เยียมกลุ่มแม่บ้านดีเด่น ภูมิปัญญาดีเลิศ


วิธีการเก็บผลผลิตไว้จำหน่ายได้ตลอดปี โดยไม่ใช้สารกันบูด

เยี่ยมกลุ่มแม่บ้านดีเด่นเมืองกล้วยไข่

 

                ในปี 2552  สำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร  ได้ดำเนินการคัดเลือกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเกาะน้ำโจน  ตำบลลานดอกไม้  อำเภอเมือง  จังหวัดกำแพงเพชร  เป็นตัวแทนของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดกำแพงเพชร เพื่อเข้าร่วมการประกวดระดับเขต

  เตรียมวัสดุทำกล้วยกวน                นำมากวน 6 ชม.             

             กลุ่มแม่บ้านเกสรกรบ้านเกาะน้ำโจนได้จดทะเบียนเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน  โดยมีสมาชิก 30 คน  เป็นกลุ่มที่เริ่มจัดตั้งมาตั้งแต่ปี 2543  ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มที่ ได้แก่กล้วยไข่กวนห่อใบตอง

กล้วยน้ำว้ากวน  ส้มโอทิพย์  และท็อฟฟี่มะม่วง   

เทใส่ถาด ตัดเป็นชิ้น                ห่อแล้วเข้าพวง

            ประธานกลุ่มชื่อนส.รุ่งนภา   ไหวจิตร   เล่าให้ฟังว่าแต่เดิมทางสมาชิของกลุ่มมีปัญหาเรื่องผลผลิตทางการเกษตรซึ่งได้กล้วยไข่  กล้วยน้ำว้า  ส้มโอ  มะม่วง  เป็นผลผลิตทางเกษตรในหมู่บ้านมีราคาถูก  จึงรวมกลุ่มกันได้ 15 คนจัดตั้งเป็นกลุ่มแม่บ้านโดยมีทางสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชรและคุณสมพร   จันทร์ประทักษ์  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร  สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชรเข้ามาเป็นที่ปรึกษาและให้ความรู้  ร่วมกันแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรต่างๆเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลผลิตและสร้างรายได้ให้กับสมาชิก

ผลผลิตที่ออกมาสวยงามน่ากิน                                    นายวาด วานิช เกษตอำเภอนำผ้สื่อข่าวไปถ่ายทำข่าว

          ในปัจจุบันกลุ่มมีสมาชิก  30 คนในแต่ละคนมีรายได้3,000 -5,000  บาทต่อเดือนซึ่งสมาชิกในแต่ละคนยังทำอาชีพการเกษตรรายได้จากการทำกิจกรรมกลุ่มแม่บ้านเป็นเพียงอาชีพเสริม  ผลผลิตแปรรูปของกลุ่มแม่บ้านเกาะน้ำโจนจะมีตลอดปี  เนื่องจากกลุ่มมีวิธีการเก็บผลผลิตเช่น  กล้วยน้ำว้าหรือกล้วยไข่ในช่วงที่ผลผลิตล้นตลาด  จะนำมากวนใส่น้ำตาลไว้โดยใช้เวลากวน 6 ชั่วโมง  โดยไม่ใส่สารกันบูดสามารถเก็บผลผลิตได้ 3 เดือน  ถ้าต้องการจะผลิตกล้วยกวนก็สามารถนำกล้วยที่กวนไว้มาปรุงรส   โดยการใส่กะทิ  แบะแซ  นมข้น  ลงไปกวนอีก 4 ชั่วโมงแล้วสามารถนำไปบรรจุภัณฑ์ได้   สามารถเก็บได้นานอีก  6  เดือน ดังนั้นทางกลุ่มจึงมีผลผลิตจำหน่ายตลอดปี   ผลไม้อื่นก็เช่นกัน    ใน 1 ปี กลุ่มสามารถผลิตกล้วยกวนได้ 7,500  กิโลกรัม    1  กิโลกรัมจำหน่ายได้ 80  บาท

                                                                            

           การที่ทางกลุ่มฯสามารถหาวิธีการเก็บผลผลิตไว้จำหน่ายได้ตลอดปี  โดยไม่ใช้สารกันบูดก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาของชุมชน   คนเมืองกล้วยไข่     ขอเป็นกำลังใจให้ในการประกวดกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดีเด่นระดับเขตนะค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 277405เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2009 14:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มาชม

มีสาระน่าสนใจนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท