ทฤษฎี X, Y, Z (ต่อ)


คำถาม          เหตุใด  Mc Gregor   จึงอ้าง 2 ทฤษฏีของ Taylor และ Mayo

 

วิเคราะห์        1.  เพราะ การบริหารตามแนวคิดของ Taylor ที่ใช้การกำหนดหลักเกณฑ์การควบคุมและการบังคับเหมาะกับคนทฤษฏี X ส่วนการบริหารตามแนวคิดของ Mayo ที่เน้นความสำคัญของความสัมพันธ์และจิตใจเหมาะกับคนทฤษฏี Y

                   2. เพราะ Mc Gregor กำหนดทฤษฏี X,Y เมื่อ ปี ค.ศ. 1960 ส่วน Taylor ปี ค.ศ.1910 และ Mayo ปี ค.ศ.1932  ดังนั้น การกำหนดทฤษฏีภายหลังจึงอ้างทฤษฏีที่เกิดก่อน ที่สอดคล้องกัน

                   3. เพราะ Taylor และ Mayo เป็นต้นตำรับของแนวคิด แม้จะมีแนวคิดอื่นในทำนองเดียวกันเกิดขึ้นภายหลัง และชัดเจนกว่า แต่ก็มาจากแนวคิดต้นตำรับ

 

คำถาม          ทฤษฏี X, Y ของ Mc Gregor ใหม่สุดและดีที่สุดในการจำแนก คน เวลา บริหารคนใช่หรือไม่

 

วิเคราะห์        1. ไม่ใช่ เพราะ มีทฤษฎีอื่นในลักษณะเดียวกัน หรือเกี่ยวข้องกัน เช่น ทฤษฏีของ  Mc Gregor ที่เกิดทั้งก่อนและหลัง อาทิ

          - ค.ศ.1943 Kurt Lewin ศึกษาเกี่ยวกับบรรยากาศของกลุ่ม จำแนกตามแบบภาวะผู้นำ

แบบต่างๆ

- ค.ศ. 1951 Ohio State University ศึกษาภาวะผู้นำ โดยจำแนกตามมิติหลักของพฤติกรรมภาวะผู้นำ

- ค.ศ. 1958  Fiedler เสนอทฤษฏีภาวะผู้นำตามสถานการณ์

- ค.ศ.1960 Mc Gregor

- ค.ศ.1964 Vroom เสนอแนวคิด Expectancy Theory

- ค.ศ.1967 Lawrence และ Lorsch วิจัยโดยทดสอบความสัมพันธ์

ระหว่างสิ่งแวดล้อมภายนอกกับโครงสร้างขององค์การ ฯลฯ

2. มีทฤษฏี Z ที่ไม่ได้สัมพันธ์กัน แต่มีมุมมองเรื่องคนต่างกัน โดยทฤษฏี Z ที่บริหารโดยใช้กระบวนการบริหารจัดการโดยไม่ได้มุ่งเน้นที่พฤติกรรมของคน แต่ให้ความสำคัญกับ การจ้างงาน การประเมินผลงาน การเลื่อนตำแหน่ง การทำงานท่ถนัด การร่วมตัดสินใจ ควบคุมไม่เด่นชัด และมุ่งความผูกพัน

 

สรุป    ผลจากการวิเคราะห์จะเห็นว่า

1. ทฤษฏีแต่ละทฤษฏีมีจุดเด่นของตัวเอง

2. ทฤษฏีที่เกิดภายหลังจะอ้างทฤษฏีที่เกิดก่อน และเพิ่มความสำคัญของทฤษฏีใหม่

3. ทฤษฏีที่เกิดภายหลังจะมีแนวคิดใหม่ มุมมองใหม่ในมิติใหม่  ที่แตกต่างจากทฤษฏีเดิม

ดังนั้น การจะใช้ทฤษฏีใดในการบริหารจัดการจึงต้องให้เหมาะสมกับบริบท สถานการณ์ สิ่งแวดล้อม ผู้ร่วมงาน ฯลฯ 

          น่าแปลกที่มีทฤษฏีให้ใช้ให้ศึกษามากมาย และโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

แต่ผู้บริหารราชการไทยยังใช้ทฤษฏีดั้งเดิมทฤษฏีเดียว คือ ทฤษฎีของ Frederick W. Taylor เพราะเห็นว่าข้าราชการทุกคนเป็นคนทฤษฎี  

ดังนั้น ข้าราชการไทย จึงต้องทำตามผู้บังคับบัญชาสั่งการ ในลักษณะทั้งบังคับและบัญชา (เท่านั้น)

          (แล้วจะหวังอะไรกับการใช้ทฤษฏี Z)

การเป็นผู้บริหารที่ดี  ยากกว่าที่คิด

หมายเลขบันทึก: 278427เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2009 16:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 สิงหาคม 2012 23:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

  • มาทิ้งรอยเพื่อ "ขอบพระคุณ" ไว้ครับ
  • มาติดตามเก็บเกี่ยวความรู้อยู่เป็นช่วง ๆ ครับ

ขอบคุณท่านอาจารย์ได้เป็นประภาคาร นำแสงสว่างแนวคิดการบริหารใหม่ ๆ เพื่อสร้างสังคมแห่งปัญญาพาชาติรอด

ขอบพระคุณมากนะคะ อาจารย์ เข้าใจความหมายของทฤษี x y และ z มากขึ้นเลยค่ะ

ขอบพระคุณมากครับ อาจารย์ เข้าใจความหมายของทฤษี x y และ z มากขึ้นครับ เพราะตอนนี้ฝ่ายบริหารมีแนวคิดในการเขียนแผนปฏิบัติการและโครงการให้สอดคล้องกับ X Y Z ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท