การจัดการความรู้ ภูมิปัญญาชาวบ้าน


ภูมิปัญญาชาวบ้าน

ได้คุยถึงแนวคิดเกียวกับเรื่อง ภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือ ปราชญ์ชาวบ้าน ของ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จ. ร้อยเอ็ด เห็นว่า เป็นเรื่องน่าสนใจ ไม่ใช่เพิงจะน่าสนใจตอนนี้ เพราะความจริงแล้ว หน่วยงาน กศน. ได้รวบรวมแหล่งความรู้ และองค์ความรู้ต่างๆ ที่มีอยู่ในตัวของชาวบ้าน มานานแล้ว แต่สิ่งที่สนใจตอนนี้คือ เรามีการรวบรวมกันมานาน แต่ได้ถามตัวเองตอนนี้ว่า รวบรวมอยู่ที่ไหน ถ้าต้องการทราบตอนนี้จะได้ไหม ซึ่งกำลังจะบอกว่า เราได้ทำในสิ่งที่ดีๆ และลงทุน ลงแรง ไปมาก แต่ผลที่เกิด น่าจะได้ดีกว่านี้ สาเหตุที่เป็นอย่างนี้ก็ เพราะระบบ

  สิ่งที่เราได้ทำคือ ศูนย์ฯภาค หรือศูนย์จังหวัด ต่างก็ รวบรวม เสร็จแล้วก็พิมพ์เป็นเอกสาร แล้วส่งไปหาผู้เกี่ยวข้อง เสร็จแล้วผู้เกี่ยวข้อง ก็เก็บไว้ พอนานวันไป ก็ไม่รู้ว่า มีใครรวบรวมไว้บ้าง อยู่ที่ไหนบ้าง  ก็เหมือนกับสูญเปล่า อาจจะมีบางแห่ง มีการรวบรวมและทำเป็นระบบอย่างดี แต่คนอื่นไม่ค่อยรู้

   ที่กล่าวมานี้ ก็เพื่อเข้ามาสู่ประเด็นที่ กศน. กำลังดำเนินการอยู่ปัจจุบัน คือ เรื่อง การเรียนรู้ การสร้างแหล่งการเรียนรู้ ตาม Road map กศน. ที่เราบอกว่า จะสร้างแหล่งการเรียนรู้อย่างหลากหลาย (ความจริงไม่ต้องสร้าง เพราะมีแหล่งการเรียนรู้หลากหลายอยู่แล้ว) และทำให้ประชาชนเข้าถึงการเรียนรู้อย่างทั่วถึง แนวความคิดนี้จะเป็นไปได้ สิ่งแรกที่ต้องทำคือ ต้องทำให้คนทั่วไปรู้ได้ว่า มีแหล่งการเรียนรู้เรื่องอะไร อยู่ที่ไหนบ้าง ซึ่งเรื่องนี้ กศน.ทำได้ง่าย เพราะมีบุคลากรอยู่ในระดับพื้นที่ ต่อจากนั้น จึงจัดระบบที่จะจัดเก็บข้อมูล (เคยทำมาครั้งหนึ่ง คือการใช้โปแกรม L&C Base แต่ไม่ต่อเนื่อง) แล้วรวบรวมองค์ความรู้เหล่านั้น ซึ่งปัจจุบันเท่าที่ทราบคือ ศนจ. ร้อยเอ็ด และที่อื่นๆ กำลังดำเนินการอยู่ และขั้นสุดท้ายคือ เผยแพร่ความรู้เหล่านั้นออกมาสู่สาธารณะ

  ที่กล่าวถึงตรงนี้ เพราะ กำลังนึกถึง ระบบการจัดการความรู้ในรูปแบบ BLOG  ของ Gotoknow นี้ ถ้าหน่วยงานกศน. นำมาใช้ประโยชน์ ในการสร้างชุมชนของภูมิปัญญา ในท้องถิ่น ก็จะเกิดประโยชน์อย่างมาก ถ้าทำอย่างจริงจังและครอบคลุม แต่ก็อาจจะติดขั้ดบ้างเล็กน้อย เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ซึ่งก็แก้ไขได้ไม่ยาก

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 27850เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2006 11:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 17:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ศุทธิ์ธนัชฉันท์ จันทร์ทอง

ขอบคุณมากครับ อาจารย์สำหรับข้อมูลที่ดีดี คือขณะนี้ผมเป็นอาจารย์สอนอยู่ในมหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ

กำลังสนใจที่จะจัดกระทำ รวบรวมองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นชาวบ้าน ด้านศิลปวัฒนธรรมเพื่อแปรเป็นทุน

ในการประกอบการทำดุษฎีนิพนธ์ ของผม ซึ่งสนใจในสิ่งที่ชาวบ้านคนไทยในแต่ละท้องถ่ินที่มีรากเง้าทาง

ศิลปวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า และสามารถนำมาแปรเป็นทุน นำมาซึ่งความพอเพียง นำมาซึ่งความเข้มแข็งของ

สังคมของคนในชาติ ดังนี้แล้ว ถ้าอาจารย์ ไม่รังเกียจที่จะเป็นผู้ให้ข้อมูลและคำปรึกษาแก่ผม จักเป็นพระคุณยิ่งครับ

ด้วยความเคารพ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท