"สังเกตดูลูกน้องหรือเจ้านายบางคนไม่เคยเรียนรู้อะไร ในที่สุดก็พิการทางการเรียนรู้ "


การขาดทุนทางปัญญาเป็นสาเหตุหลักของ "เรื่องพิการทางการเรียนรู้" และผมได้ศึกษาและลองหาข้อมูลพบว่ามีการนำ 8K's หัวข้อ Intellectual Capital และ 5K's หัวข้อ Innovation Capital มาใช้ในการทำ Thesis ดังตัวอย่างคือ

ถึงทุก ๆ คน

            เมื่อเช้านี้ช่วง 9 โมง ผมได้อ่านหนังสือที่ผมซื้อมาจากเขมร ชื่อว่า Staying Street Smart” ซึ่งแปลว่า คนเราจะเรียนรู้อะไรไม่จำเป็นต้องไปจบปริญญาโทหรือเอกเท่านั้น เรียนจาก Experience ก็ได้ 

            คนเขียนชื่อ Mark H. Mc Coemack ซึ่งเคยแต่งหนังสือ ชื่อWhat they don’t teach you at Harvard ซึ่งก็น่าสนใจ แต่ก็มีประเด็นว่า จริง  MBA Harvard ก็ไม่ได้สอนตำรา เขาเอาคนเก่งที่จบ MBA กลับมาช่วยให้ประสบการณ์คล้าย ๆ กับที่เราทำเมื่อวันอาทิตย์ แต่ในหนังสือเล่มนี้ก็มีแนวคิดอันหนึ่งเรียกว่า Learning Disability คล้าย ๆ พิการทางการเรียน เพราะมีมหาเศรษฐีคนหนึ่งรวยมากแต่ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตแต่งงาน และที่น่าสนใจก็คือ หย่ามาแล้ว 5 ครั้ง ทุก ๆ ครั้งจะแต่งงานกับสาวสวยและมีอาชีพเป็นนางแบบ

            เมื่อถามว่าเพราะอะไรคำตอบก็คือเขาคิดว่าหย่าคนที่หนึ่งเขาน่าจะได้บทเรียน และก็ปรับตัว แต่อาจจะเป็นเพราะเขาคิดไม่เป็น ขาดทุนทางปัญญาก็เลยไม่เรียนจากความเจ็บปวด

            สังเกตดูลูกน้องหรือเจ้านายบางคนไม่เคยเรียนรู้อะไร ในที่สุดก็พิการทางการเรียนรู้

            คำถามสำหรับท่าน PhD Students – เหตุผลคืออะไร มีการวิจัยหรือไม่ และวิจัยแล้วตั้ง Hypothesis อย่างไร? 8K และ 5K ช่วยได้หรือเปล่า ลองไปคิดดู

                                           จีระ หงส์ลดารมภ์

เรียนอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คำถามจากหัวข้อหนังสือ “ Staying Street Smart”

"สังเกตดูลูกน้องหรือเจ้านายบางคนไม่เคยเรียนรู้อะไร ในที่สุดก็พิการทางการเรียนรู้ "

คำถามคือเหตุผลอะไร

     ผมขอตอบว่าการขาดทุนทางปัญญาเป็นสาเหตุหลักของ "เรื่องพิการทางการเรียนรู้" และผมได้ศึกษาและลองหาข้อมูลพบว่ามีการนำ 8K's หัวข้อ Intellectual Capital และ 5K's หัวข้อ Innovation Capital มาใช้ในการทำ Thesis ดังตัวอย่างคือ

Nitin Sawhney: Doctoral Thesis Research

COOPERATIVE INNOVATION IN THE COMMONS:
Rethinking Distributed Collaboration and Intellectual Property
for Sustainable Design Innovation

Nitin Sawhney, Doctoral Candidate,
MIT Program in Media Arts and Sciences
MIT Media Laboratory

Thesis Objective: Understanding the role of online collaboration, pedagogical approaches and intellectual property rights towards distributed cooperation for sustainable design innovation.

Research Questions: How can we create an environment that encourages distributed individuals and organizations to tackle engineering design challenges in critical problem domains? How should we design appropriate online collaboration platforms, support learning, social incentives and novel property rights to foster innovation in sustainable design?

The thesis seeks to address these interconnected issues using three main approaches:

Research Projects and Activities

Doctoral Dissertation

  •  
    • Ch.1: Introduction: Cooperative Innovation in the Commons? (14 pages, 112 K)
      Abstract: Motivation: Expanding Cooperative R&D in Sustainable Design for Universal Human Rights. Lessons from the Appropriate Technology movement, recent global trends and evolution of the ThinkCycle Initiative at MIT. Key research challenges - Cooperation, Community and Intellectual Property.
    • Ch.2: Cooperation and Property Rights in the Commons (21 pages, 117 K)
      Abstract: Survey of prior literature and theories of cooperation and property rights, particularly for online communities. Examines the Free Software & Open Source movements and limitations for distributed peer-production in product design. Affordances, conflicts and policies for dealing with property rights (Private, Communal & Public) in natural resources, grassroots innovation and online digital content.
    • Ch.3: Open Collaboratories for Design Innovation (27 pages, 1 MB) [Low-res 300 K]
      Abstract: Review of collaboration tools, distributed computing and open knowledge initiatives. Description of design, architecture, and development of the ThinkCycle Collaboration Platform. Discuss evolving design criteria, case study and lessons learned. Literature review on the nature of Design Rationale, Social Context and Physical Settings in shaping cooperative online design.
    • Ch.4: Collaborative Design and Learning in Studio Courses (21 pages, 154 K)
      Abstract: Survey of prior studies on learning and collaboration using web-based platforms in schools and university courses. Results of study conducted with the Design that Matters Studio courses at MIT in 2001 and 2003, using online surveys and intensive interviews. Summarizes nature of collaborative design, learning outcomes, and usage patterns of students and participants. Recommendations for future courses in sustainable design and collaboration tools.
    • Ch.5: Role of Intellectual Property Rights in Open Collaborative Design (31 pages, 169 K)
      Abstract: Understanding social incentives, formal/informal mechanisms and the role of IPR in scientific research, based on prior studies by sociologists. Social inquiry (ethnographic study) conducted into motivations, perceptions and IPR patterns among 10 informants involved in 7 design projects on ThinkCycle. Results of study include perceptions of Patents vs. Open Source, social incentives for protection or dissemination, and emergence of 4 primary IPR patterns observed. Recommendations on IPR policies and approaches for critical design innovation.
    • Ch.6: Conclusions: Rethinking Cooperative Innovation (14 pages, 76 K)
      Abstract: Summary of thesis research, challenges, contributions and critical issues. Key lessons learned for: 1) Developing online collaboration platforms, 2) Establishing sustainable design curricula in universities, and 3) Understanding intellectual property rights in open collaborative design. Future work for expanding cooperative innovation in the commons.
    Dissertation Defense at MIT: Monday, Nov 25th, 2002

    Defense Talk Slides (380K PowerPoint) | Archived Realvideo Webcast (45 mins)

    Doctoral Dissertation: Sawhney, N. Cooperative Innovation in the Commons: Rethinking Distributed Collaboration and Intellectual Property for Sustainable Design Innovation. Submitted to MIT, Jan 17, 2003. (128 pages, 1.6 MB) [Low-res version 900K PDF] (Abstract)


      Thesis Chapters (Open Peer Review on ThinkCycle)
     

Research Papers and Working Reports (PDF docs)

Nitin Biography | ThinkCycle.org

Updated: Feb 18, 2003
[email protected]

หมายเลขบันทึก: 279036เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2009 13:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 10:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เรียนเพื่อน ๆ ครับ

การหาตัวอย่าง Thesis ของ 8K's และ 5K's สามารถหาได้ง่าย ๆ นะครับโดย

เพื่อน ๆ เข้า google และเลือกตัวอย่างคือ เพียงแต่เลือก Key Word คำว่า Thesis + เราเลือกตัวเลือกของ 8K's and 5K's มาใส่ตามตัวอย่างก็โผล่ออกมามากมาย

สิ่งที่ผมได้จากการทำการบ้านนี้ก็คือ ผมได้ตัวอย่างดี ๆ เกี่ยวกับการตั้ง Hyphotesis

ธนพล ก่อฐานะ

081-840-6444

เรียน ศ.ดร.จีระ ฯ และนักอ่านทุกท่าน

สวัสดีครับทุกท่าน ผมเองวัชรพล มณีโชติ บังเอิญผมเข้าไป search หัวข้อดุษฎีนิพนธ์ได้ชื่อเดียวกับคุณธนพล Search มา เพราะผมถึงแม้จะย้ายไปเรียนที่ Shinawatra University แล้ว แต่ก็ยังอยากติดตามความเคลื่อนไหนของ ม.สวนสุนันทาอยู่ หัวข้อดุษฎีนิพนธ์ของผมคือ Cooperative management of Palm oil industry in Chumporn Province. แต่ไม่ตรงทีเดียวกับที่คุณธนพล หามา ที่เป็นการประยุกต์ให้เข้ากับเทคโนโลยี แต่ของผมจะเป็นการสร้างอำนาจต่อรองของเกษตรกรโดยใช้ระบบ สหกรณ์เข้ามาช่วย เพราะพ่อเป็นผู้ริเริ่มโครงการโดยได้รวบรวมชาวสวนปาล์มที่ อ.ละแม กว่า 50 ครัวเรือน เข้ามาเป็นสมาชิกสหกรณ์ โดยมีพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 3000 กว่าไร่ เพราะระบบสหกรณ์จะมีอำนาจการต่อรองสูงกว่าและได้ราคาดีกว่าขายแบบตัวใครตัวมัน ผมเพิ่งจะกลับมาจากชุมพรเมื่อวันเสาร์ที่ 15 ส.ค. ที่ผ่านมา เข้าไปเห็นปัญหาของชาวสวนแล้ว ไม่รู้ว่าจะเรียนไปทำไมหากไม่นำความรู้ที่มีเข้าไปช่วยชาวบ้านและครอบครัว จึงขอเปลี่ยนหัวข้อดุษฎ๊นิพนธ์เป็นเรื่องนี้ เพราะสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่และมีของจริงให้ทดลองด้วย ถึงแม้การเรียนให้จบ ป.เอก อาจจะยังอีกไกลพอสมควร แต่คาดว่าความรู้ที่ได้จากการเข้าไปลองทำด้วยตัวเองน่าจะเกินกว่าความรู้ที่ได้จากการเรียนในห้องเรียนแต่เพียงอย่างเดียว อาจารย์จีระบอกเสมอว่า ความรู้จะไม่มีประโยชน์ หากไม่ได้นำความรู้นั้นไปใช้ (Value Added)

โชคดีที่ปัจจุบันเทคโนโลยีช่วยส่งเสริมให้การเรียนรู้ทำได้ง่ายยิ่งขึ้น คงอีกไม่นานผมคงได้นั่งคุยกับพ่อซึ่งทำงานในสวนที่ชุมพรได้ทางอินเตอร์เน็ต คิดว่าอีกสักเดือนสองเดือนจะแนะนำให้พ่อใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อจะได้เรียนรู้ด้วยตัวท่านเอง ต่อไปมีปัญหาอะไรก็สามารถตั้งคำถาม และคงมีคนที่มีความรู้มากมายเป็นที่ปรึกษาให้ท่านได้ ท่านก็คงได้เรียนรู้อะไรอีกเยอะ และผู้มีความรู้ก็จะได้มีโอกาสที่จะนำความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติจริง ๆ เข้ากับบริบทของอาจารย์จีระที่ต้องการเห็นการนำความรู้ที่มีมาช่วยเหลือซึ่งกันและกันและเกิดเป็นชุมชนการเรียนรู้อย่างไม่รู้จบ

ขอฝากคำถามถึงท่านอาจารย์หน่อยครับ เพราะเมื่อวันศุกร์ต้นเดือนผมได้เข้าไปฟังเสวนาทางวิชาการที่โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ เสียดายที่ส่งคำถามไม่ทัน ผมได้รับเอกสารจาก พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ที่เป็นสูตรว่า ความสำเร็จ = ความสามารถ x ความขยัน x คุณธรรม ซึ่งผมค่อนข้างเห็นด้วยกับสูตรนี้ แต่ถ้าผมจะเพิ่มตัวแปรเข้าไปอีกหนึ่งตัวเป็น ความสำเร็จ = (ความสามารถ x ความขยัน x คุณธรรม ) x โอกาส จะได้ไม๊ยครับ เพราะโอกาสที่ใส่เข้ามาทำให้ความสำเร็จทวีคูณหรือเป็น 0 ไปเลย หากมีทุกอย่างแต่ไม่มีโอกาส เช่นเดียวกับทหารชั้นประทวนที่ต่อให้มีครบทุกตัวแปรเต็ม แต่เมื่อคูณด้วย 0 แล้วทุกตัวก็ไม่มีค่า จะทำให้สมการมีค่าได้ก็ต่อเมื่อเปลี่ยนสถานะเป็นพลเรือน แล้วความสูญเสียที่กองทัพลงทุนไปกับบุคคลเหล่านั้นมีค่ามากมายเพียงใด หรือความรู้สึกที่บุคคลเหล่านั้นสูญเสียไปจะประเมินด้วยอะไร ผมกับเพื่อนรุ่นพี่อีกคนเคยเข้าสอบคัดเลือกเป็นเสมียนฑูตสอบผ่านทุกอย่างไปตกรอบสัมภาษณ์สุดท้าย เพียงเพราะเขาบอกว่าเราสองคนความรู้สูงเกินไป ฟังดูน่าดีใจนะครับ ที่ผู้ใหญ่ในกองทัพเอ่ยปากชม บังเอิญผมคิดมากกว่านั้น ผมจึงคิดว่าสูตรที่ท่านบุญสร้างนำมาให้เป็นข้อคิดนั้น หากเพิ่มตัวแปรเข้าไปอีกตัวน่าสนใจอย่างยิ่งครับ ผมอยากเห็นคนที่องค์การสร้างมากับมือจะได้มีพื้นที่ให้ได้ยืนในที่ ๆ เขารัก เพื่อจะได้พัฒนาพื้นที่ตรงนั้นให้กับคนรุ่นต่อ ๆ ไป เพราะส่วนใหญ่เขาไม่สามารถทนต่อแรงเสียดทานได้ก็ถอยไปกันจนหมด แล้วถ้าผมถอยอีกคนก็ไม่ต่างจากคนทั่วไปที่ทำอย่างนั้น แต่ถ้าผมจะยืนหยัดต่อสู้เพื่อคนรุ่นต่อไป ผมไม่สู้ว่าความรู้ที่มีนั้นจะเป็นประเภท "ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด" หรือปล่าว ซึ่งผม "รักที่จะเป็น" ตั้งแต่แรก แต่ไม่อยากเป็น "รักในสิ่งที่ผมเป็น" เพราะผมว่ารักที่จะเป็นคนเราน่าจะคั้นศักยภาพออกมาใช้งานได้มากกว่า

ขอบพระคุณอย่างสูงครับ

วัชรพล มณีโชติ

เรียนคุณวัชรพล

ดีใจมาก ๆ ครับที่ได้พบกันอีก ขอให้ประสบความสำเร็จและมีกำลังใจต่อสู้ ผมเชื่อว่าคุรวัชรพลทำได้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท