การฝึกงานวันที่ 9 พฤษภาคม 2549


Knowledge Unifying Initiator

 

-วันนี้ได้เข้าอบรมโปรแกรม KUI โดย ดร.วิรัช  ศรเลิศล้ำวาณิช  ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกโครงการลินุกซ์ทะเล+ออฟฟิศทะเล   และยังเป็นผู้อำนวยการ หน่วยวิจัยภาษาศาสตร์คำนวณ (TCL), NICT Asia Research Center

-KUI เป็นโปรแกรมทำงานบนเว็ป คุณสมบัติเด่น ๆ เช่น  การแปลศัพท์  การโหวตที่แสดงความคิดเห็นได้

-ทางหน่วยวิจัยภาษาศาสตร์คำนวณ(TCL)  ได้สร้างแอพพลิเคชั่นสำหรับการสร้างแหล่งความรู้แบบใหม่ขึ้นมาโดยตั้งใช้ชื่อว่า Knowledge Unifying Initiator

-Knowledge Unifying Initiator เรียกย่อ ๆ ว่า KUI หรือ  "คุย" ในภาษาไทยหมายถึงการสนทนา ซึ่งคาดว่าจะมีประโยชน์ในการสร้างความรู้แบบใหม่ๆ

-ภายในโปรแกรมคุยนี้ประกอบด้วยคอมโพเนนต์หลายส่วน ตัวอย่างเช่น 

  • ดิกชันนารีศัพท์เทคนิค หรือประโยคทางการแพทย์ ประมวลกฏหมาย ฯลฯ  
  • มีการโต้แย้งถกเถียงได้คล้ายเว็บบอร์ด
  • มีการ chat ติดต่อกับผู้ที่ล็อกอินอยู่ในขณะนั้นได้  
  • มีการออกความเห็นและยังสามารถดูรายละเอียดของการสนทนาในหัวข้อนั้นได้ด้วย

-ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้เทคโนโลยี Computational Linguistics Laboratory

  • Google
  • MSN
  • โปรแกรมแปลภาษา
  • Talking Dictionary
  • Spell Check

-Opensource ประกอบไปด้วย

  • ส่วนที่เป็น Software
  • ส่วนที่เป็นเอกสาร
  • ส่วนที่เป็นข้อมูล

-Open Standard เป็นการผลักดันให้เกิดการพัฒนา opensource ให้อยู่บนมาตรฐาน (Standard)

-การจัดการความรู้ => Knowledge Management (KM) 

  • ความรู้ถูกจัดการโดยเข้าของความรู้
  • ความรู้เปลี่ยนแปลงได้เสมอ  ขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และประสบการณ์
  • ความรู้พัฒนาได้ 2 แบ
    • Individual   (คนเดียว  ง่าย สะดวก
    • Community  (หมู่คณะ)
  • ความรู้ที่มี มีแบบ
    • Explicit Knowledge ซึ่งเป็นความรู้ที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงลงมาเป็นเอกสารหรืออื่น ๆ ที่สามารถจับต้องได
    • Tacit Knowledge คือความรู้ที่ไม่สามารถแสดงออกมาให้จับต้องได้

-คนเราพัฒนาความรู้ได้ด้วยวิธี

  • มีหัวข้อที่เราสนใจ (เป็นตัวเริ่มต้นทำให้เกิดการริเริ่ม)  ซึ่งในปัจจุบันนี้  มีการค้นหาหัวข้อมาใช้กับปัญญาประดิษฐ์  ซึ่งเป็นเรื่องยากมากในการทำให้ปัญญาประดิษฐ์มีเรื่องที่สนใจ

  • เสนอแนะ, เสนอข้อคิดเห็น  ทำให้เกิดการอภิปราย  ถกเถียง  และเกิดการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น  ทัศนคติต่อกัน  มีการปรึกษาหารือกัน

  • การประยุกต์ใช้สู่ชุมชน (Localization)

  • ประชาพิจารณ์ (Public-Hearing) เช่น  การตั้งกระทู้ (เป็นการสร้างความรู้ในชุมชน)

-ตัวอย่างสมมติฐาน Knowledge Development Process

-การออกแบบ KUI (Knowledge User Interface for Knowledge Unifying Initiative)

  • ทำยังไงให้มี user interface ที่เป็น graphic  สามารถใช้งานได้สะดวก และสวยงาม
  • ทำให้เป็น Community-based แบบ online  คือ ต่อเน็ตเมื่อไรก็สามารถที่จะพูดคุยได้ทันที
  • OSS-Styled
  • มีหลากหลายภาษา (Multi-lingual solution) support unicode  ซึ่ง unicode สามารถรองรับได้ประมาณ 200 ภาษา  ทั้ง ๆ ที่ทั่วโลกจะใช้ภาษากันประมาณ 200 ภาษา
  • มีการเก็บ log ไว้ (เก็บ chatlog)

-Features in KUI

  • Opinion VS Public-Hearing   เป็นการให้ข้อเสนอแนะและการทำประชาพิจารณ์โดยใช้ Poll  ซึ่งข้อเสนอแนะใดที่ว่าดีก็จะยังอยู่  ส่วนข้อเสนอแนะที่ไม่ดีนั้นก็จะไม่มีใครเห็นด้วย และต้องตกไปในที่สุด
  • Individual VS Group works  เป็นการทำงานคนเดียว และเลือกคนทำงานกันเป็นกลุ่ม  จะใช้ CHAT
  • Record of log จะเก็บ Chatlog
  • ใช้การคัดเลือกจากธรรมชาติ

-KUI จะช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เคยประสบมา คือต่างจาก

  • wiki.org โดย  wiki.org จะเป็นแบบ
    • ใครเขียนอะไรก็ได้  แก้ไขอะไรก็ได้ ทำได้ง่า
    • ไม่เก็บ history
    • ไม่ต้องมีเจตนารมณ์
  • weblog โดย weblog จะเป็นแบบ
    • ไม่มีเจตนารมณ์
    • ค้นหาข้อมูลได้ยากมาก
    • เก็บข้อมูลไม่เป็นระบบ

-การนำ KUI ไปใช้งาน

  • พจนานุกรม (สามารถใช้ใน com ได้)
  • search engine ที่มีความหลากหลายทางภาษา
  • การทำวิศวกรรมภาษาที่เขียนบน web

-สามารถศึกษาโปรแกรม KUI ได้ที่ www.tcllab.org/kui

-WLE

  • มาจากคำว่า  Web Language Engineering
  • มีประเทศไทย  ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย  เข้าร่วมโครงการนี้
  • ช่วยทำให้ภาษาที่กำลังจะหายไป  กลับมา  (เป็นการช่วยอนุรักษ์ภาษา)

-ประโยชน์ของ WLE

  • ช่วยให้การสื่อสาร  สามารถสื่อสารกันอย่างมีประสิทธิภาพ

-เป้าหมายของ WLE

  • เก็บข้อมูลได้ 1ล้านหน้า/วัน/site

  • ปัจจุบันทำได้ 86 ภาษา  จาก 200 ภาษา  ที่รู้ว่าเอกสารที่เก็บนั้นเป็นภาษาอะไร

  • มีการประมวลผลว่า  การค้นข้ามภาษาทำได้อย่างไร (search engine)

-WLE Component

  • Time

  • Language

  • Search Engine

-StarDict เป็น Dictionary ที่ใช้งานได้ง่ายมาก  สามารถ select คำที่ต้องการค้นหา  แล้วคลิกขวา  ก็จะมีความหมายของศัพท์คำนั้นแล้ว โดยไม่จำเป็นต้องเปิดหน้าต่างโปรแกรมก็ได้  แต่หากสนใจจะใช้จากหน้าต่างของตัวโปรแกรมก็สามารถทำได้เช่นกัน สามารถใช้งานได้ทั้งในระบบปฏิบัติการ windows xp และ Linux สามารถทดลองดาวน์โหลดโปรแกรมนี้ไปใช้กันได้ที่ http://stardict.sourceforge.net/  โดยการดาวน์โหลดโปรแกรมนี้จะต้องทำการติดตั้งโปรแกรม Dictionary LEXiTRON เวอร์ชันโดยเฉพาะที่จะใช้สำหรับ stardict นี้ไว้ด้วย

-วิธีการติดตั้ง StarDict สำหรับ Windowx XP โดยคุณ I3a~J@nk

1.ก่อนที่จะทำการติดตั้ง stardic จะต้องติดตั้ง GTK+Runtince Environment ก่อน ซึ่งสามารถ download ได้ที่ http://prdownloads.sourceforge.net/stardict/stardict-2.4.7.exe?use_mirror=jaist

2.ติดตั้งตัวโปรแกรม stardict ซึ่งสามารถ download ได้ที่ http://prdownloads.sourceforge.net/gimp-win/gtk%2B-2.8.15-setup.zip?use_mirror=jaist

3.ทำการ download ไฟล์ที่สามารถ ใช้งานกับ stardict เนื่องจากนี้เราจะได้ตัวโปรแกรม stardict มาแต่ยังไม่สามารถแปลได้

4.เมื่ือ download เสร็จแล้วแตกไฟล์ออกมาแล้ว copy ไปไว้ที่ -->../ตัวโปรแกรม stardict/dic/
หลังจากนั้นก็สามารถใช้งานได้เลย

สามารถดูรายละเอียดได้ที่
http://stardict.sourceforge.net/
http://www.tcllab.org/suphanut/stardict/


 



 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 27731เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2006 18:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
โห!!~ เจ๊ ดีมักมาก
ทำตัวเป็นประโยชน์ต่อสังคม ^^

ดูตะ!!  ไปก็อบของชาวบ้านมาอีก - -"

เหอๆๆพูดเล่น ^^ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท