เรื่องของมนุษย์


มนุษย์มีศักยภาพที่พัฒนาได้

หลายคน มีความภาคภูมิใจที่ได้อัตภาพมาเป็นมนุษย์ ร่างกายครบอาการสามสิบสอง ไม่พิกลพิการ มีสติปัญญาสมบูรณ์ แต่..ก็ไม่เพียงแค่นั้น มนุษย์มีศักยภาพที่พัฒนาได้ ไม่มีขีดจำกัด พัฒนาจากมนุษย์ปุถุชนไปถึงขั้นอริยบุคคลได้ ซึ่งแตกต่างไปจากสัตว์เดรัจฉาน มันมีขีดจำกัด แล้วก็ต้องอาศัยมนุษย์นั่นแหละเป็นผู้ฝึกฝน  แต่ทว่า มนุษย์ที่ไม่ฝึกฝนพัฒนาตนเองไปในแนวทางที่ถูกต้องดีงามแล้ว ก็ไม่มีอะไรแตกต่าง ตามพุทธดำรัสที่ว่า ศีลธรรมเท่านั้น ที่ทำให้มนุษย์แตกต่างไปจากสัตว์เดรัจฉาน ถ้าหากปราศจากศีลธรรมแล้วมนุษย์กับสัตว์เดรัจฉานก็ไม่มีอะไรแตกต่างกัน เราจะเห็นได้ว่ามนุษย์กับสัตว์มีสัญชาตญาณเหมือนกัน คือ สืบพันธุ์ กลัวภัย หลับนอน กินอาหาร หรือกล่าวเป็นสำนวนให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ แย่งอาหารกันกิน แย่งถิ่นกันอยู่ แย่งคู่กันพิศวาส และแย่งอำนาจกันเป็นใหญ่  

แม้แต่มนุษย์เอง พระพุทธเจ้าก็ยังแบ่งไว้ตามภูมิธรรมที่มีในจิตใจ ว่ามี 5 ประเภทคือ

1.มนุสฺสเทโว มนุษย์เทวดา ได้แก่มนุษย์ผู้มีศีล 5 เป็นนิตย์แล้ว ไม่พอใจอยู่เพียงแค่นั้น ยังได้พยายามบำเพ็ญกุศลเพิ่มพูนบารมีอยู่เรื่อยๆ เช่นให้ทาน ฟังธรรม เรียนธรรม ปฏิบัติธรรม มีหิริ คือละอายบาป มีโอตับปะ คือ ความสะดุ้งกลัวต่อบาปอยู่เสมอ เรียกว่าเป็นผู้มีใจสูงดุจ เทวดา เพราะประกอบด้วยเทวธรรม 7 ประการ คือ

  • บำรุงเลี้ยงบิดามารดา
  • ประพฤติถ่อมตนต่อบุคคลผู้เจริญในตระกูล
  • พูดจาไพเราะเสนาะหู
  • ละความส่อเสียด
  • ละความตระหนี่เหนียวแน่น
  • รักษาคำสัตย์
  • ไม่โกรธ

2.        มนุสฺสภูโต มนุษย์แท้ๆ คือเป็นคนเต็มคน ได้แก่บุคคลผู้เกิดมาเป็นคนแล้วได้รักษาศีลห้า

เป็นนิตย์มิได้ขาด มิได้ประมาทต่อศีล เพราะถือว่าเป็นมนุสฺสธรรม คือธรรมประจำมนุษย์ ธรรมที่ทำคนให้เป็นคน แต่มิได้บำเพ็ญกุศลจริยาอย่างอื่นอีก เช่นไม่ได้ให้ทาน ไม่ได้ฟังธรรม เป็นต้น มนุษย์อย่างนี้ท่านขนานนามว่า มนุสฺสภูโต แปลว่า มนุษย์แท้ ๆ คือเป็นคนเต็มคน เพราะมีคุณธรรมของคน

3.        มนุสฺสติรจฺฉาโน มนุษย์สัตว์ดิรัจฉาน ได้แก่ มนุษย์ที่มีโมหะมาก ไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษ

ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ ไม่รู้จักคุณของท่านผู้มีคุณ เช่น บิดามารดา ครูบาอาจารย์ เป็นต้น เป็นมนุษย์ผู้ไร้ศีลธรรม ดื่มสุรา เมาสุรา สูบฝิ่น กินกัณชา ทำอะไร ทางกาย วาจา ใจ ก็ขวางทำนองคลองธรรม มนุษย์อย่างนี้ท่านขนานนามว่า มนุสฺสติรจฺฉาโน แปลว่า มนุษย์สัตว์ดิรัจฉาน ดิรัจฉานแปลว่า ผู้ไปขวาง คือเดินทอดตัว ไม่เดินตั้งตัวเหมือนคน คนดิรัจฉานก็ฉันนั้น ทำอะไรก็ขวางธรรม คือผิดศีลธรรมอยู่เสมอ

4.        มนุสฺสเปโต มนุษย์เปรต ได้แก่ มนุษย์ผู้มากไปด้วยความโลภ มากไปด้วยตัณหา ชอบลัก

เล็กขโมยน้อย โลภเอาของผู้อื่นมาเป็นของตน ตีชิงวิ่งราว เป็นต้น แม้พวกที่เที่ยวขอทานมีบาดแผลเกรอะกรัง ก็จัดเข้าไปในประเภทนี้ด้วย

5.        มนุสฺสเนรยิโก มนุษย์สัตว์นรก ได้แก่ มนุษย์ผู้ดุร้ายหยาบคาย เที่ยวฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เที่ยว

ปล้นเอาทรัพย์สมบัติของคนอื่นด้วยการทารุณดุร้าย เช่น ฆ่าเจ้าทรัพย์ตายบ้าง ตีจนบาดเจ็บสาหัสบ้าง เบียดเบียนผู้อื่น สัตว์อื่น โดยอาการดุร้ายนานาประการ รวมความว่าเป็นคนไร้ศีลธรรม ไม่มีศีล5 ประจำตัวเลย มนุษย์เช่นนี้ท่านขนานนามว่า มนุสฺสเนรยิโก แปลว่าเป็น มนุษย์แต่ชื่อ ส่วนความประพฤติ ทางกาย วาจาใจ นั้นเลวทรามดุร้าย หยาบคายเหมือนกับสัตว์นรก

     ให้ทุกท่านได้เน้นในการพัฒนาจิตใจเป็นอย่าให้จิตใจตกต่ำไปสู่อบายภูมิอย่าง เด็ดขาด อันได้แก่สัตว์นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉาน อย่างน้อยก็รักษาสภาพของความเป็นมนุษย์ไว้ ถึงแม้จะไม่ถึงขั้นเป็นเป็นมนุษย์เทวดา หรือถึงขั้นอริยบุคคลในชาติปัจจุบันนี้ก็ตาม

หมายเลขบันทึก: 279245เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2009 06:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

กราบน้อมคารวะขอรับอาจารย์..

เราเป็นเพียงนำเสนอแนะ.นั่นคือหน้าที่ที่เราซึ่งผู้คนเรียกว่าสมณะ..พึงกระทำ..

เรียนท่านพระครู..

บทความท่านดีมากเป็นประโยชน์กับทุกศาสนา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท