ขั้นตอนการวิจัย


ขั้นตอนการวิจัย

ขั้นตอนของการวิจัย
            
        การวิจัยที่ดีจะต้องมีการดำเนินไปอย่างเป็นกระบวนการเป็นขั้นตอน   แต่ละขั้นตอนมีรายละเอียดที่สำคัญ ดังนี้

       1.  เลือกหัวข้อที่จะทำการวิจัย  (Selecting  a  topic)  เป็นขั้นตอนแรกของการวิจัย เมื่อจะทำวิจัย  ผู้วิจัยเองจะต้องรู้ว่าจะทำเรื่องอะไร  เรื่องการวิจัยหรือหัวข้อวิจัย  อาจเกิดจากความอยากรู้  ความสงสัย  การฟัง  การค้น  การสนทนาการทำงาน  หรืออาจเกิดจากสภาพแวดล้อมทั่ว  ๆ  ไป เป็นต้น

        2.  ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง  (Review  of  literature) หลังจากกำหนดเรื่องที่จะวิจัยจะต้องศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย โดยศึกษาสาระความรู้ แนวความคิด ทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ในตำรา หนังสือ  วารสาร งานวิจัย  และผลงานวิจัยจะช่วยให้ทราบว่ามีใครบ้างวิจัย มีผลการค้นพบอะไรบ้าง มีวิธีดำเนินการอย่างไร เครื่องมือและเทคนิคการวิเคราะห์อย่างไรซึ่งจะทำให้ผู้วิจัยมีความชัดเจนในเรื่องที่จะทำวิจัยมากขึ้น
          3.  การออกแบบการวิจัย  (Research  design)  เป็นโครงสร้าง  (Structure)  และแนวทางในการดำเนินการวิจัยเพื่อให้ตอบปัญหาวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด  (Kerlinger.  1986  :  279)  การออกแบบการวิจัยเป็นการวางกรอบการวิจัย  ส่วนการวางแผนการวิจัยจะ ปรากฎในรูปโครงการวิจัย (Research  proposal) และเป็นการวางรายละเอียดภายใต้กรอบการวิจัย
          4. สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล (Instruction)  ดำเนินการสร้างตามหลักและขั้นตอนการสร้างเครื่องมือประเภทนั้น ๆ ซึ่งโดยทั่วไปจะต้องศึกษาวิธีการสร้างเครื่องมือ การเขียนข้อคำถาม การให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบแก้ไข  การทดลองและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ  การปรับปรุงเครื่องมือ  เป็นต้น
          5. การเลือกกลุ่มตัวอย่าง(Sampling)  ในกรณีที่ไม่ได้ศึกษาจากประชากร และจะศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ก็ทำการเลือกกลุ่มตัวอย่าง ตามวิธีการที่กำหนดไว้
          6.  การรวบรวมข้อมูล  (Data  collection)  ในการวิจัยจะใช้การรวบรวมวิธีใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับข้อคำถามหรือเครื่องมือ  เป็นต้น  การเก็บรวบรวมข้อมูล  ผู้วิจัยก็จะเก็บรวบรวมจากประชากรที่ศึกษาหรือจากกลุ่มตัวอย่างที่ผู้วิจัยได้กำหนดไว้ในแบบของการวิจัย
        7. การวิเคราะห์ข้อมูล  (Data  analysis)  เป็นขั้นตอนที่ต่อจากขั้นการรวบรวมข้อมูลเมื่อผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลมาแล้วก็นำมาคัดเลือกข้อมูลที่มีความสมบูรณ์  แล้วนำมาวิเคราะห์  ซึ่งอาจจะวิเคราะห์ด้วยมือหรือวิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ให้ผลเช่นเดียวกัน
        8. การแปลความหมายหรือการตีความข้อมูล  (Interpretation)  เป็นการนำตัวเลขจากการวิเคราะห์ข้อมูลมาแปลความหมายว่าผลการวิเคราะห์เป็นไปอย่างไร  ซึ่งการแปลความหมายอาจจะใช้เกณฑ์หรือใช้มาตรฐาน  จึงจะทำให้แปลความหมายได้ถูกต้อง  เช่น  งานวิจัยเรื่องหนึ่งได้ผลของค่าเฉลี่ยในการปฏิบัติงานของพนักงานเท่ากับ  1.98  ค่า  1.98  คงยังบอกอะไรไม่ได้ถ้าไม่นำไปเทียบเกณฑ์แล้ว  อาจบอกได้ว่า  พนักงานมีการปฏิบัติน้อยปฏิบัติมาก  ปฏิบัติมากที่สุด  ล้วน  สายยศ  และอังคณา  สายยศ  (2538 : 229)  ได้เสนอแนะในเรื่องของการแปลความหมายของข้อมูลเอาไว้ว่า  ในการแปลความหมายของการวิจัย  ควรแปลจากความเป็นจริงอย่างตรงไปตรงมา  ไม่ควรใส่ความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้อง
          9.  เขียนรายงานการวิจัยและจัดพิมพ์ ขั้นนี้เป็นขั้นสุดท้ายของการวิจัย ผู้วิจัยจะต้องเขียนรายงานตามรูปแบบของการเขียนรายงานการวิจัยประเภทนั้น ๆ  เพื่อให้คนอื่นได้ศึกษาค้นคว้าอย่างละเอียดลึกซึ้งต่อไป

เอกสารอ้างอิง

ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ.  เทคนิคการวิจัยการศึกษา.  กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก, 2538.
Kerlinger. F. N. Foundation of  Behavioral  Research.  New York : Holt, Rinehart and Winston, inc., 1986.


 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 27814เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2006 09:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

การประเมินหัวข้อการวิจัยว่าจะทำวิจัยเรื่องนี้ดีหรือไม่จะต้องพิจารณาประเด็นใดบ้างคะพี่อ้วน

มีอะไรอีกอ่ะคะ พี่อ้น ที่จะช่วยให้เราเข้าใจการทำวิจัยได้ดีขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท