หลังจากโคลัมบัสพบดินแดนใหม่-เทียบเวลาประเทศไทย--มนุษย์ย่อมมีสภาพบุคคลเสมอกัน


Francisco Vitoria ศ.ทางกม.ชาวสเปน "สภาพบุคคลย่อมเกิดมีแก่มนุษย์ทั้งหลาย เพราะมนุษย์เ็ป็นสิ่งที่มีสติปัญญา รู้ผิดชอบชั่วดีเหมือนกัน คนป่า คนนอกศาสนาต่างก็เป็นสิ่งที่มีเหตุผล และสามารถรู้ผิดชอบชั่วดีได้เช่นเดียวกับชาวคริสต์หรือชนผิวขาวอื่นๆ จึงย่อมมีสภาพบุคคลเสมอกัน ..

ปลายศตวรรษที่ 15 หลังโคลัมบัสพบดินแดนใหม่ในทวีปอเมริกา นักล่าอาณานิคมต่างพากันยก/กล่าวอ้างหลักกม.โรมันที่ว่า ผู้ใดเข้าถือทรัพย์ไ่ม่มีเจ้าของ ผู้นั้นย่อมได้เป็นเจ้าของทรัพย์

และต่างพากันอ้างว่า ชนพื้นเมืองไม่ใช่ชาวคริสต์ จึงไม่มีสภาพบุคคลเหมือนคนตะวันตก จึงไม่ไ้ด้รับการคุ้มครองตามกม.

ผู้ัคัดค้าน

  • Francisco Vitoria 1452-1546
  • Hugo Grotius 1583-1640 บิดากม.ระหว่างประเทศ
  • John Locke 1632-1704 ผู้ยืนยันในสิทธิตามธรรมชาติ และผู้ให้กำเนิด Social Contract
  • รัฐธรรมนูญอเมริกัน 1776
  • ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของฝรั่งเศส 1789
  • ประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส 1804

นับแต่นั้น หลักการว่า มนุษย์ทุกคนย่อมมีสภาพบุคคล (personality) และย่อมมีสิทธิต่างๆ ได้ (Subject of Rights) โดยเสมอกัน ก็แพร่ออกไปทั่วโลก และได้รับการรับรองไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งของประเทศต่างๆ ตลอดจนกม.รัฐธรรมนูญของปท.เหล่านั้น

เทียบเวลากับประวัติศาสตร์ไทย

  • พรบ.ผัวขายเมีย จ.ศ.1229 (พ.ศ.2410) ถูกยกเลิกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ
  • การเิลิกประเพณีหมอบคลาน ดู พ.ร.บ.เรื่องเข้าเฝ้า จ.ศ.1215 (พ.ศ.2416)
  • การเลิกทาส เริ่มใน พ.ศ.2417
  • มาตรา 12  แห่งรธน. 2475 ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติในรธน.นี้ บุคคลย่อมเสมอภาคกันในกฎหมาย ฐานันดรศักดิ์ โดยกำเนิดก็ดี โดยแต่งตั้งก็ดี หรือโดยประการอื่นใดก็ดี ไม่กระทำให่เกิดเอกสิทธิ์แต่อย่างใด
  • รัฐธรรมนูญทุกฉบับ รับรองสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล
  • ม.4 รธน. 2540
  • ม.4 รธน. 2550

หลักการที่แทรกซึมในบทบัญญัติแห่งรธน. ในฐานะที่เป็นกม.แม่บทนี้ ย่อมมีผลแผ่นไปยังระบบกม.ทั้งระบบ โดยนัยนี้ การใช้และการตีความกม.แพ่งและพาณิชย์ จึงต้องเป็นไปโดยสอดคล้องกับหลักการในกม.รธน.

อย่างไรก็ดี ตามรธน. มุ่งประกันสิทธิของบุคคลสัญชาติไทยโดยเฉพาะ ดังนั้น คนต่างด้าวจึงไม่อาจอ้างว่าตนมีสิทธิเสรีภาพตามรธน. ได้

แต่ไม่ได้หมายความว่า คนต่างด้าวจะไม่ได้รับการคุ้มครองใดๆ เลย เพราะตราบเท่าที่เขาเป็นมนุษย์ไม่ว่าเขาจะถือสัญชาติไทยหรือไม่ เขาย่อมได้รับความคุ้มครองในศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษญ์ของเขาตามม.4 และโดยที่มนุษย์ทุกคนต่างมีสภาพบุคคลตามปพพ. และย่อมได้รับความคุ้มครองจากปพพ. ให้สามารถมีสิทธิและหน้าที่ได้ตามกม. ซึ่งเท่ากับว่า ตราบเท่าที่ไม่มีกม.พิเศษ มาจำกัดสิทธิคนต่างด้าวไ้ว้เป็นการเฉพาะ คนต่างด้าวย่อมมีสิทธิหน้าที่ได้เช่นเดียวกับบุคคลสัญชาติไทยอื่นๆ โดยทั่วไป

หมายเลขบันทึก: 279236เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2009 02:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เพิ่งรู้จักมาตรา 12  แห่งรธน. 2475

แต่ไม่ค่อยเห็นด้วยว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญประกันสิทธิเฉพาะคนชาติ

ชาตินิยมเพิ่งรุนแรงสมัยจอมพล

และหากเราว่า กฎหมายระหว่างประเทศผูกพันรัฐ และกฎหมายสิทธิมนุษยชนผูกพันรัฐไทย แล้วกฎหมายไทยจะประกันสิทธิเฉพาะคนสัญชาติไทย ไม่ประกันคนต่างด้าวน่ะหรือ ? ก็เลือกปฏิบัตินะคะ

คนในสถานการณ์เดียวกันไม่น่าต่างกัน

เห็นต่างกันได้ค่ะ มันเป็นความเห็น

อืมม

ลืม code น่ะค่ะ ว่า code มา

เดี๋ยวขอไปค้น source มาแปะก่อนนะคะ

ขออภัยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท