การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ในชุมชน โดยชุมชนบ้านอูนยางคำ อ.นาหว้า จ.นครพนม


กองทุนสุขภาพ ไม่ได้มาจากภาครัฐที่เดียว

             วันนี้มารายงานตัวพร้อมมีเรื่องเล่ามาสู่กันฟังค่ะ  ก่อนอื่นขออภัยอย่างมากที่ขาดหายไปนานแสนนาน แต่ที่หายไปใช่ว่าจะห่างจากเบาหวานนะ กำลังคิดค้นวิธีการ และการเข้าสู่ชุมชนเพื่อให้ได้แก่นแท้อย่างสไตล์ วิถีชุมชน  เอาเป็นว่า การดำเนินงานของทีมเบาหวานครั้งนี้     มี  3  รูปแบบ  คือ  1. การตั้งรับที่โรงพยาบาล  คือกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคแทรกซ้อน  2. กลุ่มที่รับบริการที่  สอ. คือกลุ่มที่ควบคุมน้ำตาลได้  3 . อีกกลุ่มพิเศษคือ  การให้บริการที่ชุมชน  หรือ ศสมช. ที่จะมาเล่าสู่กันฟังในเรื่องนี้  เดิมทีแล้ว หมู่บ้านอูนยางคำ  อยู่เขตรับผิดชอบของ ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลนาหว้า  เป็นบ้านแฝดรวมกันจำนวน 3 หมู่บ้าน คือ หมู่11-13  ทั้ง 3 หมู่ มีจำนวน 380 หลังคาเรือน   436 ครอบครัว      ประชากรรวม 1,853 คนชาย 857 คน หญิง 996 คน  มีผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 42 คน ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา  บ้านอูนยางคำเป็นหมู่บ้านที่อยู่ไกลจากโรงพยาบาลนาหว้าซึ่งเป็นสถานที่ให้บริการ ระยะทาง 10 กิโลเมตร ในการไปรับบริการ ผู้ป่วยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางครั้งละ 40-60  บาท   และต้องตื่นแต่เช้า เพื่อไปให้ทันเพื่อน   เพราะเหมารถไปพร้อมกันเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย    บางครั้งทำให้เกิดภาวะเครียด   นอนไม่หลับ   พักผ่อนไม่เพียงพอ   เพราะกังวล  เกี่ยวกับการเดินทาง  ทำให้ผู้ป่วยเบาหวาน ไม่มาตามนัด การรักษาที่ไม่ต่อเนื่อง การควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ผู้ป่วยเบาหวานเกิดภาวะแทรกซ้อนสูง 

                            ดังนั้นศูนย์สุขภาพชุมชนร่วมกับชุมชนชาวบ้านอูนยางคำ   ร่วมกันคิดค้นแนวทางแก้ไข โดยการวางแผนและจัดทำรูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานโดยชุมชน      เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการบริการที่สะดวกรวดเร็ว ลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยและครอบครัว   ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย  และที่สำคัญ ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องใกล้บ้าน ใกล้ใจ      จึงมีการจัดการให้บริการที่ศูนย์ ศสมช.หมู่ 11   โดยใช้กองทุนหมู่บ้านร่วมกันบริจาค ค่าอาหาร ข้าวต้มตอนเช้า  โดยผู้ป่วยและญาติ  ได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น   ทำให้เรามองเห็นในมุมมองผู้ปฏิบัติงานในชุมชน กองที่สุขภาพ ไม่ได้มาจากภาครัฐที่เดียว  เกิดมาได้หลายทาง ยิ่งเป็นกองทุนที่ก่อเริ่มจากชุมชนทำให้อยู่ยืนนาน  และสร้างความภาคภูมิใจแก่ชุมชน  บรรยากาศของการให้บริการ  เป็นกันเอง และผู้ป่วยที่เคยควบคุมน้ำตาลไม่ได้ทำให้เราปรับเรื่องยา กับการวิถีการดำเนินชีวิต  ให้สอดคล้องกับการกินยา การควบคคุมน้ำตาลจะได้ในระดับปกติเป็นส่วนมาก ในกลุ่มผู้ป่วยที่มารับบริการที่ชุมชน                                                             

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                       

หมายเลขบันทึก: 279768เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2009 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ดีใจครับ ที่ได้อ่านเรื่องของนาหว้า

อยากเห้นวิธีการจังครับ จะได้ขอเรียนรู้ด้วย

ต้องขอแสดงความดีใจร่วมกับชาวชุมชนบ้านอูนยางคำ ที่มีเจ้าหน้าที่เอาใจใส่ดูแลชนิดใกล้ตัว ใกล้ใจ อบอุ่นจริงๆ ครับ

อบอุ่นเป็นอย่างยิ่ง อบอุ่นไปพร้อมๆ กับผู้ป่วยทั้ง 42 ท่าน (หนึ่งในนั้นท่านคือพ่อตา และแม่ยายผมเอง)

ผมเองแม้ว่าจะไม่ได้อยู่บ้านอูนฯ แต่ผมก็เป็นเขยบ้านอูนฯ ครับ เป็นเขยที่นานทีปีหนถึงจะหอบลูกเมียไปเยี่ยมเยือนสักครั้งหนึ่ง

ซึ่งรับรู้ได้ถึงความอบอุ่นอย่างเป็นธรรมชาติ เป็นธรรมชาติที่คงความเป็นอยู่อย่างสมบูรณ์แบบ เป็นความสมบูรณ์แบบแบบดั้งเดิม

ที่ยากเหลือเกินจะพบพานในยุคสมัยนี้ แต้ที่นี่บ้านอูนยางคำยังคงมีเหลืออยู่ สู้นะครับคุณวิภาสินี ขอบคุณจริงๆ ครับ ขอบคุณมาก

อยากกลับไปทำงาน โรงพยาบาลแถวบ้านจัง คิดถึี๊งบ้าน

ผมก้อว่านะครับ แถวบ้านผมยังมีวิถีชาวบ้านแบบดั้งเดิมอยู่ หมู่บ้านยังมีความเป็นพี่เป็นน้องกันอยู่ มีความสามัคคีกลมเกลียวกัน รู้สึกภูมิใจครับที่ได้เกิดที่นี่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท