ประวัติศาสตร์...ที่ถูกลืมเลือน


ประวัติศาสตร์จะลงโทษคนที่ลืมเลือนมัน...... (Indiana Jones)

มีอาจารย์ท่านหนึ่ง เคยเล่าให้ผมฟังว่า ท่านเคยเกลียดวิชาประวัติศาสตร์ และงงว่าทำไมเราต้องไปนั่งท่องถึงเหตุการณ์เก่าๆ ที่ผ่านมาแล้ว และแก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว เพราะว่ามันไม่ได้ประโยชน์อะไร แล้วท่านก็ถามอาจารย์ของท่านที่สอนวิชาประวัติศาสตร์ อาจารย์ของท่านก็ตอบท่านมาว่า เหตุผลที่เราต้องเรียนประวัติศาสตร์ เพราะประวัติศาสตร์ ...มักจะซ้ำรอย ตอนนนี้ท่านกลับมารักวิชาประวัติศาสตร์มาก

(ท่านอาจารย์ที่ผมกล่าวถึงนี้ ท่านชื่ออาจารย์ ดร.ปิยบุตร  เต็มยิ่งยงครับ)

ส่วนท่านอาจารย์ ดร. ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล (อาจารย์ป๋าของผมครับ)ท่านเป็น Vatermind  หรือ Father mind ของผมในด้านประวัติศาสตร์กฎหมาย ท่านได้กรุณาสอนผมและนิสิตถึงคุณค่าในการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายโดยใช้ประโยคสั้นๆว่า "คุณค่าของการศึกษาประวัติศาสตร์ คือการที่เราจะได้รู้จักตนเอง"

ประโยคนี้กินใจผมมากครับ แรกๆ ก็เฉยๆ จะรู้ไปทำไมกันนักเราอยู่กับตัวเองแล้วเรายังไม่รู้จักตัวเองอีกหรือ ทำไมเหรอมันสำคัญอย่างไรกับการรู้จักตัวเอง

คงจำได้ใช่ไหมครับ "เราเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือที่เรียกกันว่าอุษาคเนย์ที่ไม่ตกเป็นเมืองขึ้นของมหาอำนาจตะวันตก" ในยุคจักรวรรดินิยม แนวความคิดนี้ช่วยให้คนไทยเราภูมิใจ มากกกกกกกกกกกกกกก!  จนชอบไปดูถูกเพื่อนบ้านของเรา  แต่เราลืมไปอะเปล่า เราเคยตกเป็นอาณานิคมของพม่านะครับ ถึงสองครั้งด้วย 555 ประเทศชาติไทยจงเจริญ อืม..

 ประเด็นไม่ได้อยู่ตรงนั้นครับ ประเด็นอยู่ที่ว่า มีคนต่างชาติเคยเขียนไว้ครับ เขียนไว้ชัดเลย ว่าที่คนไทยไม่ตกเป็นเมืองขึ้นของมหาอำนาจตะวันตกเพราะ เราแพ้อาณาจักรของราชวงศ์คองบอง(ผมไม่อยากใช้คำว่าพม่าเพราะขณะที่เกิดขึ้นนั้น เราทั้งไทยและพม่าต่างยังไม่รู้จักคำว่า "รัฐชาติ"ในความหมายของคำว่ารัฐชาติ หรือรัฐสมัยใหม่(Modern State))    แล้วมันสำคัญอย่างไรกับการที่เราแพ้พม่าเราถึงไม่ตกเป็นเมืองขึ้น  เหตุผลสำคัญคือ การที่ชนชั้นนำของเราได้หันกลับมามองตัวเราเอง มาประเมินยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศ และความแข็งแกร่งของเรา  แล้วเราก็พบกับความจริงที่ว่า "เราแพ้เป็น" ด้วยเหตุนี้ล้นเกล้ารัชกาลที่๔ และ ๕ ของเราจึงใช้ยุทธศาสตร์แบบใหม่ในการเดินเกมส์กับมหาอำนาจ นี่ไงครับคุณค่าของการรู้จักตัวเอง

ว่าที่จริงถ้าวิเคราะห์ตามนิสัยคนไทยแล้ววิชาประวัติศาสตร์ดูเหมือนจะ ไม่ถูกโรคกันเอาเสียเลยเพราะ เรามักมีวลีที่ว่า คนไทยลืมง่าย เนื่องจากผมไม่ใช่นักสังคมวิยาเลยไม่แน่ใจว่าด้วยเหตุนี้หรือเปล่าจึงทำให้บ้านเราไม่ค่อยพัฒนา ยึ่งกว่านั้นเรายังไม่ค่อยเห็นคุณค่าของสิ่งต่างๆที่เรามีอยู่ ทั้งที่มันเป็นสุดยอดของหลายๆ สิ่งที่มารวมกัน จิตนาการ ความคิด ความรู้ อีกทั้งเรายังไม่ค่อยได้ทบทวนตัวเอง พูดมาถึงอย่างนี้ เดี๋ยวจะกลายเป็นว่า ผมเป็นแต่ตำหนิ แล้วตัวผมดีนักหรือ  ผมคงตอบได้ไม่เต็มปากเท่าไหร่ว่าผมดีหรือไม่ดีเพราะผมก็เป็นคนไทยคนหนึ่ง และก็มีนิสัยเหล่านี้มาเหมือนกัน 555แต่ก็พยายามจะสำเรวจตัวเองแหละครับ เอ้าประเด็นนี้ทิ้งไว้ก่อน เดี๋ยวจุกอีก กลายเป็นว่าผมขว้างงูไม่พ้นคอ 

แต่สิ่งที่เราเห็นและเราหลงลืมไป คือ การศึกษาประวัติศาสตร์การศึกษากฎหมายเพื่อเป็นนักกฎหมาย ผมเคยถามท่านอาจารย์พลตรี ม.ร.ว. ศุภวัฒย์ เกษมศรีว่าทำไม คนสมัยโบราณถึงเน้นเรื่องคุณธรรมสำหรับผู้ปกครอง หรือที่รู้จักกันในนาม "ทศพิธราชธรรม" หรือ "ราชธรรม" และจักรวรรดิวัตรกันมาก ท่านอาจารย์ก็ได้กรุณาอธิบายให้ผมฟังว่าเพราะ สมัยก่อนอำนาจของผู้ปกครองไม่มีการแบ่งแยกอำนาจเหมือนปัจจุบัน การใช้อำนาจเบ็ดเส็จรวมทั้งด้านนิติบัญญัติ ด้านบริหาร และด้านตุลาการ ดังนั้นหาก ผู้ปกครองไม่มีคุณธรรม ผู้ที่อยู่ใต้ปกครองก็อาจจะได้รับความเดือดร้อนได้ ในสมัยโบราณจึงเน้นเรื่องคุณธรรมมาเป็นอันดับแรก สำหรับเรื่องนี้ท่านอาจารย์ จรัญ โฆษณานันท์ ได้แสดงความเห็นว่า  หลักการนี้นั้นไม่ได้ใช้เฉพาะกับ "กษัตริย์"เท่านั้น แต่ยังรวมถึงข้าราชการและผู้ที่จะต้องใช้อำนาจปกครองทุกคนด้วย

ยิ่งกว่านั้นในการศึกษากฎหมายในอดีต ในตำรากฎหมายจะมีสิ่งเบื้องต้นที่จะต้องศึกษา คือคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ และสิ่งที่เรียกว่าหลักอินทภาษ ความสำคัญของหลักการนนี้ก็คือ คุณธรรมสำหรับตระลาการ หรือตุลาการ บรรดาครูบาอาจารย์กฎหมายท่านพระยาวิทูรธรรมพิเนตุท่านได้กล่าวถึงความสำคัญของหลักการนี้ไว้อย่างน่าสนใจว่านักศึกษากฎหมายในอดีตนั้นจำเป็นจะต้องศึกษาหลักการนี้ก่อนเพราะจะได้เป็นนักกฎหมาย ที่มีคุณธรรม

   ...วิชากฎหมายเป็นวิชาสูง เหมือนดั่งไฟซึ่งมีทั้งคุณอนันต์ โทษมหันต์ สุดแต่คนใช้หรือคนบังคับจะใช้ให้เป็นคุณหรือเป็นโทษ ถ้าผู้ทรงอำนาจหรือผู้พิพากษาตุลาการเป็นผู้ไร้ศีลธรรม แล้วใช้ความรู้ความสามารถทางกฎหมายนั้นในทางที่จะยังความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนอย่างยิ่ง ผู้ที่มองแต่เผินๆ จะมีความเห็นว่าเมื่อเข้าเรียนกฎหมายสำเร็จได้ปริญญากฎหมายแล้ว ก็เป็นบุคคลที่ควรไว้วางใจเป็นผู้มีศีลธรรมดีแล้วได้ เพราะเป็นผู้รู้หลักธรรมศาสตร์แล้ว ความเห็นดังนั้น ดูเหมือนจะยังไม่ถูกนัก ถ้าจะกล่าวเพียงว่า ผู้นั้นมีความรู้กฎหมายพอที่จะหางานทำเพื่อประกอบอาชีพได้สะดวกขึ้นจะเหมาะกว่า โดยการรู้กฎหมายกับการมีศีลธรรมเป็นคนละอย่างกันดังนั้นการที่ประเทศสร้างผู้ที่ได้รับปริญญากฎหมายมากและยิ่งทวีมากขึ้นนับจำนวนพันหมื่นนั้นก็ไม่ได้แปลว่า ความปลอดภัยและความสุขสำราญของประชาชนจะดีขึ้น ต้องพิจารณาดูอีกว่า ท่านพวกเหล่านั้นมีศีลธรรมแค่ไหน ถ้าโดยมากเป็นผู้มีศีลธรรมต่ำต้อยแล้วก็ยิ่งจะเป็นภัยต่อสังคมเสียอีก ถ้าโดยมากมีศีลธรรมสูงก็จะช่วยให้ประเทศชาติรุ่งเรืองเร็วขึ้น

เป็นยังไงบ้างครับ ภูมิปัญญาคนโบราณลึกซึ้งไหมครับ... แต่ก็น่าแปลกนะครับที่ปัจจุบันการศึกษาวิชากฎหมายเราแทบไม่ได้นำกฎหมายไทยในอดีตมาศึกษา เราแทบไม่เคยมองถึงคุณค่าของสิ่งดีๆ ที่มีอยู่ในประเทศของเรา

ผมเคยอยากถามว่าหากทิศทางการศึกษากฎหมายในปัจจุบันของเราเป็นอย่างไร เราเน้นเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมมากแค่ไหน หรือเน้นให้นิสิตสอบเนติบัณฑิตและเป็นผู้พิพากษา อัยการ ทนายความค่าตัวสูงๆ จึงถือเป็นความสำเร็จของชีวิต เป็นอันดับแรก เพราะเป็นอาชีพที่เงินเดือนสูง เราจะเกิดเหตุการณ์วิกฤตศรัทธาของนักกฎหมายในปัจจุบันหรือไม่ หากนักกฎหมายของเราให้คุณค่ากับคำว่าคุณธรรม และจริยธรรมต่ำกว่ามูลค่าของเงิน และประโยชน์ส่วนตัว

(เดี๋ยวมาต่อครับ ผมขอไปเก็บของเตรียมเดินทางก่อน)

หมายเลขบันทึก: 279504เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2009 18:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (37)

Bird200  รากฐานของประวัติศาสตร์ชี้อนาคตค่ะ..

ประวัติศาสตร์คืออุบัติเหตุทางการเมือง (อีกมิติหนึ่งที่ไม่ควรละประเด็นครับ)

สวัสดีครับอาจารย์(นิติอุดมการณ์)

ผมขอแสดงความยินดีกับอาจารย์ด้วยนะครับ ผมและศิษย์ทุกคนดีใจมากที่ได้ยินข่าวดี

ขอให้อาจารย์ทั้งสองท่านมีความสุขนะครับ

ศิษย์(สายจริยธรรม)

ขอบคุณครับอาจารย์ เป็นบันทึกที่ดีมาก ผมก็ชอบประวัติศาสตร์ ตอนนี้ผมก็ศึกษา ประวัติศาสต์ อยู่ ครับ ผมลงวิชา เลือก ของ ประวัติศาสตร์ หมดเลย

เสียงแห่งธรรมะ หรือตุลาการนอกศาล

เหลือบอ่าน เห็นกล่าวถึงประวัติศาสตร์ และสรุปท้ายเป็นทิศทางของนักศึกษานิติศาสตร์ ผมเป็น นิสิตแขนงวิชาเช่นว่า แต่ผมมีความเห็นอันเป็นแนวนิติปรัชญาเล็กๆว่า ผู้พิพากษามีอำนาจตัดสินคดีความในพื้นฐานแห่งกฎหมายและศีลธรรมทั้งหลักการ แต่มีใครเคยตั้งคำถามการรักษา โดยแพทย์หรือหมอบ้างว่าการวินิจฉัยหรือการรักษา ยิ่งเป็นเหตุโดยการผ่าตัดรักษาด้วยแล้ว กรณีที่ผู้ป่วยเสียชีวิต แพทย์บอกว่าทำสุดความสามารถแล้ว "ความสามารถที่เป็นที่สุดของหมอเพียงพอที่จะมีความสามารถที่จะรักษาให้ถึงที่สุดเพียงใด" และกรณีเด็กเกิดมาผิดปรกติหมอชิ่งที่จะทำการผ่าตัดรักษาเพราะเห็นว่าเป็นความผิดปรกติที่แปลกใหม่ แต่ถ้าเด็กคนนั้นตาย การลงมีดผ่าตัดเป็นการย่ำยีทรมานเด็ก ที่จะต้องตายหรือป่าว ถ้าเด็กเลือกได้เองเด็กจะยอมให้ผ่าตัดทั้งที่รู้ว่าทำไปก็จะรักษาไม่หายหรือบ่าว หรีอเป็นเพราะหมออยากลองวิชา เท่านั้น เป็นการพิพากษาที่โหดเหี้ยมของใครที่ทำหรือไม่

คุณธรรม จริยธรรม คือ ยุติธรรม หรือไม่

           ยุติธรรม ใช่ ผลบังคับของตัวบทกฎหมายหรือไม่

           ยุติธรรม ใช่ คำพิพากษาหรือไม่

           ยุติธรรม ใช่ ที่มาของกฎหมายหรือไม่ และ

           ยุติธรรม อดีต ปัจจุบัน และอนาคต เหมือนกันหรือไม่

        หรือยุติรรมเป็นอรรถประโยชน์ อันได้แก่ความสุขของมวลมนุษย์ส่วนใหญ่ แล้วยุติธรรมมาจาก นักกฎหมาย หรือผู้บังคับใช้กฎหมาย หรือมาจากผู้สร้างกฎหมาย ประวัติศาสตร์เป็นคำตอบทั้งหมดของยุติธรรมนี้หรือป่าว

ขอบคุณสำหรับทุกความเห็นครับ สำหรับผม ประวัติศาสตร์ ให้คุณค่าในการรู้จักตัวเองและ ช่วยให้เราเห็นทั้งจุดดีจุดเสีย และให้เรารู้จักพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นครับ ไม่จำกัดว่าในสาขาใด แต่เราต้องเริ่มจากการทบทวนตัวเองก่อนครับ ส่วนเรื่องปรัชญานั้นต้องขอโทษจริงๆ ครับ ผมยังอ่อนด้อยมากๆ กำลังว่าจะต้องหาเวลาศึกษเพิ่มเติมครับ อาจจะยังไม่สามารถแลกเปลี่ยนกับท่านทั้งหลายได้ ทราบแต่เพียงว่าถ้ามองในด้านประวัติศาสตร์ ความอยุติธรรมในอีต และความดีงามของระบบในอดีตจะเป็นเครื่องช่วยสั่งสอนเราให้เรารู้จักการปรับปรุงสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันให้ดีขึ้นครับ ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมชม และแลกเปลี่ยนความเห็นนะครับ

นั้นแหละครับคือ ทิศทางของนักกฎหมายที่ต้องเป็น และเป็นประวัติศาสตร์ของกฎหมายที่คำตอบหาใช่ตรรกะ ของคำว่ายุติธรรม

เสียงแห่งธรรมะ หรือตุลาการนอกศาล

สรุป แล้วความพินาศ ควรเกิดจากบทกฎหมาย หรือผู้บังคับใช้กฎหมาย หรือนิติบัญญัติที่สร้าง หรือท้ายสุด เพราะการเมือง นักการเมืองต่างหากที่ไรศีลธรรม จริยธรรม คุณธรรม เห็นแก่เงินพวกพ้อง จนทำให้กฎหมายต้องเสือมลง

ท้ายที่สุดที่อาจารย์เคยอยากถามว่าทิศทางการศึกษากฎหมายในปัจจุบันของเราเป็นอย่างไร เราเน้นเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมมากแค่ไหน หรือเน้นให้นิสิตสอบเนติบัณฑิตและเป็นผู้พิพากษา อัยการ ทนายความค่าตัวสูงๆ จึงถือเป็นความสำเร็จของชีวิต เป็นอันดับแรก ผมเป็นนักศึกษานิติศาสตร์ และเป็นลูกศิษย์ของท่านอาจารย์ จรัญ โฆษณานันท์ ที่สอนวิชานิติปรัชญา และอาจารย์นิติศาสตร์ทุกๆท่าน ผมไม่เคยเห็นอาจารย์ของผมสอนเหมือนที่อาจารย์ตั้งคำถาม และคิดเลย และผมเชื่อว่า ครูอาจารย์ทุกๆท่านย่อมสอนให้นักศึกษาเป็นคนดีของสังคม

ขอบคุณครับที่มาแลกเปลี่ยนความเห็น ส่วนตัวผมแม้ไม่ได้เป็นลูกศิษย์ของท่านอาจารย์จรัล โฆษนานันท์โดยตรง แต่ก็ศรัทธาในความคิดและงานเขียน และผลงานการสอนของท่านมากครับ สำหรับเรื่องค่านิยมของคนที่เรียนกฏหมายในปัจจุบัน ที่นิยมเรียน โดยหวังว่าจะต้องสอบเพื่อมาเป็นผู้พิพากษา เพราะเป็นอาชีพที่มีเกียรตินั้น ผมคิดว่าคงเป็นเรื่องที่ระบบการศึกษา และความคาดหวังของสังคมรวมทั้งสิ่งต่างๆ ซึ่งระบบการศึกษาของไทยควรต้องปรับทัศนะคติให้ผู้เรียนกฎหมายหันมาเป็นนักกฎหมายเพื่อที่จะพัฒนาสังคมครับ ไม่ใช่เรียนเพื่อหวังเป็น แค่ผู้พิพากษาครับ อัยการหรือทนายความค่าตัวสูงๆ อย่างเดียว โดยไม่คำนึงถึง หน้าที่ของนักกฎหมายต่อสังคม และบทบาทของนักกฎหมายที่ควรจะเป็นเลย ว่าที่จริงเรื่องที่ผมเขียนนี้ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรนะครับ อาจารย์ผู้ใหญ่หลายท่านได้เคยเขียนไว้  

อยากให้คุณเณรข้างวัดลองไปอ่านบทความที่ผมทำลิงค์ไว้นี้นะครับ ดีมากๆ เลย แล้วลองแลกเปลี่ยนกันดูก็ดีว่า ในฐานะที่เราเป็นนักกฎหมาย(ผมเดาจากที่คุณบอกว่าเป็นลูกศิษย์ท่านอาจารย์จรัล นะครับ)เราจะช่วยกันได้อย่างไรในการทำให้นักกฎหมายเราตระหนักถึง หน้าที่ต่อสังคมของเรา และ พัฒนาระบบการศึกษากฎหมายของไทยไปได้มากกว่านี้  ผมว่าคุณเณรข้างวัดน่าจะมีไอเดียดีๆมาแลกเปลี่ยน แน่นอนครับ ขอบคุณมากๆ ที่กรุณาแลกเปลี่ยนความเห็นครับ

พัฒนาการว่าด้วยการศึกษาวิชานิติศาสตร์ในประเทศไทยและความเห็นบางประการ

อืมลืมไปครับมีอีก ฉบับ ครับ เรื่อง น้ำยาการศึกษาวิชานิติศาสตร์ไทย ท่านอาจารย์สมชาย ปรีชา ศิลปกุล ท่านเขียนไว้ดีมากเลยครับ รบกวนอ่านแล้ว ลองมาแลกเปลี่ยนความเห็นกันนะครับ น่าจะได้อะไรดีๆ ขึ้นมา

ยินดีครับ ที่ได้แลกเปลี่ยน ที่แน่ ๆอาจารย์ สมชาย ก็เป็นศิษย์คนหนึ่งของท่านอาจารย์จรัญ ครับ ผมเคยได้อ่านหนังสือ ของอาจารย์ สมชาย มาบ้างเรื่อง "ความยอกย้อนในประวัติศาสตร์ของ บิดากฎหมายไทย" น่าสนใจครับ

ขอเวลา สักหน่อยนะครับ

"ความยอกย้อนในประวัติศาสตร์ของ บิดากฎหมายไทย" เล่มนี้ก็ดีครับ อธิบายที่มาที่ไปต่างๆ ได้ดี น่านับถือ ท่านอาจารย์สมชาย ที่ท่านศึกษาอะไรถึงแก่น และถึงรากจนวิเคราะห์สิ่งต่างออกมาได้ อย่างเป็นระบบ และมีหลักฐานอ้างอิง แม้ท่านจะเรียนจบจากธรรมศาสตร์ในยุคที่มีคนเคยบอกว่าเป็นยุคที่ประวัติศาสตร์กฎหมายถูกละเลยก็ตาม ผมว่าจนถึงปัจจัจุบัน(จากเอกสารที่ผมอ่านมา อาจจะยังไม่ครอบคลุมนะครับ)ยังไม่ค่อยมีนักกฎหมาย หันมาสนใจ วิพากษ์ และวิเคราะห์ระบบการเรียนการสอนกฎหมายของเราเองว่า ที่เป็น อยู่ในปัจจุบันนี้เป็นยังไง สิ่งนี้เองทำให้พลังในการศึกษานิติศาสตร์ไทยอ่อนด้อยลงไป ผมค่อนข้างเห็นด้วย กับทั้งท่านอาจารย์ฐาปนันท์ และ ท่านอาจารย์สมชาย ว่า เราถูกวิชาชีพครอบงำวิชาการครับ และเรามัวแต่หลงกับหัวโขน และค่านิยมของสังคม มหาวิทยาลัย กลายเป็นโรงเรียนเตรียม เนติบัณฑิต และแข่งกันว่าเราจะประสบความสำเร็จถ้าเด็กนิสิตนักศึกษาของเราสอบผ่านได้เยอะ

ว่าที่จริงการสอบเนติผ่านโดยตัวมันเองก็เป็นผลที่ชี้ได้เหมือนกันว่า ท่านนักกฎหมายผู้นั้นมีความรู้กฎหมายดี แต่นอกจากมีความรู้กฎหมายดีแล้ว ผมว่าเรายังต้องมีอะไรประกอบอีก คือคุณธรรม จรรยา มารยาท และการแสดงออกที่เหมาะสม นักกฎหมายเป็นผุ้ที่จะต้องใช้ความรู้ทางกฎหมายในการทำสิ่งต่างๆ ถ้าใช้ความรู้ไปในทางที่ผิดบ้านเมืองก็บรรลัย อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ที่เราเห็นอาจารย์สอนกฏหมายหลายท่านไปอิงกับฝ่ายการเมือง ในยุคที่เราเรียกว่า "อำนาจเป็นธรรม" จนเรสูญสิ้นความศรัทธาในตัวหลายท่าน เนื่องจากในยุคนั้น แม้สิ่งต่างๆ นั้นจะมีความถูกผิดอย่างไร ก็ไม่สน บรรดานักกฎหมายที่อิงกับฝ่ายการเมืองก็แก้กฎหมายให้รับใช้ผลประโยชขน์ของฝ่ายที่ตนสังกัดอยู่เป็นพอ ความยุติธรรมกับกฎหมายคงไม่ใช่สิ่งเดียวกัน แต่กฎหมายนั้นเป็นเครื่องมือไปสู่ความยุติธรรม ถ้าผู้ออกกฎหมาย ออกกฎหมายไม่เป็นธรรมแล้ว บ้านเมืองก็จะมีปัญหา แต่หากออกกฎหมายไม่เป็นธรรมแต่ยังมีผู้ใช้กฎหมายเป็นธรรมแล้ว บ้านเมืองก็ยังจะพอมีทางรอด และนี้เองเป็นที่มีของเหตุผลในการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย(เดี๋ยวจะเกินเลย)และการที่ผมให้ความสำคัญมากๆ กับเรื่องคุณธรรมของนักกฎหมาย ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าบรรพจารย์สอนกฎหมายในอดีตนั้น แม้บ้านเมืองจะยังไม่ทันสมัยขนาดปัจจุบัน นักกฎหมายก็ยังไม่มีรายได้มากอย่างในปัจจุบัน สิ่งยั่วยวนต่างๆ ยังไม่เยอะขนาดในปัจจุบัน ท่านก็ยังเห็นการไกลขนาดที่ได้มีการ เขียนไว้แล้วว่า คุณธรรมกับความเป็นนักกฎหมายนั้นเป็นเรื่องที่แยกกันไม่ออก นักกฎหมายต้องมีคุณธรรม มิฉะนั้นก็จะถือเป็นเพียง "ผู้ที่มีความรู้ทางกฎหมาย" ไม่ใช่นักกฎหมาย...

สิ่งที่ท่านพระยาวิทูรธรรมพิเนตุ เขียนไว้ในอดีต และท่านอาจารย์จรัลได้กรุณาคัดลอกมาลงพิมพ์ในปกหนังสือ เรื่องนิติปรัชญากฎหมายไทย ฉบับพิมพ์ครั้งที่สองของท่านนั้นจึงมีความหมายสำหรับผมมาก หรือ ถึงแม้เรื่องของหลักอินทภาษในกฎหมยตราสามดวงก็ตาม ผมถือเสมือนหนึ่งว่าเป็น ธรรมนูญของการศึกษากฎหมายทีเดียว ซึ่งน่าชื่นชมว่าท่านเล็งเห็นการณ์ไกล รวมทั้งท่านอาจารย์รุ่นใหม่ๆ อย่าง ท่านอาจารย์สมชายและท่านอาจารย์ ฐาปนันท์ ที่ท่านได้กรุณาเน้นให้เราเหล่าผู้ที่ศึกษษกฎหมาย เห็นความสำคัญของสิ่งนี้ขึ้นมา...

ชักสนุกครับ ขอแจมด้วยคน ขอพี่เณรร่วมฟังการถกเถียงทางวิชาการนี้ด้วยนะครับ สงสัย เณรกลางป่าอย่างผมนอกจากฝึกดูใจตัวเองแล้วจะต้อง กลับมาดูวัดบ้างแล้วว่าวัดเป็นยังไงมีข้อดีไม่ดีตรงไหน จะได้บูรณะได้ ถูก อยู่ในป่าเสียนาน ต้องย้ายมาอยู่ในวัดเสียที เอาพระปริยัติให้รู้ก่อน แล้วค่อยออกไปฝึกใจต่อครับ สาธุ

ขออนุญาต ออกตัวสักนิดนะครับ ผมเป็นเพียงนักศึกษาในระดับ ปริญญาตรีปีที่ 3 ดังนั้นถ้าการแสดงความคิดเห็นยังไม่เข้าประเด็น หรือออกนอกลู่ทางไปบ้างคงเป็นเพราะความยังด้อยในวิชาการ ต้องกราบขอประธานโทษมาในโอกาสนี้ด้วย

ขอย้อยกลับไปในวรรณคดีไทยเรื่องหนึ่งครับ เรื่องศรีปราชญ์ ในเหตุที่ศรีปารชญ์ต้องโดนตัดหัว

ในคืนวันลอยกระทงศรีปราชญ์ได้ดื่มสุราแล้วเมาจากนั้นก็เดินไปข้าง ๆ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์เพราะฤทธิ์สุรา ท้าวศรีฯ เห็นศรีปราชญ์มายืนข้างๆก็ไม่พอพระทัยจึงว่าศรีปราชญ์เป็นโคลงว่า

หะหายกระต่ายเต้น ชมจันทร์

มันบ่เจียมตัวมัน ต่ำต้อย

นกยูงหางกระสัน ถึงเมฆ

มันบ่เจียมตัวน้อย ต่ำต้อยเดียรฉาน

ศรีปราชญ์ได้ยินดังนั้นก็รู้ว่าพระสนมเอกได้หาว่าตนเป็นเดียรฉานจึงย้อนไปเป็นโคลงว่า

หะหายกระต่ายเต้น ชมแข

สูงส่งสุดตาแล สู่ฟ้า

ระดูฤดีแด สัตว์สู่ กันนา

อย่าว่าเราเจ้าข้า อยู่พื้นเดียวกัน

สนมเอกได้ฟังก็ไม่พอพระทัยจึงไปทูลฟ้องสมเด็จพระนารายณ์ฯ พระองค์จึงให้ศรีปราชญ์ไปอยู่ในคุกหลวงแต่ไม่ต้องไปทำงานเหมือนนักโทษคน อื่นๆ พระยารามเดโชเห็นดังนั้นจึงให้ศรีปราชญ์มาทำงานเหมือนนักโทษคนอื่นๆ ฝ่ายศรีปราชญ์นั้นเก่งแต่ทางโคลงมิได้เก่งทางด้านการใช้แรงงาน ทางสนมเอกฯ ได้ข่าวก็เสด็จไปที่ที่ศรีปราชญ์ขุดคลองอยู่ เมื่อพระสนมเอกได้ตรัสว่าศรีปราชญ์สมพระทัยแล้วจึงเสด็จกลับ แต่ต้องสวนกลับทางที่ศรีปราชญ์ได้ขนโคลนไปแล้ว พวกนางรับใช้ของพระสนมเอกหมั่นไส้จึงขัดขาศรีปราชญ์ ดังนั้นโคลนจึงหกใส่พระสนมเอกซึ่งมีโทษถึงประหาร แต่พระโหราธิบดีได้เคยทูลขอกับสมเด็จพระนารายณ์ฯ ว่า หากเจ้าศรีทำผิดแล้วมีโทษถึงประหาร ขอพระราชทานให้ลดโทษเหลือเพียงเนรเทศ ดังนั้นสมเด็จพระนารายณ์ฯ จึงเนรเทศศรีปราชญ์ไปเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งที่เมืองนครศรีธรรมราชนี้เองที่ศรีปราชญ์สามารถแสดงทักษะด้านกวีได้อีก เช่นกัน เพราะว่าท่านเจ้าเมืองเองก็มีใจชอบด้านกวีอยู่แล้ว และด้วยความเป็นอัจฉริยะของศรีปราชญ์นี้เองที่ทำให้ท่านเจ้าเมืองโปรดปราน เขา แต่แล้วศรีปราชญ์ไปมีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับภรรยาน้อยของท่านเจ้าเมือง เข้า ท่านเจ้าเมืองโกรธมากและหึงหวงภรรยาน้อย จึงสั่งให้นำตัวศรีปราชญ์ไปประหารชีวิต ศรีปราชญ์ประท้วงโทษประหารชีวิตแต่ท่านเจ้าเมืองไม่ฟัง ซึ่งปัจจุบันเชื่อกันว่าสถานที่ประหารชีวิตศรีปราชญ์ตั้งอยู่ภายในโรงเรียน กัลยาณีศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรรมราช และก่อนที่เพชฌฆาตจะลงดาบประหารศรีปราชญ์ได้ขออนุญาตเขียนโคลงบทสุดท้ายไว้ กับพื้นธรณีว่า

โคลงบทสุดท้ายของศรีปราชญ์

ธรณีนี่นี้ เป็นพยาน

เราก็ศิษย์มีอาจารย์ หนึ่งบ้าง

เราผิดท่านประหาร เราชอบ

เราบ่ผิดท่านมล้าง ดาบนั้นคืนสนอง

เป็นเหตุการณ์ที่ทำให้ศรีปราชญ์ต้องตาย แต่จากบทความทำให้เราเห็นอะไรเหรอครับมองไปที่บทความที่อาจารย์แนะนำให้ผมอ่าน ผมมองว่า เป็นสิ่งดีครับที่ต้องนำหลักการความเป็นนักกฎหมายที่ต้องผสมผสาน (IS) และ (Ought) รวมเข้าด้วยกัน นัยที่กฎหมายที่เป็นอยู่กับกฎหมายควรจะเป็น และเมื่อศรีปราชญ์ต้องตายส่งให้เห็นความอยุติธรรมที่เกิดขึ้น

ผมสนับสนุนกับคำสอนของอาจารย์ จรัญ โฆษณานันท์ ที่สอนว่า ตุลาการ ควรมีการตรวจสอบได้ เพราะเขาก็เป็นมนุษย์คนหนึ่ง ดังโคลงกลอนของศรีปราชญ์

ถ้าเป็นไปได้เมื่อ ตุลาการ ถูกตรวจสอบมากขึ้น มันก็จะตรงกับคำสอนของลัทธิเต๋า ที่กล่าวโดยนัยว่า "การเป็นช่างตัดไม้ ไหนหรือจะสำคัญเท่า ช่างตัดเกลาเหลาไม้"

อาจรย์จรัญบอกว่าอาจารย์เป็นช่างเหลาไม้

ทิศทางการศึกษากฎหมายที่ อาจารย์ สมชาย ปรีชาศิลปกุล ลงในบทความว่าหลักสูตรนิติศาสตร์เป็นโรงเรียนเตรียมเนติฯก็ต้องตั้งคำถามว่า สภาพสังคมในห่วงเวลาปี2440ต้องการนักกฎหมายมาเพื่อสิ่งใด (ดร.ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล) จนทำให้เป็นผลให้ประเทศไทยสามารถยกเลิกการมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขตและศาลกงศุลของชาวต่างชาติ ได้รับเอกราชทางกฎหมายและการศาลกลับคืนมาโดยสมบูรณ์

แต่พื้นฐานการศึกษากฎหมายหาใช่เป็นกฎหมายไทยเลยกลับกลายเป็นการเอากฎหมายอังกฤษมาเอาชนะอังกฤษแล้วต่อมาก็ได้ปฏิรูปกฎหมายของไทยไปสู่หลักการกฎหมายแบบประมวลกฎหมาย

เมื่อมีประมวลกฎหมายเกิดขึ้นครั้นจะไม่ให้นักศึกษาทำความเข้าใจให้แต่ฉานในตัวบทก่อนกฎหมายคงใช้บังคับได้ไม่ครบเป็นแน่

ดังนั้นนักกฎหมายในยุคนั้น เมื่อจบมาและได้มีโอกาสถ่ายทอดสอนกฎหมายก็คงต้องมุ่งเน้นตามแต่สิ่งที่ท่านเรียนมา

หากเมื่อนักกฎหมายสายวิชาชีพ ตุลาการ อัยการ มีขั้นตอนที่ต้องตรวจสอบมากขึ้นผมเชื่อว่านักกฎหมาย สายวิชาการจะเป็นผู้ที่สั่งสอนนิติศาสตร์ต่อไปได้ดีที่สุดแน่นอน

ผิดพลาดประการใดหรือเนื้อหาไม่ครบถ้วนขอประธานโทษมา ณ โอกาสนี้ด้วย

สุดท้าย ครับถ้าเดินเข้าไปถามเด็กนักเรียนในห้องเรียนๆ หนึ่งว่าโตขึ้นหนูอยากเป็นอะไรก็ต้องมีหลากหลายอาชีพที่เขาตอบ แต่ก็ต้องมีในจำนวนหนึ่งต้องบอกว่าอยากเป็นครู ผมว่าการที่นักศึกษาอยากเป็น หรืออยากประกอบอาชีพอะไรสุดแท้แต่เขาจะต้องเลือกเอง หากสภาวะสงครามอาจารย์ให้ความรู้เปรียบเหมือนมีด ที่ใช้ประกอบทำอาหารแต่ถ้าเค้าเลือกที่จะเอามีดนั้นออกไปรบตามสภาวะสังคมในยุดนั้นใครกันจะห้ามเขาได้ ขอขอบพระคุณอาจารย์ที่แนะนำบทความดีๆให้อ่าน และชี้นำคาวมรู้ที่จะไปลับคมมีดทางปัญญาให้ผมถ้ามีอีกก็แนะนำด้วยนะครับเพราะผมสนใจศึกษากฎหมายแนวๆนี้ครับขอบพระคุณครับ

ขออนุญาตขอใหม่นะครับ ออกตัวสักนิดนะครับ ผมเป็นเพียงนักศึกษาในระดับ ปริญญาตรีปีที่ 3 ดังนั้นถ้าการแสดงความคิดเห็นยังไม่เข้าประเด็น หรือออกนอกลู่ทางไปบ้างคงเป็นเพราะความยังด้อยในวิชาการ และการแลกเปลี่ยนครั้งนี้คงหาได้หวังธงคำตอบที่เป็นการชนะหรือแพ้เพราะผมเองคงไม่อาจ มีความสามารถได้ถึงเพียงนั้น และแลกเปลี่ยนครั้งนี้เป็นความสนใจใคร่ศึกษาศาสตร์ทางด้านนี้เป็นการส่วนตัว ถ้าหากก้าวล่วงมิสมควรไปกราบขอประธานโทษมา ณ โอกาสนี้ด้วย

ขอย้อยกลับไปในวรรณคดีไทยเรื่องหนึ่งครับ เรื่องศรีปราชญ์ เป็นเรื่องที่ผมคิดว่าจะสื่ออะไรได้บ้างตามความเข้าใจ ในเหตุที่ศรีปราชญ์ต้องโดนตัดหัว

ในคืนวันลอยกระทงศรีปราชญ์ได้ดื่มสุราแล้วเมาจากนั้นก็เดินไปข้าง ๆ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์เพราะฤทธิ์สุรา ท้าวศรีฯ เห็นศรีปราชญ์มายืนข้างๆก็ไม่พอพระทัยจึงว่าศรีปราชญ์เป็นโคลงว่า

หะหายกระต่ายเต้น ชมจันทร์

มันบ่เจียมตัวมัน ต่ำต้อย

นกยูงหางกระสัน ถึงเมฆ

มันบ่เจียมตัวน้อย ต่ำต้อยเดียรฉาน

ศรีปราชญ์ได้ยินดังนั้นก็รู้ว่าพระสนมเอกได้หาว่าตนเป็นเดียรฉานจึงย้อนไปเป็นโคลงว่า

หะหายกระต่ายเต้น ชมแข

สูงส่งสุดตาแล สู่ฟ้า

ระดูฤดีแด สัตว์สู่ กันนา

อย่าว่าเราเจ้าข้า อยู่พื้นเดียวกัน

สนมเอกได้ฟังก็ไม่พอพระทัยจึงไปทูลฟ้องสมเด็จพระนารายณ์ฯ พระองค์จึงให้ศรีปราชญ์ไปอยู่ในคุกหลวงแต่ไม่ต้องไปทำงานเหมือนนักโทษคน อื่นๆ พระยารามเดโชเห็นดังนั้นจึงให้ศรีปราชญ์มาทำงานเหมือนนักโทษคนอื่นๆ ฝ่ายศรีปราชญ์นั้นเก่งแต่ทางโคลงมิได้เก่งทางด้านการใช้แรงงาน ทางสนมเอกฯ ได้ข่าวก็เสด็จไปที่ที่ศรีปราชญ์ขุดคลองอยู่ เมื่อพระสนมเอกได้ตรัสว่าศรีปราชญ์สมพระทัยแล้วจึงเสด็จกลับ แต่ต้องสวนกลับทางที่ศรีปราชญ์ได้ขนโคลนไปแล้ว พวกนางรับใช้ของพระสนมเอกหมั่นไส้จึงขัดขาศรีปราชญ์ ดังนั้นโคลนจึงหกใส่พระสนมเอกซึ่งมีโทษถึงประหาร แต่พระโหราธิบดีได้เคยทูลขอกับสมเด็จพระนารายณ์ฯ ว่า หากเจ้าศรีทำผิดแล้วมีโทษถึงประหาร ขอพระราชทานให้ลดโทษเหลือเพียงเนรเทศ ดังนั้นสมเด็จพระนารายณ์ฯ จึงเนรเทศศรีปราชญ์ไปเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งที่เมืองนครศรีธรรมราชนี้เองที่ศรีปราชญ์สามารถแสดงทักษะด้านกวีได้อีก เช่นกัน เพราะว่าท่านเจ้าเมืองเองก็มีใจชอบด้านกวีอยู่แล้ว และด้วยความเป็นอัจฉริยะของศรีปราชญ์นี้เองที่ทำให้ท่านเจ้าเมืองโปรดปราน เขา แต่แล้วศรีปราชญ์ไปมีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับภรรยาน้อยของท่านเจ้าเมือง เข้า ท่านเจ้าเมืองโกรธมากและหึงหวงภรรยาน้อย จึงสั่งให้นำตัวศรีปราชญ์ไปประหารชีวิต ศรีปราชญ์ประท้วงโทษประหารชีวิตแต่ท่านเจ้าเมืองไม่ฟัง ซึ่งปัจจุบันเชื่อกันว่าสถานที่ประหารชีวิตศรีปราชญ์ตั้งอยู่ภายในโรงเรียน กัลยาณีศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรรมราช และก่อนที่เพชฌฆาตจะลงดาบประหารศรีปราชญ์ได้ขออนุญาตเขียนโคลงบทสุดท้ายไว้ กับพื้นธรณีว่า

โคลงบทสุดท้ายของศรีปราชญ์

ธรณีนี่นี้ เป็นพยาน

เราก็ศิษย์มีอาจารย์ หนึ่งบ้าง

เราผิดท่านประหาร เราชอบ

เราบ่ผิดท่านมล้าง ดาบนั้นคืนสนอง

เป็นเหตุการณ์ที่ทำให้ศรีปราชญ์ต้องตาย แต่จากบทความ ต้องมองว่าศรีปราชญ์เกิดในสมัยกรุงศรีอยุธยา ถ้ากล่าวถึงกรุงศรีอยุธยา ก็จะเห็น กฎหมายตราสามดวง ศรีปารชญ์ถูกประหารทั้งที่พยายามทักท้วงโทษ แต่ก็หาเป็นผลไม่ จนต้องระบายออกเป็นโคลงกลอนกับพื้นธรณี เกิดอะไรขี้นกับกฎหมายในยุคนั้นครับ ที่อาจารย์บอกว่า นักกฎหมาย ผมขอใช่คำว่านักนิติศาสตร์ ควรต้องมี คุณธรรม จรรยา มารยาท แต่อาจารย์จรัญสอนว่าต้องเพิ่มความกล้าที่จะชี้ถูกผิดด้วย ผมเห็นด้วยกับอาจารย์แต่ที่อาจารย์บอกว่า อาจารย์ในอดีต ท่านก็ยังเห็นการไกลขนาดที่ได้มีการ เขียนไว้แล้วว่า คุณธรรมกับความเป็นนักกฎหมายนั้นเป็นเรื่องที่แยกกันไม่ออก นักกฎหมายต้องมีคุณธรรม มิฉะนั้นก็จะถือเป็นเพียง "ผู้ที่มีความรู้ทางกฎหมาย" ไม่ใช่นักกฎหมาย... แต่มีอาจารย์อีกท่านหนึ่งอธิบายว่า

"คำอธิบายว่าด้วยกดหมาย"ของกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ซึ่งนิพนธ์ขึ้นดังแต่เดือนกันยายน รศ.118 (พ.ศ.2443) ที่กล่าวว่า

"เราจะต้องระวังอย่าคิดเอากดหมายไปปนกับความดีความชั่วฤาความยุติธรรม กดหมายเป็นคำสั่งเป็นแบบที่เราจะต้องประพฤติตาม แต่กดหมายนั้นบางทีก็ชั่วได้ ฤาไม่ยุติธรรมได้ความคิดว่าอะไรดี อะไรชั่วฤา อะไรเป็นยุติธรรม อะไรไม่ยุติธรรม มีบ่อเกิดขึ้นหลายแห่งเช่นศาสนาต่างๆ แต่กดหมายนั้นเกิดขึ้นได้แห่งเดียว คือจากผู้ปกครองแผ่นดิน ฤาผู้ที่ผู้ปกครองแผ่นดินอนุญาตเท่านั้น"

และที่อาจารย์พุดถึงหลักอิทภาท 4 ในกฎหมายตราสามดวง แล้วทำไมศรีปราชญ์ถึงต้องถูกประหารชีวิตครับ

สุดท้าย ถ้ากว้าล่วงสิ่งใดไม่ควรไป ต้องขอประธานโทษมา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ ผมง่วงนอนแล้ว เพราะอ่านหนังสือเตรียมสอบ เอาไว้อาจารย์เห็นสมควรชี้แนะอะไรเพิ่มเติมก็กรุณาผมด้วยนะครับ

Thank for academic discuss. Today I will prepare myself for study tomorrow. Sorry for not type in Thai, I use computer at a university. Tomorrow, I will discuss again.

Hay Gay! before I critic something or discuss something such as the article of Mr. Jarun Kosananun. Could you please send me Mr. Jarun's article. I know that you have a chance to read Mr.Jarun's book, but I do not know which book have you red. So I can not share opinion with you na. Please send me the arthcle that you read and mentioned. And I will share tomorrow when I have time.

พี่เณรข้างวัดนี้ สงสัยสังกัด สำนักกฎหมายบ้านเมืองหรือเปล่าครับ แฮะ เห็นพี่เอาคำกรมหลวงราชบุรีมาอ้าง ถ้าไงพี่ลองไปอ่านงานเขียนของท่านอาจารย์จรัญ โฆษณานันท์เรื่องนิติปรัชญาในกฎหมายไทยก่อนก็ดีนะพี่ สงสัย คนละแนว เพราะสิ่งที่กฎหมายเขียนกับความเป็นจริงนั้นมันต่างกัน งานของท่านอาจารย์จรัญเองก็แสดงจุดนี้ไว้ชัด และแนวคิดว่าด้วยความยุติธรรมในความคิดแบบไทย กับแบบ ตะวันตกมันห่างกันไกลอยู่นะพี่ ถ้าเอามาปนกันจะงงได้ แถมแสดงภูมิ ความรู้คนพูดเองด้วย... อย่าเอามาปนกันจะดีกว่า เพราะเราพึ่งรับ แนวความคิดเรื่องความยุติธรรมแบบที่พี่เขียน เรารับมามาสมัยรัชกาลที่ ๕ นี้เอง เอ ว่าแต่พี่ลูกพ่อขุนเหมือนผมเปล่าครับ ผมอยู่กลางป่า อาศัย อ่านเอา ผิดพลาดยังไงขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

ขอบคุณครับ คงยังอ่อนในวิชาการจริงๆ แต่เป็นเพียงบทความไม่สักกัดสำนักใดๆ เท่านั้น และผมเชื่อเหมือนอาจารย์แล้วแหละ ประวัติศาสตร์จะลงโทษคนที่ลืมเลือนมัน...... และไม่ใช่

สี ใดๆ ด้วย ล้วนเป็นวิชาการ ฝากถึงคุณเณรกลางป่าลองหาหนังสือ"ความยอกย้อนในประวัติศาสตร์ของ บิดากฎหมายไทย" ของอาจารย์ สมชาย ปรีชาศิลปกุล และลองอ่าน ลิงค์ ที่อาจารย์ให้มาด้วยนะครับ แล้วจะเข้าใจปรัชญานิติมากขึ้น หรือป่าว งง งง งง

สุดท้ายคงไม่เหมาะสมที่จะมาแลกเปลี่ยนเพราะพื้นที่ในนี้มันน้อยถ้าอธิบายอะไรไป ไม่ละเอียดหรือครบถ้อยกระบวนความคงจะสบสนเสียหายไปได้ ขอยุติเพียงเท่านี้หล่ะกันนะครับ ขอบพระคุณครับ

ถึงคุณเณรกลางป่า สำนักกฎหมายบ้านเมืองหรือหรือสำนักทฤษฎีปฏิฐานนิยม เราต้องดูรากเหง้าที่มา หรือบ่อเกิดของทฤษฎีเป็นองค์ประกอบ เพราะปฏิฐานนิยมเองยังต้องแบ่งเป็น สองยุค ในยุคแรก เมธีคนสำคัญ (Jhon Austin ) กล่าวว่า "การดำรงอยู่ของกฎหมายเป็นคนละเรื่องกับปัญหาความถูกต้องชอบธรรมของกฎหมาย" ถ้าถามว่า อธิบายความเช่นนี้ถูกต้องชอบธรรมเพียงใด ในปัจจุบัน กับอดีตในห่วงเวลานั้นก็จะต้องตอบกับคนละประเด็นเป็นแน่นอน ในที่สุดก็มีเมธีอีกท่าน คือ (H.l.A) แต่เป็นคนละยุคนะครับออกมาอธิบายเพิ่มเติ่ม จอห์นว่า นอกจากหลักการดังกล่าวแล้ว ฮาร์ทยอมรับว่า ทฤษฎีปฏิฐานนิยน ยังคงต้องคาบเกี่ยวกับหลักกฎหมายธรรมชาติโดยเรียกว่า "เนื้อหาอย่างน้อยที่สุดของกฎหมายธรรมชาติ" ซึ่งมึ สามข้อ

1.ห้ามฆ่าสัตว์

2.ห้ามลักทรัพย์

3.ห้ามพูดเท็จ (รักษาสัจจะ)

กล่าวโดยสรุป แยกออกเป็นสองกฎเกณฑ์ คือ กฎปฐมภูมิ และทุติยภูมิ ส่วนรายละเอียดต้องอ่านเองแล้วครับเพราะเป็นข้อสอด้วยบอกไปหมดคุณก็เอาเปรียบผมที่ศึกษามาเองเหมือนกัน

เป็นไงหล่ะครับ ทั้งที่ทฤษฎีกฎหมายธรรมชาติจะเกิดก่อนปฏิฐานนิยมหลายปี และเป็นคู่อริกัน ท้ายทีสุดทฤษฎีใหม่ที่ว่าตัวเองดีกว่าก็ยังต้องอ้างหลักกฎหมายธรรมชาติบ้างเพื่อให้เกิดการยอมรับ ไม่ใช่แค่เชื่อฟังแล้วจำต้องปฏิบัติตาม

แต่มิวายก็ยังมีเมธีหลายๆท่านที่วิจารณ์ ทั้งทางฝ่ายกฎหมายธรรมชาติ สุดท้ายก็ต้องกลับมาค้นหารากเหง้าทางกฎหมายธรรมชาติอีกครั้งว่าคืออะไร เราจะเป็นนักนิติศาสตร์ และพิจารณากฎหมายตามกฎหมายที่เป็นอยู่ หรือเราต้องพิจารณากฎหมายที่ควารจะเป็น ถ้าเราว่าเราเป็นนักกฎหมายตามที่กฎหมายที่ควรจะเป็น แล้วฝ่ายนิติบัญญัติ คืออะไร หรือจะกระโดดมาเป็นนักกฎหมายตามที่กำหมายเป้นอยู่แล้วศีลธรรมอยู่ตรงไหน แล้วคุณว่าผมเป็นนักกฎหมายสำนักปฏิฐานนิยมหรือป่าวหล่ะครับ หรือต้องย้อนกลับไปดูรากเหง้าที่มาของสำนักกฎหมายที่ผมเรียนว่าที่ใด ยังเยอะนะครับปรัชญากฎหมาย ของสำนักต่างๆ ทั้งหลักการดื้อแพ่ง และท้ายที่สุดความยุติธรรมอีกในหนังสือของอาจารย์ อ่านแล้วผมว่าได้คำตอบอะไรหลายๆเรื่องที่นักกฎหมายควรจะรู้และควรจะเป็นอีกเยอะ ผมเลยสนับสนุนนอาจารย์เจ้าของห้องนะครับว่านักกฎหมายวิชาการมีความจำเป็นต่อนักศึกษาไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่าสายวิชาชีพเลยหรืออาจจะดีกว่าด้วยซ้ำไป

ต่อในเรื่องศรีปราชญ์ จากทรรศนะดังกล่าว ทำให้ผู้เขียน นึกถึง โคลงที่เชื่อกันว่า ศรีปราชญ์ แต่งเอาไว้เมื่อครั้งต้องพระราชอาญา ถูกลงโทษให้ขุดดินโกยเลน พระสนมนางในพากันมาหัวเราะเยาะเย้ย ศรีปราชญ์ เกิดอาการหมั่นไส้ จึงเอาโคลนและเลนสาดใส่ ส่งผลให้ศรีปราชญ์ถูกคุมตัวไปศาล ศรีปราชญ์ ได้ให้การกับ ตุลาการ เป็นโคลง ไว้ความว่า

ผิดผีผียั้งละ ลาเพ

ผิดพระราชโปเร จะล้าง

เหนื่อยนักพักพอเท- ถูกแม่ กระมังนา

ในพระราชกฤษฎีกาอ้าง ท่านไว้ ยังไฉน

ศรีปราชญ์ เปรียบเทียบการกระทำที่ผิดผี ว่าบางกรณี ผียังให้อภัย (เช่น ความเชื่อที่ว่า ผู้ชายหากล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้หญิงบริสุทธิ์ ถือว่าเป็นการกระทำที่ ผิดผี ต้องทำพิธีแต่งงานกันเพื่อขอขมาผีบรรพบุรุษ ผี (บรรพบุรุษ) จึงจะให้อภัย)

ศรีปราชญ์เผลอพลั้งกระทำผิด โดยการ(แกล้ง) สาดโคลนใส่เหล่าพระสนมนางใน ซึ่งเป็นการกระทำฐาน ผิดนางในต้องด้วยกฎ มณเฑียรบาล (มีโทษถึงประหารชีวิต)

แต่ในพระราชกฤษฎีกา บัญญัติไว้ว่า (คนเดินให้หลีกคนคอน) คนคอนให้หลีกคนแบก คนแบกให้หลีกคนหาม เกวียนเบาให้หลีกเกวียนหนัก เรือขึ้นให้หลีกเรือล่อง ศรีปราชญ์แบกหาม ถังใส่โคลน หนักอึ้งอยู่ แต่พวกพระสนมนางใน ไม่หลบหลีก ศรีปราชญ์ ซ้ำยืนหัวเราะเยาะเย้ย ศรีปราชญ์ซึ่งกำลังเดินแบกถังใส่โคลนอันหนักอึ้งมานั้น ด้วยความเหน็ดเหนื่อย จึงเผลอพลั้งทำโคลนในถังหก เทเลอะเทอะเปื้อนกายพระสนมนางใน เหล่านั้น

หากตุลาการ ยกกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยเรื่อง ผิดนางในต้องได้รับโทษถึงประหารชีวิต มาบังคับใช้กับศรีปราชญ์ ก็ย่อมถือว่าศรีปราชญ์มีความผิด แต่หากยึดตาม กฎหมายพระราชกฤษฎีกา ที่บัญญัติไว้ว่า (คนเดินให้หลีกคนคอน) คนคอนให้หลีกคนแบก คนแบกให้หลีกคนหาม เกวียนเบาให้หลีกเกวียนหนัก เรือขึ้นให้หลีกเรือล่อง ย่อมถือว่าศรีปราชญ์ไม่มีความผิด

ด้วยเหตุนี้ ถ้าท่านตุลาการ ยึดตามกฎมณเฑียรบาล กระนั้นแล้วท่าน ตุลาการ จะนำกฎหมายพระราชกฤษฎีกา ไปบังคับใช้ที่ไหนได้ (ในพระราชกฤษฎีกาอ้าง ท่านไว้ ยังไฉน) (สมัยก่อน ก็มีความขัดแย้งว่าด้วยเรื่องของกฎหมายเหมือนกัน ฮาๆเอิ๊กๆ)

เนื้อหาในโคลงสี่สุภาพข้างต้น ศรีปราชญ์เขียนเป็นคำให้การต่อ ตุลาการ ผู้ชำระคดี ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า ศรีปราชญ์ ได้ยก การกระทำที่ผิดผี และการกระทำที่ผิดกฎหมายมาเทียบกัน ได้อย่างคมคายยิ่งนัก ซึ่งสอดคล้องกับทรรศนะที่ท่านอาจารย์ บัญชา ธนบุญสมบัติ ได้เสนอไว้ว่า คำว่า "ผี" นักมานุษยวิทยาบางคนตีความว่าหมายถึง กฎ ระเบียบ ค่านิยม วัตรปฏิบัติ ข้อห้าม (taboo) ด้วยประการฉะนี้

ที่มาจาก http://gotoknow.org/blog/kelvin/191768

ในคืนวันลอยกระทงศรีปราชญ์ได้ดื่มสุราแล้วเมาจากนั้นก็เดินไปข้าง ๆ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์เพราะฤทธิ์สุรา ท้าวศรีฯ เห็นศรีปราชญ์มายืนข้างๆก็ไม่พอพระทัยจึงว่าศรีปราชญ์เป็นโคลงว่า

หะหายกระต่ายเต้น ชมจันทร์

มันบ่เจียมตัวมัน ต่ำต้อย

นกยูงหางกระสัน ถึงเมฆ

มันบ่เจียมตัวน้อย ต่ำต้อยเดียรฉาน

ศรีปราชญ์ได้ยินดังนั้นก็รู้ว่าพระสนมเอกได้หาว่าตนเป็นเดียรฉานจึงย้อนไปเป็นโคลงว่า

หะหายกระต่ายเต้น ชมแข

สูงส่งสุดตาแล สู่ฟ้า

ระดูฤดีแด สัตว์สู่ กันนา

อย่าว่าเราเจ้าข้า อยู่พื้นเดียวกัน

สนมเอกได้ฟังก็ไม่พอพระทัยจึงไปทูลฟ้องสมเด็จพระนารายณ์ฯ พระองค์จึงให้ศรีปราชญ์ไปอยู่ในคุกหลวงแต่ไม่ต้องไปทำงานเหมือนนักโทษคน อื่นๆ พระยารามเดโชเห็นดังนั้นจึงให้ศรีปราชญ์มาทำงานเหมือนนักโทษคนอื่นๆ ฝ่ายศรีปราชญ์นั้นเก่งแต่ทางโคลงมิได้เก่งทางด้านการใช้แรงงาน ทางสนมเอกฯ ได้ข่าวก็เสด็จไปที่ที่ศรีปราชญ์ขุดคลองอยู่ เมื่อพระสนมเอกได้ตรัสว่าศรีปราชญ์สมพระทัยแล้วจึงเสด็จกลับ แต่ต้องสวนกลับทางที่ศรีปราชญ์ได้ขนโคลนไปแล้ว พวกนางรับใช้ของพระสนมเอกหมั่นไส้จึงขัดขาศรีปราชญ์ ดังนั้นโคลนจึงหกใส่พระสนมเอกซึ่งมีโทษถึงประหาร แต่พระโหราธิบดีได้เคยทูลขอกับสมเด็จพระนารายณ์ฯ ว่า หากเจ้าศรีทำผิดแล้วมีโทษถึงประหาร ขอพระราชทานให้ลดโทษเหลือเพียงเนรเทศ ดังนั้นสมเด็จพระนารายณ์ฯ จึงเนรเทศศรีปราชญ์ไปเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งที่เมืองนครศรีธรรมราชนี้เองที่ศรีปราชญ์สามารถแสดงทักษะด้านกวีได้อีก เช่นกัน เพราะว่าท่านเจ้าเมืองเองก็มีใจชอบด้านกวีอยู่แล้ว และด้วยความเป็นอัจฉริยะของศรีปราชญ์นี้เองที่ทำให้ท่านเจ้าเมืองโปรดปราน เขา แต่แล้วศรีปราชญ์ไปมีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับภรรยาน้อยของท่านเจ้าเมือง เข้า ท่านเจ้าเมืองโกรธมากและหึงหวงภรรยาน้อย จึงสั่งให้นำตัวศรีปราชญ์ไปประหารชีวิต ศรีปราชญ์ประท้วงโทษประหารชีวิตแต่ท่านเจ้าเมืองไม่ฟัง ซึ่งปัจจุบันเชื่อกันว่าสถานที่ประหารชีวิตศรีปราชญ์ตั้งอยู่ภายในโรงเรียน กัลยาณีศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรรมราช และก่อนที่เพชฌฆาตจะลงดาบประหารศรีปราชญ์ได้ขออนุญาตเขียนโคลงบทสุดท้ายไว้ กับพื้นธรณีว่า

โคลงบทสุดท้ายของศรีปราชญ์

ธรณีนี่นี้ เป็นพยาน

เราก็ศิษย์มีอาจารย์ หนึ่งบ้าง

เราผิดท่านประหาร เราชอบ

เราบ่ผิดท่านมล้าง ดาบนั้นคืนสนอง

ที่มาจาก http://www.kaweeclub.com/6/t2617/

สุดท้ายหนังสือนิติปรัชญา มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ถึงคุณ เณรกลางป่า เรามาคุยกันตามประสาเณรกันดีกว่า เพราะไม่คุยกะอาจารย์แล้ว แต่ขอยื่มสถานที่ของอาจารย์ก็พอ อาจารย์คงไม่ว่าเพราะคุยกันเรื่องเรียนเรื่องวิชาการ ถึงไม่ใช่นักศึกษาท่านๆก็คงไม่ว่าหรอกมั้ง เห็นมีแต่นักศึกษาชม แสดงว่าใจดี (แต่ขอแอบนิทา ปล่อยให้อาจารย์ เค้าอยู่กะประวัติศาสตร์ไปนั้นแหละ คุยด้วยแล้วปวดหัว อาจารย์ยังเกี่ยงกันวิชาการ วิชาชีพ แล้วเรานักศึกษาจะไปฟังใคร จะให้เลือกเรียนกับคนนั้นคนนี้ได้ยังไง สุดท้ายจบไป ก็ไปเป็นวิชาชีพ วิชาการ ใช่ไหม)วัยรุ่นเซงเลย ตอนนี้คุณมีหนังสือนิติปรัชญาในกฎหมายไทยแล้วใช่ไหม ผมก็เพิ่งโหลดมาจากอินเตอร์เนท เอาออกมาอ่านได้สองบทแล้ว และคุณมีนิติปรัชญา หนังสือ ม.ราม ที่คุณกะผมเรียนนี้แหละหรือยังถ้ายังก็ลองหามาดูนะเพราะมันจะเป็นบทสรุปปรัชญากฎหมายตะวันตก เพราะยังไงเราต้องรู้ไว้ ก็คุณบอกเองว่า ในยุคร.5 เราเริ่มรับกฎหมายตะวันตกเข้ามา และที่ผมจะสื่อให้อาจารย์ท่านอ่านนะ ว่า จริงๆแล้ว ประเทศไทยเราเองก็มีหลักกฎหมายตัวหลักคือกฎหมายตราสามดวง ที่เป็นผลมาจากหลักคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ แต่คนไทยเราโชคร้ายกรอปกับ ทำส่งครามแล้วชอบเผาบ้านเผาเมืองกัน ทำให้หลายๆสิ่ง หลายๆอย่าง ต้องสูญหาย แม้ต้นฉบับกฎหมายตราสามดวงก็ยังหาย จนเกิดกรณีอำแดงป้อม กับนายราชาอรรถ ในรัชกาลที่ 1 ถึงได้ชำระตัวบทกฎหมายใหม่ กลายมาเป็นกฎหมายตราสามดวง ส่วนรายละเอียนไม่ขอลงลึกเพราะเดี๋ยวคนอ่านจะไม่ไปค้นคว้าต่อจะไม่สนุก

ตามบทโคลงกลอนก็ทำให้เห็นว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาก็เกิดมีปัญหา เกี่ยวกับกฎหมายเช่นกัน ดีนะที่เรา(นักศึกษา ป.ตรี เท่าที่จะค้นหาหนังสืออ่านได้)ยังเหลือบทกวีให้อ่านและศึกษา ก็จะเห็นบทโคลง ของศรีปราชญ์ที่ได้ให้การกับ ตุลาการ เป็นโคลง ไว้ความว่า

ผิดผีผียั้งละ ลาเพ

ผิดพระราชโปเร จะล้าง

เหนื่อยนักพักพอเท- ถูกแม่ กระมังนา

ในพระราชกฤษฎีกาอ้าง ท่านไว้ ยังไฉน

ก็จะเห็นได้ว่ากฎหมายที่ใช้บังคับในกรุงศรีอยุธยามี 2 ฉบับ คือพระราชกฤษฎีกา และกฎมณเฑียรบาล ผมก็เลยงงว่า การบังคับใช้กฎหมายที่จะเลือกมาบังคับกับศรีปราชญ์ตอนนั้น ตุลาการใช้ดุลพินิจอย่างไรในการเลือกกฎหมายมาบังคับใช้ ทั้งที่ในยุคนั้น การปกครองต้องปกครองโดยหลักทศพิศราชธรรม รวมทั้งยังมีหลักอินทภาษ 4 ซึ่งเป็นหลักการของผู้พิพากษาพึ่งมี อาจารย์จรัญ สอนผมว่าถ้าผู้พิพากษาทำผิด หรือตัดสินคดีผิด ตายไปจะกลายเป็นเปรต มีองคชาติ และอัณฑะใหญ่จนแบกใส่บ่าเลย (ทิ้งเป็นประเด็นไว้แค่นี้ก่อนแบบเด็กคุยกันอย่าเพิ่งเอาประเด็นมากมาย) แต่ผมแอบอ่านแล้วคำตอบอยู่ในนิติปรัชญาไทย(ขอเรียกสั้นๆ)มีคำตอบอยู่นะ ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมดูเอาเองข้างบนนะครับ แล้วถ้าคุณตอบแล้วค่อยเอาประเด็นอื่นอีกหรือจะตั้งมาก้ได้นะครับ เอาตามหนังสือนะ ขี้เกลียดไปค้นเดียวโดนไล่ให้หามาให้เหมือนอาจารย์อีก

ถ้าว่างก็คุยกันนะครับ

ขอโทษ ที่ปล่อยให้รอครับ ผมพึ่งเข้ามาดูวันนีเอง ขอบคุณพี่เณรข้างวัดครับที่มาวิสาสะกับผม เห็นพี่อ่านแล้วทึ่งแทน แต่พี่ ครับ พูดอย่างเปิดอกภาษาคนรักวิชาการนะพี่ อย่าลืมสิ่งที่ท่านอาจารย์จรัญสอนเราผ่านหนังสือนาพี่ ความพอเหมาะพอดี ความสุขุมรอบครอบ นั้นเป็นคุณสมบัติของนักกฎหมาย ผมก็ไม่รู้ว่าอาจารย์คนนี้ท่านเป็นไงหรอกนะครับ แต่ว่าการไปถามท้าทายอาจารย์แบบพี่ทำมันจะเหมาะ หรือ ถึงเป็นการถามทางวิชาการ แต่เท่าที่ผมดู จากบทความของอาจารย์ที่พี่ให้ผมอ่าน พี่เล่นดักอาจารย์แกเป็นจุดๆ นี่นา ผมก็คิดว่ามันหนักไป เหมือนพี่จะไล่เอาใครให้จน แล้วมายอมรับว่าพี่เก่ง โดยส่วนตัว ผมเห็นพี่เณรผมก็ทึ่งพี่นะ ว่าพี่อ่านหนังสือเยอะ สนใจประวัติศาสตร์ คอเดียวกับผมและก็ถือว่าพี่เป็นคนรอบรู้มากคนหนึ่ง แต่การเอาใครให้จน เพื่อข่มกันทางความรู้ผมไม่เห็นด้วยนะครับ คนเรา เจ๋งไม่เจ๋งเราวัดกันที่วิธีคิด และอุปนิสัย มารยาท ขอโทษที่พูดตรง ถ้าพี่รับได้พี่ก็คุยกับผมต่อได้ ถ้าไม่ได้จะด่าผมกลับผมก็ไม่ว่า เพราะมันเป็นสิทธิ์ของพี่ที่จะไม่เห็นด้วยกับผม ผมเองลูกพ่อขุน รักและเทิดทูนสถาบัน และผมเชื่อว่าเราเด่นได้โดยไม่ต้องไปชข่มใคร เหมือนอย่างที่วัฒนธรรมของสีอื่นๆ เป็น ถ้าเราไม่ชอบเราก็อย่าไปทำตาม ขอบคุณพี่ครับ ไว้ผมจะมาแลกเปลี่ยนกับพี่อีกถ้าพี่ยังอยากคุยกันตรงๆอยู่

สวัสดีครับ นักศึกษาที่รักการถกเถียงทางวิชาการทุกท่าน ผมเองไม่ทราบว่าท่านมาจากสถาบันไหนนะ  ทราบแต่จากข้อมูลที่อ่านว่ามีท่านหนึ่งมาจากรามคำแหง อีกท่านก็น่าจะเรียนอยู่ราม เหมือนกัน ไม่แน่ใจ ครับประเด็นเรื่องสีและสถาบันสำหรับผมไม่ใช่เรื่องสำคัญขอแต่ท่านมีความรู้ รักความรู้ และกล้าคิดกล้าพูด  และเป็นผู้ที่ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น รวมทั้งมีการแสดงออกอย่างเหมาะสม ผมยินดีตอบคำถามทุกคำถามครับ  สำหรับผมเอง คิดว่าการถกเถียงทางวิชาการนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่จะต้องรู้ถึงขอบเขต และความเหมาะสมด้วยครับ ในฐานะที่ผมเป็นเจ้าของบล็อกขอเตือนไว้ว่าหากท่านใช้คำไม่เหมาะสมผมขอสงวนสิทธิ์ในการลบความเห็นของท่าน ทั้งนี้มิใช่ผมกลัวว่าผมจะตอบคำถามไม่ได้ เพราะคำถามต่างๆ ที่ผมอ่านมาทั้งหมดผมได้เคยบรรยายในการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยนเรศวรแล้ว และเอกสารทั้งหลายที่ทุกท่านกล่าวอ้างถึง หรือผมได้แนะนำให้อ่าน ผมได้ใช้ประกอบการเรียนในวิชาของผมด้วย ที่กล่าวมาทั้งหมด ไม่ได้เป็นการอวดอ้างแต่อย่างไร แต่เป็นการบอกให้ทราบ

อันว่า"องค์ความรู้"นั้นมีทฤษฎีการแบ่งหลายแบบ รวมทั้งศาสตร์ด้วย จนกระทั่งแบ่งออกเป็นปรัชญาอย่างที่มีคนกล่าวอ้างในบล็อกนี้ สำหรับผมองวามรู้ไม่ได้มีไว้เพื่อการเอาชนะ และถืออัตตากัน ปรัชญาก็เป็นเพียงสิ่งที่มีขึ้นเพื่อที่จะต้องคำถามบางประการเท่านั้น ผู้ที่รู้ปรัชญาก็ไม่ได้วิเศษวิโสกว่าใคร บางคนแม้จะกล่าวอ้างว่าศึกษาปรัชญา แต่ยังไม่เคยสัมผัสถึงคุณค่าที่แท้ของปรัชญาเลย  ....

ผมเองในฐานะความเป็นครูอาจารย์ ผมไม่สามารถจะไปเถียงหรือเอาชนะกับใคร เพราะไม่ใช่หน้าที่โดยตรงสำหรับผม  สิ่งที่ผมทำได้อย่างเดียว คือการตั้งใจสอนให้ดีที่สุดเท่าที่ทำได้ และสิ่งใดที่ผมเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดี ผมก็จะสอน และถ่ายทอดแนวคิดไป แนวคิดผมมีง่ายๆ อย่างนี้ ใครจะว่าผมมองเหมือนแนวสังคมวิทยากฎหมาย ของรอสโก เพาน์หรือสำนักไหน ก็ตามทีเถอะครับ หรือ ใครจะชอบ หรือชังผมก็ตามใจท่านผมคง บังคับไม่ได้ แต่ผมยืนยันจุดเดียว พื้นที่ตรงนี้มีสำหรับการแลกเปลี่ยนทางวิชาการและเปิดกว้างสำหรับทุกคนที่ มีความเห็น และยอมรับฟังความเห็นคนอื่น  ถ้าท่านอยากจะลองวิชา ก็ยืนดี ขอให้ใช้คำสุภาพ สมเป็นนักศึกษากฎหมายก็พอ ไม่เช่นนั้นคนเค้าจะดูถูกไปถึงสถาบัน และ ดูหมิ่นองค์ความรู้ที่ผู้พูดมีได้ และผมขอสงวนสิทธิ์ที่จะกล่าวตักเตือนในฐานะเป็นอาจารย์ ในกรณีที่ท่านเข้ามาใช้พื้นที่และทำไม่เหมาะสม เพราะพื้นที่ส่วนนี้เป็นส่วนที่ผมสร้างขึ้น และท่านมาอยู่ในพื้นที่ผม หากท่านไม่พอใจ ท่านสามารถเข้าไปเปิดพื้นที่แสดงความเห็นของท่านเองได้ ไม่ผิดกติกาแต่อย่างไร 

อนึ่งขณะนี้ผมกำลังศึกษาอยู่ที่ต่างประเทศจะมีเวลาเข้ามาตอบปัญหาได้บางช่วงเท่านั้น และการตอบคำถามของผมนั้นก็ไม่สามารถกล่าวอ้างหลักฐานต่างๆ ได้อย่างเต็มที่เพราะ เอกสารส่วนใหญ่เก็บไว้ที่ มหาวิทยาลัย หากท่านประสงค์จะแลกเปลี่ยนความเห็น ก็ขอให้ท่านเตรียมข้อมูลส่งมาให้ผมในกรณีที่ผมขอด้วย เพราะไม่เช่นนั้นก็เท่ากับท่านเอาเปรียบผม หากเรายังคิดว่าการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ โดยปราศจากอคติ ๔ ดังที่กล่าวไว้ใน กฎหมายตราสามดวง(ซึ่งต่างกับอคติ ๔ ในทางพระพุทธศาสนา)เป็นสิ่งสำคัญแล้ว ก็ขอให้ถือตามกฎเกณฑ์นี้ด้วย มิฉะนั้นผมขอสงวนสิทธิ์ในการไม่ตอบคำถาม และหากท่านประสงค์จะมาวิวาทกันในบล็อกนี้ ผมก็ขอเชิญท่านออกจากบล็อกนี้ไปเสียเถิดเพราะที่แห่งนี้มิใช่ที่สำหรับการวิวาทกัน

สาธุ สาธุ เอาแบบนี้ก้ดีครับ ตรงๆชัดๆ แต่อยู่ในกรอบ อาจารย์เจ้าของห้องจะได้สบายใจด้วย แต่ที่คุณเณร ตัดพ้อผมนะ (หลอกด่าอะป่าวก็ไม่รู้) จะทำไงได้ครับถ้าคนอื่นไม่บอกใครเล่าจะรู้ความผิดพลาดของตัวเอง เราเป็นนักศึกษากฎหมายที่ยิ่งเป็นนักกฎหมายรุ่นใหม่ เราก็ต้องยอมรับการวิจารณ์ ของคนอื่นได้ ผมผิดผมก็สำนึกครับ และต้องกราบขอโทษอาจารย์ผ่านมาทางนี้ด้วย แต่ที่ต้องเขียนไปแบบนั้นเพราะ อดสับสนและน้อยใจไม่ได้ในข้อความและบทความของอาจารย์ เพราะผมเวลาเรียนชอบที่จะมองว่าอาจารย์ท่านใดที่จะเป็นต้นแบบได้ผมก็จะเลือกเก็บสิ่งดีๆของอาจารย์ไว้แต่เห็นอาจารย์ ว่ากันเอง ผมก็สับสนไปเลย แต่จริงๆแล้วผมก็เห็นว่าความคิดหรือแนวทางที่อาจารย์บอกมันเป็นเรื่องจริง เพราะการแพร่หลายในการเรียนการสอนนิติศาสตร์ มันเป็นดาบสองคมต่อสังคมและวิชาชีพอีกทั้งวิชาการด้านกฎหมาย เมืองไทยเราเรียนกฎหมายกันแค่ 4 ปีแต่ที่ได้ยินมาว่าเมืองนอกบางที่เรียนกัน 9 ปี เช่นที่ฮอนแลนด์ และที่ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งให้เลือกเรียนได้โดยเอาวุฒิ ม.สาม มาเทียบคุณเณรว่าอะไรจะเกิดขึ้นถ้าเด็กเค้ายังไม่พร้อมหรือวุฒิภาวะยังไม่พร้อม การจะซึมซับสิ่งดีงามจากต้วอาจารย์ใน เวลา ไม่กี่ชั่วโมงในการเรียนแต่ละวันคงเป็นไปได้ยากมาก ยิ่งเรียนที่รามไม่เข้าเรียนยิ่งไม่เจออาจารย์เลยด้วยซ้ำ สุดท้ายอาจารย์ต้องมาปวดหัวอีก ว่าจะสอนคนเป็นนักกฎหมาย หรือจะทำยังไงที่จะสอนให้นักกฎหมายเป็นคน ก็ดีใจที่อาจารย์เจ้าของห้องใจกว้างที่ให้นักศึกษาได้มีโอกาสได้ถกด้านวิชาที่ได้เรียนมาบ้างเพราะผมเห็นว่าการได้พูดคุยเรื่องนี้จะเป็นผลดีต่อตัวผมที่ทำให้เข้าใจในความเป็นนักกฎหมายได้ถูกทางไม่ใช่นั่งอ่านหนังสือแล้วคิดเอาเองคนเดียวและคิดว่าจะเป็นประดยชนืแก่ผู้ได้อ่านบ้างไม่มากก็น้อย แต่ถ้าอาจารย์มีอะไรจะเพิ่มเติมให้ผมก็ยินดีนะครับ

ก็ขอขอบคุณครับ ทั่งคุณเณรและอาจารย์ที่ได้เตือนสติผน อะครับ ก็ถ้าอยากคุยกันต่อคุณก็เข้าประเด็นที่ผมทิ้งไว้ได้เลยแล้วกัน

เรื่องโยนหิน

ถึงคุณเณรครั้งที่แล้วได้พูดถึง นิติปรัชญาในกำหมายไทย ก็ลืมอธิบายความคำว่าปรัชญาเท่าที่ผมรู้และซึมซับมานะครับ ความหมายโดยแปรความผมขอข้ามเพราะคงหาอ่านกันได้ แต่ อาจารย์ได้อธิบายโดยมีเหตุการณ์ดังนี้ว่า “มีแก้วน้ำว่างอยู่ที่โต๊ะตรงข้างหน้าอาจารย์นั่ง อาจารย์บอกว่าฝังผม นี้คือแก้วน้ำอันมีทรงกลมสวยงามที่มีคนทำขึ้นจะเรียกว่าช่าง หรือผู้ประดิษฐ์ก็ได้ แก้วน้ำมีทรงกลมตรงขอบปากเป็นวงกลม เป็นวงกลมที่ช่างทำขึ้น เพื่อบอกให้รู้ว่าเป็นวงกลม ช่างพยายามที่จะทำให้กลมที่สุดสวยที่สุดเพื่อให้เห็นความคิดของเขาที่เป็นวงกลมสวยงามเท่าที่จะทำได้” อาจารย์บอกว่าจะเชื่อผมหรือยอมรับฟังก็สุดแท้แต่จะเลือกเอา คราวนี้มาดูแนวความคิดที่ผมต่อยอดจากตรงนั้นนะครับ ตามความเข้าใจผมถูกผิดก็ไม่ทราบเพราะเป็นหลักปรัชญายากแท้หยั่งถึง ความว่า “มีผม มีคุณเณร และมีเพื่อนอีกคนหนึ่ง วันหนึ่งได้ชวนกันไปเดินเที่ยวตรงลำธารไหลเย็นสวยงามที่หนึ่งครับ แล้วเราก็นั่งลงตรงสะพานเล็กๆเป็นสะพานไม้ไผ่สวยงาม น้ำใสนิ่งครับไม่ไหล เราเลยคุยกันว่าถ้าโยนหินลงน้ำเราจะมองเห็นตรงหินตกกระทบผิวน้ำถ้าผมงมตรงนั้นผมจะเจอหินไหม แล้วเราก็เล่นกันครับ ผมเป็นคนงมหิน คุณเณรเป็นคนโยน เพื่อนอีกคนเป็นคนหาก้อนหิน ตอนแรกหามากก็เอามาดูกันว่าเป็นก้อนแบบนี้ๆนะ แล้วคุณเณรก็โยนหินไป ผมเห็นที่ตรงหินตกผมก็ลงไปงมหิน หาเจอครับ แต่ไม่ตรงกับจุดที่หินตกคลาดเคลื่อนเล็กน้อยเล่นกันอยู่นานสนุกครับหัวเราะชอบใจกัน และแล้วเพื่อนคนที่เก็บหินก็ท้าผมว่าถ้าคราวนี้หาเจอจะให้เงินผม10 บาท แต่ถ้าหาไม่เจอผมต้องจ่าย 20 บาทเพราะต้องให้คุณเณรด้วย

แล้วเราก็เริ่มเล่นโยนหินกันครับ เพื่อนคนนั้นก็หาหินก้อนเล็กลง แถมไม่ให้ผมดูก่อนด้วย ครั้งแรกผมก็หาไม่เจอแล้ว แต่เรายังไม่หยุดจะหยุดก็ต่อเมื่อหาหินเจอ น้ำเริ่มไหลครับ ไหลแรงขึ้นยิ่งหาไม่เจอ และน้ำก็เริ่มขุนและไหลแรงขึ้นๆ สุดท้ายก็หาหินไม่เจอ” นี้แหล่ะครับความคำอธิบายปรัชญาของผม ถ้าเพื่อนที่หาก้อนหินเป็นนิติบัญญัติ คุรเณรเป็นผู้ใช้กำหมายและผู้บังคับใช้กำหมาย ก้อนหินเป็นกำหมาย ผมเป็นประชาชน ......

แก่ไขและเพิ่มเติม คุณเณรเป็นผู้ใช้กฎหมายและผู้บังคับใช้กฎหมาย ก้อนหินเป็นกฎหมาย ผมเป็นประชาชน กระแสน้ำคือกระแสสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ......

ขอโทษท่านอาจารย์เจ้าของบล็อกนะครับ ถ้าผมเขียนอะไร ทำให้อาจารย์ไม่สบายใจ และขอบคุณพี่เณรครับที่ฟังผม ผมดีใจมากๆ ที่ได้มิตรใหม่ทางอินเตอร์เน็ต พี่เป็นลูกผู้ชายมากครับ ถ้าผมล่วงเกินอะไรพี่ไปก็ขอโทษด้วยครับ และผมดีใจมากๆ ที่ได้เห็นนักกฎหมายที่มีคุณภาพของเมืองไทยอีกคน เพราะน้อยคนนักที่จะสนใจเดินบนเส้นทางนี้ ผมอาจจะไม่ได้มีความรู้อะไรมากนัก นะครับ แต่ผมจะขอแลกเปลี่ยนเท่าที่มี อย่างไรก็ตาม ก่อนผมจะเริ่มประเด็นต่อไป ผมมีกิจที่ต้องทำให้แล้วเสร็จภายในสุดสัปดาห์นี้ อาจจะแวะมาไม่ได้แวะมาอีกสักสองสามวัน ยังไงเสร็จงานแล้ว ผมจะเข้ามาแลกเปลี่ยนแน่นนอนครับ จากใจจริง ผมดีใจที่ได้รู้จักพี่เณรครับ

"ต้นไม้ไม่บ่นแม้กึ่งคำ รับกรรมเวรไว้ทั้งปวงสิ้น

อิจฉาริษยาใครในฟ้าดิน เป็นมลทินโทษบ่เคยทำ

มิงกละโมบโลภแสวงกำไร ถ้ามีใจก็ใหญ่หลวงลึกล้ำ

ถือสันโดษเป็นหลักประจำ รักแต่ศานติธรรมทุกเวลา

มิขี้โกงฉลาดฉกาจร้าย กักตุนมากมายเพื่อวันหน้า

เหมือนหมู่มนุษย์งกเงินตรา ค้าขายวิญญากันนั้นเลย

มิ่งไม้ไม่คิดค่าบุหงาหอม พร้อมสละเป็นทานไปเฉยเฉย

แม้ฆ่าป่าบูชาเงินสังเวย เคยว่าร้ายให้สักคำฤา

พฤษาช่างกล้าหาญชาญชัย เสมอใจใหญ่กล้านับถือ

งามเขียวชอุ่มอุ้มทิพย์บันลือ คือบุคลิกภาพอันเกรียงไกร

เจ้าร่ำรสหอมพร้อมบริสุทธิ์ ประดุจเกียรติยศอันยิ่งใหญ่

ห่างมลทินโทษสิ่งใด ชีวิตสละให้แด่แดนดิน

มิ่งไม้ได้ให้แต่คติธรรม ประเสริฐเลิศล้ำไป่รู้สิ้น

รอยมนุษย์ฆ่าบ่าเลือดรินริน บั่นฟันล้มจมดินแดนตาย"

บทกวีจากส่วนหนึ่งในหนังสือ "ลำนำภูกระดึง" (2512) ของอังคาร กัลยาณพงศ์ นัยสำคัญมุ่งสะท้อนการเรียนรู้ "ธรรมะ" จากธรรมชาติหรือความเป็นไปได้ที่มนุษย์จะมีดวงตาเห็น "ธรรมะ" สำคัญว่าคุณภาพทางจิตใจที่ละเอียดอ่อนหรือสะอาดสงบเพียงพอที่จะเข้าถึงคำสอนในธรรมชาติเช่นนั้น (นังสือนิติปรัชญา Lw 201 อาจารย์ รศ.จรัญ โฆษณานันท์ หน้า 122)

ผมคงต้องเตรียมตัวอ่านหนังสือสอบ เพราะมีสอบทั้งเดือนเลย หายไปบ้างคงไม่ว่านะครับ เพราะอยากจะจบไวๆ อยากเรียนปริญญาโทต่อแล้ว ถ้าว่างก็จะพยายามแวะเข้ามานะครับ ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท