การสร้างความสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์ในการปฏิบัติงาน


หัวหน้าที่มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส มีผลต่อจิตใจของผู้ใต้บังคับบัญชา ใบหน้าที่ยิ้มแย้มจะทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความเกรงใจ ความกระตือรือร้น และความขยันขันแข็งขึ้นมาเอง โดยมิต้องใช้อำนาจบังคับแต่อย่างใด

การสร้างความสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์ในการปฏิบัติงาน

 

                วันนี้มีโอกาสได้อ่านข้อเขียนจาก  http://www.acad.nu.ac.th/relation.htm

ของกองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร   เรื่อง  การสร้างความสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์ในการปฏิบัติงาน 

เห็นว่ามีประโยชน์ จึงเก็บสาระสำคัญนำมาฝากเพื่อน ๆ ชาวบริหารการศึกษาทุกท่าน   สาระสำคัญที่ว่านี้เป็นเคล็ดลับ 

6  ประการ  ที่จะช่วยให้ทุกท่านเป็นที่ชื่นชอบของบุคคลอื่น ๆ  ลองอ่านดูนะคะ

 

1.

การสนใจในตัวบุคคลอื่น

              มีคำกล่าวไว้ว่าถ้าเรามีความสนใจในตัวบุคคลอื่นแล้วเราอาจจะหาเพื่อนใหม่ได้ภายใน 2 เดือน  

แต่ถ้าหากเราจะหาเพื่อนใหม่ โดยการจูงใจให้เขามาสนใจในตัวเรา อาจจะต้องใช้เวลามากกว่า 2 ปี  

เราจะสังเกตได้ว่าบุคคลผู้เป็นที่รักใคร่ของคนทั่วไปนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีความสนใจในตัวบุคคลอื่น ดังนั้นถ้าเราอยากเป็นที่รักใคร่ของผู้อื่น จึงต้องรู้จักแสดงความสนใจในตัวบุคคลอื่น  อาจจะโดยการ  

 ไต่ถามสารทุกข์สุขดิบ  ส่งการ์ดอวยพรหรือของขวัญให้เขาในวันเกิด หรือเทศกาลสำคัญๆ ส่งบทความ การ์ตูน หรือสิ่งอื่น ที่คิดว่าน่าสนใจให้แก่เพื่อนร่วมงาน สมาชิกในทีมงาน   โดยอาจจะส่งทาง

E-mail ก็ได้  และเมื่อเพื่อนร่วมงานมีปัญหาก็ควรเสนอตนเองช่วยเหลือด้วยความเต็มใจ

2.

การยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ

              บุคคลที่จะเป็นที่ประทับใจแก่ผู้พบเห็นมากที่สุด และนานที่สุดก็คือ บุคคลที่มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ เมื่อเราพบปะกับบุคคลเช่นนี้เราจะรู้สึกว่าเกิดความรัก ความนับถือขึ้นมาทันที ทั้งๆ ที่เราอาจจะยังไม่เคยรู้จักเขามาก่อนเลยก็ตาม   และจะสังเกตได้ว่าหัวหน้าที่มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส   มีผลต่อจิตใจของ

ผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างประหลาด   ใบหน้าที่ยิ้มแย้มจะทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความเกรงใจ

ความกระตือรือร้น  และความขยันขันแข็งขึ้นมาเอง    โดยมิต้องใช้อำนาจบังคับแต่อย่างใด

แต่การยิ้มในที่นี้ก็ต้องเป็นการยิ้มอย่างเต็มอกเต็มใจ ยิ้มอย่างเปิดเผย มิใช่แสร้งยิ้มชั่วครั้งชั่วคราวเพื่อหาประโยชน์ เพราะการยิ้มเช่นนั้นจะไม่ทำให้เกิดความประทับใจแก่ผู้ที่ได้พบเห็นเลย

3.

การจำชื่อบุคคลต่าง

              คนเราย่อมสนใจและพึงพอใจในชื่อของตนเองมากกว่าชื่อใด ในโลก ดังนั้นการที่เราสามารถ

จำชื่อบุคคลอื่นได้ และสามารถเรียกชื่อเขาได้ อย่างถูกต้องจะทำให้เขาเกิดความภาคภูมิใจ  และคิดว่าเราระลึกถึงความสำคัญของเขาอยู่เสมอเขาจะเกิดความพอใจ   และจดจำเราได้ตลอดไปเช่นเดียวกัน

4.

การเป็นผู้ฟังที่ดี

              บุคคลที่เราสนทนาด้วยนั้นย่อมสนใจในตัวของเขา และความต้องการของเขา   ดังนั้นถ้าเราปรารถนาจะเป็นที่รักใคร่ของบุคคลอื่นก็จะต้องรู้จักเป็นผู้ฟังที่ดี  ด้วยการสนใจในเรื่องที่บุคคลอื่นพูด

ไม่พูดขัดคอขึ้นมาในขณะที่คู่สนทนายังพูดไม่จบ  พยายามจูงใจให้เขาสนทนาในเรื่องที่เขาสบายใจ

และควรสนับสนุนหรือชมเชยคู่สนทนาเป็นครั้งคราว

5.

การพูดในเรื่องที่ผู้ฟังสนใจ

              เดล คาร์เนกี้  เคยกล่าวไว้ว่าถ้าเราปรารถนาจะสร้างความนิยมขึ้นในตัวเองแล้ว    จงสนทนา

แต่ในเรื่องที่อยู่ในความสนใจของคู่สนทนา ดังนั้นเมื่อเราต้องการเป็นที่รักใคร่ชอบพอของบุคคลอื่นเราก็ต้องรู้ว่าคู่สนทนาของเรา สนใจในเรื่องอะไรและต้องพยายามแสวงหาข้อมูลจากที่ต่าง แต่ไม่จำเป็นว่าเราจะต้องรู้ข้อมูลทุกอย่างทั้งหมด ในบางเรื่องเรารู้เพียงแต่จะกล่าวนำหรือคอยรับฟังก็เพียงพอแล้ว

6.

การรู้จักยกย่องบุคคลอื่น

              นักจิตวิทยาหลายท่านกล่าวไว้ว่าความปรารถนาอันแรงกล้าอย่างหนึ่งของมนุษย์ ก็คือความปรารถนาที่จะได้รับคำสรรเสริญ คนเราต้องการได้รับคำยกย่องจากผู้ที่เราติดต่อด้วย ต้องการให้ผู้อื่นรู้ว่าเรามีความสำคัญ  และต้องการให้เพื่อนของเรายกย่องสรรเสริญเราอย่างเต็มอกเต็มใจ และชมเชยเรา

ในทุกโอกาสที่จะทำได้ ดังนั้นเมื่อเราปรารถนาจะเป็นที่ชอบพอของบุคคลอื่น เราก็ต้องปฏิบัติต่อคนอื่น เช่นเดียวกับที่เราต้องการให้คนอื่นปฏิบัติต่อเรา นั่นก็คือการระลึกถึงความสำคัญของผู้อื่นในทุกโอกาส

 

              การทำงานทุกอย่างย่อมมีอุปสรรคทั้งสิ้น แต่ถ้าหากว่าพวกเราทุกคนรู้จักสร้างความสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์ในการปฏิบัติงาน และนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์แล้ว เราก็จะสามารถทำงานได้อย่างราบรื่น และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

 

                เมื่อได้อ่านเคล็ดลับทั้ง  6  ประการ  ที่จะช่วยสร้างความสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์ในการปฏิบัติงาน แล้ว 

หลาย ๆ ท่านคงคิดเหมือนดิฉันใช่ไหมคะว่า ไม่ใช่เรื่องยากเลย ทุกคนสามารถทำได้  การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีนั้นในเบื้องต้นจะต้องประกอบไปด้วย

·       การเข้าใจตนเอง

·       การเข้าใจผู้อื่น

·       การเข้าใจสิ่งแวดล้อม

หัวใจพื้นฐานทั้ง 3 ประการ ในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี  รวมกับเคล็ดลับในการสร้างความสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์ในการปฏิบัติงาน อีก  6  ประการ  ถ้าสามารถทำได้  จะเป็นปัจจัยสำคัญทำให้ทุกท่านเป็นที่ชื่นชอบ และประสบความสำเร็จในการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นอย่างแน่นอน

 

หมายเลขบันทึก: 277511เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2009 20:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 22:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

เห็นด้วยอีกแล้วค่ะ เชื่อว่าทุกคนคงอยากร่วมงานกับเพื่อนร่วมงานหรือผู้บริหารที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส แค่นี้ก็เป็นกำลังใจที่ดี และทำให้บรรยากาศการทำงานในองค์กร มีปริมาณแก๊สออกซิเจนที่เพียงพอแล้วค่ะ (แก๊สออกซิเจนเป็นแก๊สที่ทำให้เราหายใจได้สะดวก ก็คือเราจะไม่รู้สึกอึดอัดนั่นเอง) ครูวิทย์ค่ะ

                                              

ขอบคุณทุกท่านค่ะที่แวะเข้ามาเยี่ยมชมร่วมแสดงความคิดเห็นและให้กำลังใจ

สวัสดีค่ะ พี่เทืองที่น่ารักของหนู

บทความ เยี่ยมมากๆเลยค่ะพี่

แวะมาชมผลงานพี่เทืองค่ะ

เคยรู้จัก ผอ.สพท.ท่านหนึ่ง ท่านสามารถจำชื่อลูกน้องได้หมดเลยเวลาท่านเรียกชื่อเราทำให้รู้สึกดีมากค่ะ นี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของผู้บริหารที่จะได้ใจลูกน้องน่ะค่ะ

 

                            

พี่เห็นด้วยกับน้องเสงี่ยมค่ะการจำชื่อลูกน้องได้จะทำให้ลูกน้องรู้สึกว่าผู้บริหารใส่ใจและเห็นความสำคัญของพวกเขา ขอบคุณน้องตุ๊ก น้องจิ๊บ น้องเสงี่ยม และรุ่นพี่ปูค่ะ ที่แวะมาเยี่ยมชมและให้กำลังใจ โดยเฉพาะกำลังใจของรุ่นพี่ปูใหญ่เบ้อเริ่มเทิ่มเลยค่ะ

สมแล้วที่เป็นครูภาษาไทย จัดเรียงข้อความได้ดีมากเลยค่ะ รับดอกไม้ 1 ช่อ

ภาพเคลื่อนไหว

ขอบคุณอาจารย์เอกที่แวะมาเยี่ยมชม ดอกไม้สีม่วงสวยมาก ชอบค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท