เมื่อเราต้องดูแลผู้ป่วยไข้หวัด 2009


             

           

 

            คิดไม่ถึงว่าจะมีโอกาสได้ดูแลและใกล้ชิดกับโรคนี้  เพียงชื่อแรก ไข้หวัดเม็กซิโก หรือไข้หวัดใหญ่ 2009  อยู่ไกลจากตัวเราจริง ๆ แต่เขาก็มาถึงเมืองไทย ด้วยการคมนาคมที่สะดวกรวดเร็ว ของเครื่องบิน นี่เป็นโอกาสหรือวิกฤตกันเนี่ยะ 

 

          ช่วงสัปดาห์ที่แล้ว ฝ่ายการพยาบาลได้มีการปรึกษาหารือเพื่อหาแนวทางในการป้องกัน  รับมือกับโรคนี้   เริ่มแรกเราต้องการป้องกัน แต่ดูจะไม่ค่อยจะได้ผล จากสถิติกระทรวง มีการติดเชื้อมากขึ้น สาเหตุจากอะไร  ? ใครจะตอบถ้าหากไม่ใช่ผู้ใหญ่ฝ่ายเดียว เราเพียงผู้ปฏิบัติตามนโยบายเท่านั้น  ตอนนี้กระทรวงปรับมาเป็นการเน้นการรักษา มากขึ้น

                                         

          การปฏิบัติที่นี่เปลี่ยนเล็กน้อย นับตั้งแต่ขับรถเลี้ยวเข้าโรงพยาบาล เราจะเห็นเต็นท์ตั้งหน้าโรงพยาบาลพร้อมตัวหนังสือตัวโตว่า "จุดคัดกรองไข้หวัด" จะมีพยาบาล แพทย์ ผู้ช่วย ฯ มาทำการที่นั่นโดยเฉพาะเพื่อคัดกลุ่มเสี่ยง ที่นี่    มีการจัดการฉีดยา ทำกิจกรรมการพยาบาลที่นี่เสร็จสรรพ ไม่ให้คนไข้เหนื่อยก็ว่าได้ค่ะ  เพราะเราไม่ให้คนไข้ไปไหน  เราบริการเต็มที่ ( อยากให้บริการแบบนี้กับทุกโรคจังค่ะ )

                                     

        บรรดาหน่วยควบคุมป้องกันการติดเชื้อ หรือเราเรียกว่า IC กับงานระบาดพร้อมรับที่นี่ค่ะ  เราเคยมี case ผู้ป่วยนอก ผลติดเชื้อ แต่ไม่มีอาการรุนแรง  ให้กลับไปพักรักษาตัวที่บ้านค่ะ  พร้อมแนะนำการปฏิบัติตัวอย่างเข้ม ในการควบคุม ป้องกันการแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่น  แต่นี่ เป็นเพียงการสร้างความตระหนักให้ผู้ป่วยนะค่ะ  เพราะหากเขาขาดจิตสำนึกที่ดีต่อสังคม  ชุมชนก็คงแย่แน่นอนค่ะ

 

       ถ้าหากเข้าข่ายหรือสงสัยแพทย์จะสั่งการตรวจเพื่อหาเชื้อ โดยเราจะส่ง specimen ไปตรวจที่ รพ.มหาราชค่ะ  ผลเพียง 1 วันจะออกทันที  ถ้า ติดเชื้อ "งานเข้า" นะสิค่ะ

 

       แผนกผู้ป่วยในชายหรือ ward 1 ซึ่งข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานอยู่นะที่นี่       ได้มีโอกาสรับใช้และให้บริการผู้ป่วยติดเชื้อทุกชนิดค่ะ  นับว่าโนนไทย โชคดีมีห้องแยกโรคที่เป็นแบบ negative pressure อยู่ 3 ห้อง นับว่ามากโข กว่าชาวบ้านเขาค่ะ (ไม่รู้จะภูมิใจหรือสะท้อนเรื่องโรคที่ติดเชื้อที่มากขึ้นนะค่ะ ) ไว้รับบริการ   อย่างรายนี้

                                   

        เป็นหญิงไทย คาดว่าจะติดกับหลานที่มีประวัติไข้ หลังกลับมาจากไปวัด ที่ กทม.แห่งหนึ่งค่ะ ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกันกับที่ติดเชื้อรายแรกค่ะ

       เธอเป็นไข้คล้ายปอดบวม แต่รุนแรงเพราะไข้สูง หอบ เหนื่อย ผลเอกซเรย์ปอดไม่ค่อยดี  แพทย์จึงให้นอนห้องแยกเพื่อตรวจยืนยันด้วยด้วยการเจาะเลือด หาก Ab ของ H1N1 พร้อมทำ nasophanygeal swab for H1N1  ส่งตรวจทันที พบการติดเชื้อ แบคทีเรีย ในเลือด

 

       ทีมสอบสวนโรคเริ่มทำงานทันที การประสานงานระดับที่สูงขึ้นไป คือ รพ.มหาราชได้รับการ consult  สืบจากองค์ความรู้ในเรื่องที่ใหม่  ทีมสหวิชาชีพต้องทำงานอย่างรีบด่วนเพื่อรับมือกับโรคนี้

                                          

 

          *** 17 ก.ค ได้รับผลการตรวจว่าเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ***

        การรักษาที่ให้ คือการให้ยาป้องกันการติดเชื้อ เช่น cef-3  ,traniflu 1*2 oral pc ต่อไป 5 วัน

        พร้อมการรักษาประคับประครองตามอาการ เช่น หอบมีการพ่นยาแก้หอบตามอาการที่พบ ติดตามการ monitor ออกซิเจนทุก 4 ชั่วโมง หรือตามอาการ  เป็นต้น

                                    

        อาการตอนนี้ผู้ป่วยเริ่มไข้ลดลง หอบลดลง  ฟังเสียงปอดดีขึ้น การพยากรณ์ของโรคน่าจะดีขึ้นตามลำดับ  เป็นกำลังใจให้ทั้งผู้ให้และผู้รับบริการค่ะ

        

         ส่วนบุคลากร ต้องสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง   ล้างมือก่อนและหลังสัมผัสผู้ป่วยด้วย alcohol rub กินอาหารร้อน  และมีการขัดล้างบริเวณตึกเช้า-เย็น  เจ้าหน้าที่อาบน้ำก่อนลงตึก พร้อมเปลี่ยนเสื้อผ้า เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากโรงพยาบาลสู่ชุมชนหรือ บุคคลในครอบครัว

         ขอบคุณบทเรียนนี้ค่ะ

                                            

 

 

หมายเลขบันทึก: 278587เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2009 03:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

  • แวะมาให้กำลังใจ แก่คนทำงาน
  • และบอกว่า คิดถึงค่ะ รักษาสุขภาพนะคะ

สวัสดีค่ะ คุณแม่อ้อย

- รับกำลังใจเต็มเปี่ยมเลยค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท