที่สองของเรา การอยู่ในบ้านนั้นก็ถือว่าเราต้องดูแลเอาใจใส่ รักษาผลประโยชน์ ไม่นิ่งดูดาย งานบางงานถ้าช่วยได้ก็คงต้องช่วยกัน ไม่เพียงแต่คิดว่าธุระไม่ใช่  และที่สำคัญต้องคิดเสมอว่าองค์การอยู่ได้เราก็อยู่ได้ กล่าวคืออะไรเป็นความสูญเสียก็ต้องหลีกเลี่ยง แต่ถ้าเป็นผลประโยชน์ต้องปกป้อง

2.       สำนึกความรับผิดชอบ (SENSE OF RESPONSIBILITY)
ในการทำงานตามหน้าที่และความรับผิดชอบถือเป็นสิ่งที่แต่ละคนควรยึดถือให้ดีที่สุด แต่ที่ สำคัญการทำงานในยุคใหม่นั้นความรับผิดชอบเพียงประการเดียวไม่เพียงพออาจจะต้องมีความรู้ความสามารถ และต้องมีความเชี่ยวชาญโดยคำกล่าวที่น่าสนใจคือไม่ใช่เพียงแต่ทำงานเป็นอาชีพ แต่ต้องทำงานอย่างมืออาชีพ(Professional)

3.       สำนึกความสัมพันธ์อันดี ( SENSE OF  RELATIONSHIP )
ในธุรกิจย่อมมีการแข่งขัน แต่อย่างไรก็ตามความร่วมมือเป็นสิ่งควรสร้างให้เกิดขึ้น  โดยความ
สำนึกในความร่วมมือกันคงมีใน  3 มิติ คือมิติด้านบุคคลคือการมีความสัมพันธ์อันดีระหว่างเพื่อนร่วมงาน มิติที่สองคือการประสาน ระหว่างหน่วยงานในองค์การและมิติสุดท้ายการคำนึงถึงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์การ ซึ่งปัจจุบันเน้นการเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจระหว่างกัน

4.       สำนึกความขบขัน(SENSE OF HUMOUR)
การทำงานที่เคร่งเครียด และจริงจังเกินไปอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อทั้งสุขภาพตนเอง และ สุขภาพองค์การ  ในยุคปัจจุบันมีการแข่งขันในทางธุรกิจอย่างเข็มข้น พนักงานก็เกิดความเครียดด้านเป้าหมายและความต้องการขององค์การ ดังนั้นสิ่งใดที่จะช่วยผ่อนคลายความเคลียดให้กลายเป็นความสุข เช่นมีการมองโลกในแง่ดี หรือไม่วิตกกังวลกับเรื่องงานจนเกินไป มีอารมขันบ้าง มีการสร้างบรรยากาศความเป็นกันเอง และมีการสังสรรค์กันบ้าง เพื่อให้การทำงานมีความสุขมากขึ้น

5.       สำนึกเชิงกลยุทธ์(SENSE OF STRATEGY)
เป้าหมายขององค์การเป็นสิ่งที่ทุกคนในองค์การต้องทราบและยึดถือในการทำงานซึ่งองค์การ ยุคใหม่มักมีแผนกลยุทธ์ หรือแผนยุทธศาสตร์เป็นกรอบในการดำเนินงาน ดังนั้นสิ่งที่เป็นเป้าหมายขององค์การในแผนที่กล่าวนั้นคือ วิสัยทัศน์(VISION)  ซึ่งถือเป็นธงไชยที่พนักงานทุกคนต้องคำนึงถึง เช่นถ้าองค์การเรามุ่งเน้นการบริการ เราต้องใส่ใจในเรื่องการบริการทั้งต่อลูกค้าภายในและลูกค้าภายนอก นั่นคือการแสดงความสำนึกในกลยุทธ์

6.        สำนึกความซื่อสัตย์ (SENSE OF INTEGRETY)
ในบทบาทสุดท้ายนี้เป็นสิ่งที่ปุถุชนคนดีพึงกระทำคือความมีคุณธรรม จริยธรรมในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นในระดับปฎิบัติหรือระดับบริหาร ทั้งนี้กรอบในการปฎิบัติงานอย่างซื่อสัตย์ก็คงเป็น กรอบในส่วนเกี่ยวกับกฎ ระเบียบข้อบังคับ กฎหมายในการทำงานซึ่งควรยึดถือและปฎิบัติอย่างเคร่งครัด  และกรอบใหญ่ที่แสดงความเป็นคนดีทั้งในองค์การและสังคมคือ ศีลธรรม ซึ่งก็คงเป็นไปตามหลักการของศาสนาของแต่ละบุคคลนั่นเอง

สรุปได้ว่าถ้าเรามีทัศนคติ หรือมีจิตสำนึกที่ดีต่อองค์การแล้วการพัฒนาด้านต่างๆก็จะตามมาเอง ทุกท่านเห็นด้วยอย่างดิฉันหรือไม่คะ

ที่มา:    อำนาจ วัดจินดา   วิทยากรและที่ปรึกษาด้านการพัฒาทรัพยากรนุษย์และองค์การ

คำสำคัญ (Tags): #จิตสำนึก
หมายเลขบันทึก: 279856เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2009 21:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 13:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

พี่ชอบสำนึกข้อที่ 4 จังเพราะทำให้ชีวิตมีความสุขไม่เครียด

เหมือนที่เรา 2คน ชอบขบขันในเวลาเรียนใช่ใหมคะ 5555

                 

ชอบสำนึกความขบขันจ๊ะ ได้นำไปปฎิบัติจัง ทุกวันนี้เครียดหลายเรื่องจนขันไม่ออกเลยจ๊ะน้องนาง มาอ่านบทความแล้วประเทืองปัญญามาก พบแสงสว่างอยู่รำไร

Thank you so much

จิตสำนึกองค์การ 6 ประการ ถ้าคนในองค์การนำมาปฏิบัติ คิดว่าองค์การน่าจะได้รับการพัฒนายิ่งขึ้น โดยเฉพาะในระบบราชการ ถ้าทำได้ก็จะสามารถทำให้ระบบราชการพัฒนาขึ้นกว่านี้

ทุกข้อรวมกัน....เราและเขาอยู่ได้ แม่นบ่ อินางเอ๊ย

พี่เห็นชอบด้วยทุกข้อเลยนะ ถ้าทุกคนมีจิตสำนึกทั้ง 6 ข้อ เราคงไม่ต้องได้ยินประโยคที่ว่า "ประเทศไทยไม่ใช่ของเราคนเดียว" ฟังคราวใดรู้สึกแสลงหูหดหู่ใจจริง ๆ

มาชมผลเยี่ยมงาน และดีใจที่เห็นบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของพวกเราครับ

ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมและให้กำลังใจในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะคะ

PPPPPP

ขยันหาข้อมูลดี ๆ มาให้อ่านจัง ขอบคุณมากค่ะครู นวยผู้น่ารัก

ภาพเคลื่อนไหว

ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ

P                      

แวะมาเยี่ยมเยียนคะ เรื่องน่าสนใจมากคะ

จริงด้วย เห็นตัวเองในอนาคตเลยนะ

ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้คะ

ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้คะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท