การฝึกสมาธิมีผลดีต่อการทำงานอย่างไร


สมาธิก่อให้เกิดปัญญารู้ว่าควรจะทำอะไรก่อนหลัง รู้ว่าสถานการณ์นี้ควรแก้ไขปัญหาอย่างไร ซึ่งจะส่งผลให้สามารถสะสางงานต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้สมาธิยังทำให้เป็นคนมีทักษะการทำงานที่หลากหลาย (Multi Skill) เนื่องจากมีเวลามากพอในการทำงานอย่างอื่น หรือมีเวลามากพอที่จะพัฒนาและเรียนรู้งานพิเศษที่นอกเหนือจากงานที่กำหนดขึ้น

การฝึกสมาธิมีผลดีต่อการทำงานอย่างไร

 

ดิฉันมีโอกาสอ่านข้อเขียนของคุณ อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์ เกี่ยวกับเทคนิคการทำงานให้ประสบผลสำเร็จโดยใช้สมาธิ  เห็นว่ามีประโยชน์สามารถนำไปใช้พัฒนาการทำงานของเรา ๆ ท่าน ๆ ได้  จึงสรุปสาระสำคัญเป็นประเด็นย่อย ๆ มานำเสนอเพื่อให้เพื่อนชาวบริหารการศึกษา ทดลองนำไปปฏิบัติดู      โดยดิฉันจะขอเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างระหว่างคนที่มีสมาธิในการทำงาน  กับคนที่ไม่มีสมาธิ    ในการทำงาน  ดังนี้

 

คนมีสมาธิในการทำงาน

คนไม่มีสมาธิในการทำงาน

 

รู้ขอบเขตงานที่จะต้องทำ :  คือรู้ว่ามีงานอะไรบ้างที่จะต้องสะสางหรือทำให้เสร็จ โดยอาจจะจดงานที่ต้องทำทั้งหมดใส่กระดาษ เพื่อนำมาจัดลำดับความสำคัญของงานที่ได้รับมอบหมายว่าจะต้องทำงานอะไรบ้างในแต่ละวัน และงานใดที่จะต้องทำก่อนหลังตามความจำเป็นเร่งด่วน

 

วิตกจริต : คือการคิดไปเองก่อนล่วงหน้า     ไม่มีการปล่อยวาง คอยเป็นห่วงงานนั้น

เป็นห่วงงานนี้ เช่น กำลังนั่งเขียนรายงานเพื่อจะนำส่งหัวหน้าในตอนเย็น แต่ใจกลับคิดถึงแต่เรื่องที่จะประชุมในวันพรุ่งนี้เช้า หรือกำลังนั่งประชุมอยู่ แต่กลับไปคิดถึงงานที่ค้างและจะต้องส่งมอบให้กับลูกค้า

 

ทำงานเสร็จเป็นเรื่อง ๆ : คงไม่ปฏิเสธว่าคนที่ทำงานเก่งจะต้องสามารถทำงานหลาย ๆ อย่างได้ หรือสร้างตนเองให้มีทักษะความสามารถที่หลากหลาย หรือ Multi Skill แต่การทำงานหลาย ๆ อย่างนั้นไม่ควรทำในเวลาเดียวกัน ควรทำงานที่เร่งด่วนให้เสร็จเรียบร้อยก่อนเป็นเรื่อง ๆ ไป

 

หลง ๆ ลืม ๆ   :  จิตที่ขาดสมาธิจะทำให้แสดงอาการที่ไม่รู้ตัวว่ากำลังจะทำงานอะไรต่อไป จะพูดอะไรต่อไป สัญญาอะไรกับใครไว้แต่จำไม่ได้ หรือไม่สามารถจำในสิ่งที่ได้พูดหรือกระทำไปแล้ว เช่น จำไม่ได้ว่าส่งข้อมูลให้ฝ่ายขายไปเมื่อไหร่ หรือกำลังยกหูโทรศัพท์ขึ้นมาแต่ไม่รู่ว่าจะพูดอะไรต่อไป

 

พยายามควบคุมจิตใจของตนเอง : กรณีที่จิตเกิดฟุ้งซ่านเมื่อมีงานที่ต้องทำเร่งด่วนหลาย ๆ เรื่องติดต่อกัน  คนที่มีสมาธิจะพยายามควบคุมสภาวะจิตให้สงบนิ่ง คิดว่างานเรื่องนี้เร่งด่วนที่สุดต้องทำให้เสร็จก่อน เป็นการดึงจิตให้เกิดสมาธิในงานที่กำลังทำอยู่

 

โรคภัยถามหา : ผู้ที่ขาดสมาธิจะมีโอกาสเป็นโรคเครียดมากกว่าผู้ที่มีสมาธิ เพราะจิตวิตกกังวล กลัว หรือหวาดระแวงอยู่เสมอว่างานจะไม่เสร็จ  กลัวหัวหน้างานต่อว่า  กลัวลูกค้าไม่พอใจเพราะทำงานผิดพลาด วิตกกังวลว่าหัวหน้าจะประเมินผลงานให้ไม่ดี จากสภาวะจิตดังกล่าวจะส่งผลต่อสภาวะทางกาย ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจ  โรคกระเพาะอาหาร   โรคปวดศีรษะอย่างรุนแรง หรือ เกิดอาการไมเกรน

 

มีความมุ่งมั่นในการสร้างมูลค่า (Value) : ความมุ่งมั่นจะส่งผลให้คนเรามีสมาธิมีจิตใจที่ต้องการจะทำงานให้ประสบผลสำเร็จและมีความพยายามให้งานที่รับผิดชอบเสร็จเร็วที่สุด ผิดพลาดน้อยที่สุด ความพยายามนี้เองจะทำให้คนเราหาเทคนิคหรือเครื่องมือใหม่ ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับงานที่ได้รับมอบหมาย

 

งานไม่บรรลุผล : จิตที่ขาดสมาธิจะทำให้เป็นคนทำงานลนลาน ไม่มีสติคิดไตร่ตรองว่าจะต้องทำอะไรก่อนหลังตามลำดับความสำคัญ  ไม่รู้จักวางแผนการทำงาน  ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ ขาดการวิเคราะห์และประมวลข้อมูล  การตัดสินใจเกิดความ ผิดพลาด การทำงานล่าช้า  ส่งมอบงานช้าและไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้  ในที่สุดก็จะส่งผลต่อการทำงาน  ทำให้การทำงาน

ขาดประสิทธิภาพ

 

จากตารางการเปรียบเทียบนี้จะเห็นว่าถ้าคนเราทำงานอย่างมีสมาธิจะทำงานเร็ว ส่งมอบงาน      ให้หัวหน้าก่อนเวลาที่กำหนด มีเวลาที่จะทำงานอย่างอื่นเพื่อฝึกทักษะและเรียนรู้งานใหม่ ๆ อยู่เสมอ    เนื่องจากสมาธิก่อให้เกิดปัญญารู้ว่าควรจะทำอะไรก่อนหลัง รู้ว่าสถานการณ์นี้ควรแก้ไขปัญหาอย่างไร   ซึ่งจะส่งผลให้สามารถสะสางงานต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้สมาธิยังทำให้เป็นคนมีทักษะการทำงานที่หลากหลาย (Multi Skill) เนื่องจากมีเวลามากพอในการทำงานอย่างอื่น หรือมีเวลามากพอที่จะพัฒนาและเรียนรู้งานพิเศษที่นอกเหนือจากงานที่กำหนดขึ้น และเมื่อใครก็ตามมีทักษะ   ที่หลากหลายจะส่งผลทำให้คนผู้นั้นมีมูลค่าในการทำงาน (Value) ที่บริษัทต้องการและไม่อยากให้ลาออกไป ท้ายที่สุดก็จะทำให้มีค่าตัวในการทำงานเพิ่มสูงขึ้น  ตรงกันข้ามกับคนที่ไม่มีสมาธิในการทำงาน    ย่อมจะส่งผลเสียต่อชีวิตความก้าวหน้าและความสำเร็จในหน้าที่การงานของตนเอง  

 มีการค้นพบว่าการทำงานที่ฉลาดจะต้องเป็นคนที่ทำงานแบบ  Work Smart มากกว่า Work Hard  คุณสมบัติสำคัญประการหนึ่งของผู้ที่ทำงานแบบ Work Smart  คือจะต้องเป็นคนที่มีจิตสงบเป็นสมาธิ  ไม่วอกแวก  รู้ตัวเองว่ากำลังทำหรือพูดอะไร   มีการวางแผนการทำงานไว้ล่วงหน้าเสมอ  รู้เทคนิคหรือวิธีการในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น มีความคิดสร้างสรรค์นำระบบงาน แนวคิด หรือเครื่องมือใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้ในการทำงานของตนเอง  คนที่ทำงานแบบ  Work Smart  จะมีคุณภาพชีวิตที่ดี   ไม่นิยม    ทำงานดึก  รู้จักจัดสรรเวลาให้กับการทำงาน ชีวิตส่วนตัว และครอบครัว พูดง่าย ๆ ว่ารู้จักวิธีการสร้างสมดุลของชีวิตจากการทำงานที่มีสมาธิ

หมายเลขบันทึก: 279215เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2009 23:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เห็นด้วยกับอาจารย์ประเทือง เพราะว่าเราเป็นคนหนึ่งที่ทำงานด้วยสมาธิ ในบางครั้งที่ว่างจากงานก็จะทำสมาธิทุกครั้งที่มีโอกาส การทำสมาธิเหมือนได้ผ่อนคลาย

แวะมาเก็บเกี่ยวเอาความรู้ค่ะ ขอบคุณที่นำสิ่งดี ๆ มีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

อยากทำให้ได้อย่างบทความนี้นะค่ะ แต่ลองแล้วบางครั้งก็มีบ้างค่ะที่ต้องนอนดึก หรือต้องทำงานจนบางครั้งก็มีเวลาให้ครอบครัวน้อยไปนิดหนึ่งค่ะ

เคยฟังพระท่านสอนว่า "สติมาปัญญาเกิด ถ้าสติเตลิดจะไม่เกิดปัญญา" สติ แปลว่าความรู้สึกตัว ส่วนสมาธิ แปลว่า ความสำรวมใจให้แน่วแน่เพื่อให้จิตใจสงบหรือเพื่อให้เกิดปัญญาเห็นแจ้ง ฉะนั้นคงจะไม่ผิดนะถ้าจะสรุปเสียใหม่ว่า "สมาธิมาปัญญาเกิดความคิดบรรเจิดดีเลิศล้ำลึกถ้าได้ฝึกสมาธิจะเกิดทั้งสติและปัญญา" ขอบคุณอาจารย์พรรณี น้องเสงี่ยม และน้องอำนวยพร ที่แวะมาเยี่ยมและร่วมแสดงความคิดเห็น

ถึงผมจาไม่รู้อะไรแต่อาจารย์เขาก็บอกไว้ดีนะคับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท